สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน เรื่องราวของเพื่อนคู่หูนางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว เมื่อนางฟ้าน้อยได้เข้าร่วมกลุ่มโซเชียลมีเดียและเริ่มแชร์ภาพของแม่มดจิ๋ว ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เปลี่ยนไป นางฟ้าน้อยจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และแม่มดจิ๋วจะให้อภัยนางฟ้าน้อยหรือไม่ ติดตามได้จากวีดีโอนิทานเรื่องเลย..
ทำไมเพื่อนๆ ของนกกะปูด ถึงได้ตาแดงตาคล้ำกันไปหมด? นกกะปูดสงสัย อ๋อ! เป็นเพราะเล่นมือถือกันทั้งวันอย่างไรล่ะ! นกกะปูดตาแดง นิทานภาพสะท้อนสถานการณ์การใช้สื่อในยุคปัจจุบันที่ให้ทั้งข้อคิดในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ตัวสื่อนิทานมีสีสันที่สวยงามและมีเนื้อเรื่องที่เข้าถึงง่ายเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไป ที่พ่อแม่ คุณครู และผู้ดูแลเด็กเองสามารถหยิบสื่อนิทานเรื่องนี้มาสร้างกิจกรรมร่วมกันกับเด็กๆ ได้ นอกจากจะเป็นการปูพื้นฐานและเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้แก่เด็กๆ แล้ว ยังเป็นการได้ใช้เวลาดีๆ ที่มีคุณภาพร่วมกัน
เปิดเมือง เปิดใจ ต้อนรับ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่จะไม่เหมือนเดิม นอกจากสุขภาพกายที่ยังคงต้องระมัดระวังกันต่อไป สุขภาพใจก็ละเลยไม่ได้เช่นกัน ชวนสร้าง "ภูมิคุ้มใจ" ไว้ต้อนรับวิถีชีวิตใหม่ให้มีความสุข โดยมี 4 หมวดกิจกรรม ให้เลือกลองทำ #ปรับชีวิตเปลี่ยนโหมดใจ ให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ ต้องมีสติเสมอ ใช้โอกาสนี้ฝึกเรียนรู้ พัฒนาจิตใจให้ดีและแข็งแรงขึ้นได้ #ใคร่ครวญโลกภายใน แม้วันนี้จะออกนอกบ้านได้ แต่การเดินทางภายในยังคงสำคัญ ยุคหลังกักตัวอยู่บ้าน วิกฤตโควิดได้สอนอะไรเรา อะไรสำคัญกับชีวิต ความคิดและความรู้สึกของเราส่งจะผลต่อชีวิตใหม่นี้อย่างไร #สานใจในความสัมพันธ์ - ชีวิตวิถีใหม่จะแตกต่างไปจากเดิม เช่น เราไม่อาจใกล้ชิดกันได้เท่าเดิม ไม่อาจใช้เวลาร่วมกันได้นานเหมือนเช่นเคย แต่มีหลายวิธีที่อยากแนะนำที่จะช่วยสานความสัมพันธ์ได้ แม้กายจะห่างไกลกัน #สรรค์สร้างใจสู่ความสงบ - ชีวิตวิถีใหม่ อาจทำให้รู้สึกแปลกแยก กังวล เครียด แต่ยังมีข้อแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้เราอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขและนำความสงบมาสู่ชีวิตวิถีใหม่ได้ไม่ยาก
สื่อภาพอินโฟกราฟิกแสดงให้เห็นประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว ที่ได้ประโยชน์ในสุขภาวะทุกมิติทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แนะนำสำหรับครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ทุกครอบครัวต้องกักตัวอยู่ในบ้าน
อินโฟกราฟิกแนะนำวิธีการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19 แบบมีสุขภาวะทางปัญญา ทำให้สามารถจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถดูแลจิตใจให้เบิกบานไปพร้อมๆ กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
บทความ “คุยกับทุกข์” คุณบุญชัย สุขสุริยะโยธิน หรือ คุณ “ยอด” แห่ง ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ครีเอทีฟเอเจนซี่โฆษณาเพื่อสังคม ที่มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวเส้นทางสู่การตื่นรู้ ผ่านประสบการณ์จริงด้วยการสำรวจและเข้าใจโลกจากภายใน การได้เรียนรู้น้ำใจจากคนรอบข้าง การ ”ตื่นรู้” และเห็นศักยภาพของตัวเองจากการรับมือกับปัญหา ซึ่งนำไปสู่ความสนใจในการสำรวจโลกภายในตัวเองและเรียนรู้การเจริญสติ เพื่อทำให้หลุดออกมาจากกรงขังความคิดของตัวเอง
E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี
คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า? บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง? ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์... คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
เพราะการมองใครแค่เปลือก คงไม่ได้ทำให้เรารู้จักเขาจริงๆ หลายครั้งที่เรามักชอบตัดสินคนจากการสบตาแค่ไม่กี่วินาที คงจะดีถ้าคนในสังคมจะได้รู้จักและเข้าใจกันที่ข้างในจริงๆ วันนี้เราเลยพาคนที่มักจะถูกสังคมตัดสินอย่างเช่น เด็กช่างกล ผู้หญิงกลางคืน เพศที่สาม คนสักเต็มตัว ฯลฯ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม โดยที่พวกเขา ต่างก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขา ได้เปิดเผยตัวเองให้ทุกคนได้เห็น... รู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกก็ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับเราน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นอาจเป็นเพราะเรามองโลก มองคนรอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราจะ "ตัดสิน" ผู้คนที่เราพบเจอเร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ดู "แตกต่าง" ไปจากเรา และหลายครั้งมันก็ทำให้เราตกอยู่ภายใต้ความกังวล ความกลัว รู้สึกแปลกแยก ไปจนถึงสร้างความขัดแย้ง และทำให้"ความสุข" ของเราลดลง การด่วนตัดสิน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรับฟังกัน พลาดโอกาสที่จะเข้าใจกัน และพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้าม การไม่ด่วนตัดสิน ทำให้เราสามารถรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง (deep listening) และมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ .... ไม่ด่วนตัดสิน รู้เท่าทันความคิดตนเอง สามารถฟังคนรอบข้างดัวยหัวใจ รับฟังอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสุขมากขึ้น
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.