สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
งานจิตอาสา เป็นกิจกรรมที่ทำได้ตั้งแต่เด็กจนผู้สูงอายุ เพียงเราเลือกงานที่ชอบ และตามความสามารถของเรา ถ้าเป็นวัยเด็กแนะนำให้ตามคุณพ่อคุณแม่ไปทำงานอาสาที่วัดหรือโรงเรียน พอโตมาอายุ 3-12 ปี อยู่ในช่วงชอบการเรียนรู้ เชื่อมโยงสิ่งรอบตัว งานอาสาที่เหมาะสม คือการจัดสวน ทำงานศิลปะ มาถึงช่วงวัยรุ่น เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง งานจัดพื้นที่สร้างสรรค์ สอนวาดรูป ในวัยทำงานเราเลือกงานอาสาได้ตามความถนัดในอาชีพเลย แม้ยามชรางานอาสาที่มีคุณค่า มากประสบการณ์ คือ การนำชม นำทัวร์ชุมชม แค่คิดจะทำงานอาสา เราก็สามารถลงมือได้ง่าย เริ่มต้นที่ตัวเรา...สนใจทำงานอาสา คลิก www.JitArSaBank.com
ธนาคารจิตอาสา ถอดบทเรียนหลังจบกิจกรรมงานอาสา ควรมีการสนทนาพูดคุยกันเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้รับเริ่มจาก เชื่อมโยงความรู้สึกของตนเองกับงานอาสาที่ทำวันนี้ ทบทวนถึงอุปสรรคหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น เราสามารถก้าวข้ามได้อย่างไร จากนั้นขบคิดใคร่ครวญเพื่อเรียนรู้จากหรือสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานอาสานั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงว่างานอาสาได้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างไร
การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่องการตระหนักรู้เพื่อสะท้อนตนเอง ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจโลกภายในตนเอง มีความสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ต้องมีทักษะการดูแลความสัมพันธ์ในชีวิตและงานอย่างสมดุล รวมทั้งมีทักษะการคิดด้วยการมองภาพรวมและเชื่อมโยงมิติทางสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะมาช่วยสร้างเสริมการออกแบบกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาทางปัญญา
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การเป็นหนึ่งกับตัวเองอย่างมีคุณค่า” โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ถ่ายทอดสดจากงาน Wake up ONE : Writers & Stars Awakening Workshop กิจกรรม Wake up ONE เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม
“หนูจี๊ด ติดจอ” นิทานภาพ โดย ตุ๊บป่อง ที่ชักชวนให้เยาวชนหันมาดูแลดวงตาและสร้างวินัยในการจัดเวลาการใช้งานสื่อให้เหมาะสม เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กๆ ถ้าหากใช้ดวงตาเพ่งมองจอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตาก่อนวัยอันควรได้
โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงมาจากการสรุปสาระสำคัญจากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดย คุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเครือข่าย Leadership that Works ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นการให้ผู้นำกลับมาเชื่อมโยงกับปัญญาภายใน เท่าทันเสียงตัดสิน ฝึกฝนการเปิดรับญาณทัศนะ รับฟังเสียงภายในที่นำทางไปสู่เป้าประสงค์แห่งชีวิต ร่วมค้นหาเส้นทางการเรียนรู้และเติบโตใน “ขอบ” หรือพื้นที่ระหว่างความรู้ และไม่รู้
นิทานภาพ ขอมงกุฎได้ไหม เป็นเรื่องราวการเดินทางของไข่ ที่ตามหาพ่อแม่ที่แท้จริงของตนเอง นิทานสะท้อนแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตด้าน EF (Executive Function) ซึ่งเป็นบันไดสำคัญในการก้าวไปสู่การควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อไปถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเด็ก ๆ จะได้จากการเรียนรู้จากนิทานเล่มโปรดนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.