สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
หนังสือ 'จิตอาสาที่ยั่งยืน แผนที่ทำดีประเทศไทย' เป็นหนังสือโดยโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผู้นำจิตอาสาด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื้อหาภายในเล่ม แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการจิตอาสาทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ความเป็นมาของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ส่วนที่สอง เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำงานจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ให้มองเห็นเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจ และส่วนสุดท้ายคือแผนที่ความดี รวบรวมสถานที่ที่เปิดรับอาสาสมัคร โดยแบ่งข้อมูลเป็นภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย มีชื่อองค์กร ประเด็นการทำงานขององค์กร สถานที่ติดต่อ และลักษณะงานอาสาสมัครที่ต้องการ เพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจได้สามารถเลือกงานอาสาที่ตรงใจและเหมาะสมกับทักษะที่มีได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น” และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ
หนังสือภาพ อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้ สะท้อนภาพวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยสื่อแทนสองพี่น้องอดัมกับฟาตีมา ซึ่งมีทักษะในการป้องกันตนเอง และเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้อย่างมีสติ ไปขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ได้ทันเวลา หนังสือภาพเล่มนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา ท้ายเล่มยังมีการสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ฝึกทักษะการป้องกันตัว และวิธีการปฏิบัติตนเองเมื่อเกิดเพลิงไหม้
หนังสือเรื่อง หนูน้อยไปดอยสุเทพ เป็นหนังสือที่เหมาะกับเด็กวัย 3-4 ขวบ ที่ผู้ใหญ่ควรอ่านให้เด็กฟัง เด็กจะเรียนรู้ถึงคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีสำเนียงเสียงอันไพเราะกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสะท้อนภาพที่สวยงามของดอยสุเทพ ดอยอันมีชื่อเสียงของเชียงใหม่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาลำเนาไพร เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวมากมาย
หนังสือ ป่า ดอย บ้านเรา เป็นนิทานภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เล่าเรื่องระบบนิเวศน์ที่เข้าใจยากและซับซ้อนผ่านรูปวาดที่น่ารัก สื่อสารให้เห็นภาพเพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ของป่าและดอย ที่เปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ป่า และสรรพชีวิตน้อยใหญ่ที่พึ่งพิงกัน ก่อเกิดเป็นลำธาร ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ และมีอากาศบริสุทธิ์ โดยความสำคัญของป่า ดอย นี้ยังเป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ของมนุษย์เราด้วยเช่นกัน เมื่อใดที่โลกไร้ป่า ก็เสมือนคนเราไม่มีบ้านให้อาศัยนั่นเอง
ประเทศไทย เป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ในการทำให้เกิด “ขยะทางทะเล” มากที่สุด ขยะที่พบส่วนเป็นเป็นพลาสติก ที่ทำร้ายสัตว์ใต้ทะเล ให้บาดเจ็บ เสียชีวิต และใกล้สูญพันธ์ นิทานเรื่องนี้ ชวนเด็กคุยเพื่อปลูกจิตสำนึกเรื่องรักษ์ทะเล และกระตุกเตือนผู้ใหญ่ที่ได้อ่านให้ย้อนกลับมาถามตนว่า เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อคืนความสมบูรณ์ให้ผืนน้ำสีครามนี้
นิทานภาพ กราบดอยสุเทพ เป็นหนังสือสร้างสุขเพื่อเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะวัย 1-3 ขวบ คุณครู พ่อแม่ผู้ปกครองควรอ่านให้เด็ก ๆ ฟังอย่างช้า ๆ พร้อมชวนเด็กดูภาพประกอบในนิทาน จะมีคำว่า “กราบ” บ่อยที่สุด เพื่อให้เด็กน้อยเรียนรู้และจดจำกริยามารยาทอันดีงามของวัฒนธรรมการกราบของไทย
ไดอารี่เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และภาคนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต้องการสะท้อนมุมมอง ความรู้สึกนึกคิดของคนพิการกับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ กฎหมาย สวัสดิการ และสิ่งต่างๆ ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ แม้เรื่องราวจะเป็นตัวละครสมมติ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จริงในสังคม ไดอารี่เล่มนี้ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่บอกไปยังคนในสังคมได้ตื่นตัวในการเปิดพื้นที่และสิทธิเพื่อดูแลผู้พิการให้ได้รับความเท่าเทียมทางสังคม
ผลงานสารคดีของเยาวชนจากค่ายสารคดีครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ 'เปลี่ยนแปลงเพราะแบ่งปัน' 12 เรื่องสารคดีในนิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ เปิดเรื่องราวและมุมมองของเยาวชนที่มีต่องานจิตอาสาที่สร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ไปจนถึงสังคมโลก สะท้อนภาพการแบ่งปันในหลากหลายพื้นที่ทั้งในดงดอย ชนบท เมืองใหญ่ ความเอื้อเฟื้อที่งดงามที่มีต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งพลังเล็ก ๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นว่า เราทุกคนล้วนมีพลัง 'เปลี่ยนแปลง' สังคมได้ด้วยการ 'แบ่งปัน'
ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของคนส่วนใหญ่ในสังคม การที่เราคุ้นเคยกับการใช้สื่อเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้เราละเลยเรื่องความปลอดภัยของเราไป 9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนที่สามารถนำไปปลอมแปลงหรือใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ ตั๋วเครื่องบินที่มีข้อมูลส่วนตัว ภาพวาบหวิว เช็คอินสถานที่ที่ระบุตำแหน่งที่พักอาศัย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ภาพถ่ายบุตรหลาน ข้อความโจมตีผู้อื่นซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีกทั้งข้อความว่ากล่าวองค์กรและข้อความดราม่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันผลเสียที่อาจย้อนกลับมากระทบชีวิตของได้เราในภายหลัง
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.