สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-01/ วันนี้ในโลกของการสื่อสารทั้งสื่อแบบดั้งเดิม และสื่อออนไลน์แบบใหม่ ล้วนเต็มไปด้วยไวรัสของสื่อที่พร้อมจะคุกคามทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้สูงวัย เปรียบเสมือนสมรภูมิรบของสื่อ ICEM E-Bulletin ฉบับแรก จึงประเดิมด้วยการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “นิเวศสื่อดิจิทัล” เพื่อเห็นความหลากหลายของสื่อ และภาพรวมของวิวัฒนาการของสื่อ จนนำมาถึง “สงครามสื่อ” ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคนิยม แล้วสรุปถึงแนวทางการสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อในผู้สูงวัย กับ “บุพนิมิตแห่งมรรค 7 – หลักธรรมป้องกันภัยจากสื่อในผู้สูงวัย คือ มีเพื่อนผู้รู้ มีการรับสื่อที่เหมาะสม มีการใฝ่รู้สร้างสรรค์ มีการพัฒนาเรียนรู้ มีทัศนคติที่ดี มีสติไม่ประมาท และมีความคิดไตร่ตรอง”
n/a
เดินทางย้อนเวลาสู่ห้วงอดีตเพื่อสำรวจจุดเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ที่ซึ่งความรักของมนุษย์ยุคบรรพกาลกำเนิดขึ้น ผ่านการศึกษาด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี และศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ชวนคิดและตั้งคำถามว่าอารยธรรมมนุษย์เกิดขึ้นเมื่อใดกันแน่ ตอนต่อไป จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.3 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 1 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.1 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.2 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.3 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 2 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.1 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.2 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.3 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 3 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.1 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.2 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.3 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 4 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.1 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.2 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.3 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 5 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.1 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.2 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.3 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - ล้อมวงคุยกัน
ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายของมนุษยชาติ เรากลับมีเนื้อแท้บางอย่างเหมือนกัน ชวนมาใคร่ครวญถึงที่ว่างตรงกลางซึ่งดำรงอยู่ระหว่างสรรพสิ่งและสืบค้นความหมายของสัญลักษณ์ร่วมที่ปรากฎในวัฒนธรรมต่างๆด้วยกัน ตอนต่อไป จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.3 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 1 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.1 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.2 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 1.3 ร่องรอยความรักในยุคบรรพกาล - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 2 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.1 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.2 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 2.3 สัญลักษณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียว - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 3 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.1 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.2 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 3.3 ไขรหัสจิตวิญญาณมนุษย์ในงานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 4 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.1 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.2 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 4.3 มหกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ - ล้อมวงคุยกัน จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอนที่ 5 จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.1 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - ตัวอย่าง จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.2 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - สุภาพ ดีรัตนา บรรยาย จิตวิญญาณแห่งรักและสันติภาพ ตอน 5.3 พลังสันติภาพกลางไฟสงคราม - ล้อมวงคุยกัน
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2565 ในวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพกาย สุขภาพจิต การศึกษา ชีวิตการทำงาน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนและครอบครัวในแง่มุมต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยในระยะสั้นและระยะยาว นอกเหนือจากรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตโควิด-19 แล้วก็ยังมีอีก 10 สถานการณ์เด่นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตสุขภาพกายของคนไทยที่เป็นทั้งเรื่องใหม่และที่ยังรอการแก้ไข เช่น การปลดล็อกกัญชา กัญชงและพืชกระท่อม การโฆษณาอาหารเสริมเกินจริง โรงงานหมิงตี้ระเบิดบทเรียนภัยพิบัติจากโรงงานสารเคมี ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและการปรับตัว อนาคตเกษตรไทยกับเกษตรอัจฉริยะ ไทยกับ RECP และ CPTPP ข้อดีและสิ่งที่ต้องระวังและสุดท้ายเรื่องการเมืองบนท้องถนนกับทางออก ซึ่งรายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นต่อไป
สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล
คู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานเป็นคู่มือที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล จนกลายมาเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นคู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในสถานที่ทำงานต่างๆ ได้ เพราะการมีสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก สร้างความเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์การ หลายคนที่ได้เข้ารับการอบรมเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานพบว่ามีความพึงพอใจในการทำงานและความผาสุกทางจิตเพิ่มขึ้น มีการตระหนักรู้ถึงตนเอง มองโลกในแง่บวกและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งยังรวมไปถึงมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติมากขึ้น
วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน
การให้ที่แท้จริงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การให้วัตถุสิ่งของเสมอไป เวลา แรงกาย ทักษะความรู้ ความสามารถความรัก ความเมตตา หรือแม้แต่ รอยยิ้ม ก็นับว่าเป็นการให้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและตัวเราได้ เพียงแค่เรามีจิตอาสาที่ปรารถนาดีไม่นิ่งดูดายต่อสังคมหรือความทุกข์ยากของคนอื่นและพร้อมที่จะสละแรงกายแรงใจใช้สิ่งที่ตัวเองมีเข้าไปแบ่งปันให้กับสังคม นอกจากเราจะได้ช่วยเหลือและสร้างความสุขให้กับสังคมแล้วสิ่งที่เราจะได้รับ คือ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กับการรู้จักกับความสุขที่เรียบง่าย หัวใจอาสาคู่มือสร้างสุขในงานอาสา หนังสือเล่มนี้จะนำเราไปเปิดประสบการณ์ในมุมมองใหม่ๆ ที่มีคุณค่าที่เราจะได้รับในงานอาสาช่วยเหลือสังคม
ท่ามกลางโลกอันผันผวน มีขึ้นมีลง มีเรื่องวุ่นวายที่เข้ามากระทบจิตใจของเราตลอดเวลา ทุกคนต่างดิ้นรนไขว่คว้าหาความสุขมาเติมเต็มช่องว่างภายใน ซึ่งความสุขที่เราหามาได้นั้นก็ล้วนแต่เป็นความสุขที่เบี่ยงเบนความทุกข์ได้เพียงแค่ชั่วครู่เท่านั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะมีความรู้สึก “เป็นสุข” ได้เพียงแค่ครู่เดียว ทั้งๆ ที่เรากลับใช้เวลาวิ่งตามความสุขเหล่านี้กันแทบจะทั้งชีวิต การสร้างสุขภาวะทางปัญญาเพื่อให้เกิดการตื่นรู้และรู้เท่าทันตนเองและความไม่แน่นอนของโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเรารับมือกับโลกยุคนี้ หนังสือเรื่อง “ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน” บทเรียนแห่งความสำเร็จจากภารกิจสร้างสังคมสุขภาวะด้วยการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปค้นพบความหมายของสุขภาวะทางปัญญาและนอกจากจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องการสุขภาวะทางปัญญาแล้ว ยังทำให้เรารู้อีกว่าที่จริงแล้วความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ใกล้กว่าที่เราคิด
รู้หรือไม่ว่าในวันวันหนึ่งเราใช้สมองส่วนไหนในการดำรงชีวิตมากที่สุด สมองส่วนหน้าส่วนที่ใช้สติปัญญาไตร่ตรอง ส่วนกลางส่วนของความรู้สึก หรือว่าส่วนหลังที่เป็นส่วนที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดเพียงเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้สู่การเคลื่อนขยายมวลความสุข โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นหนังสือที่พูดถึงการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เพื่อการตื่นรู้ในระดับจุลภาคไปสู่ระดับมหภาค ด้วยการใช้สมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนของมนุษย์ขั้นสูงในการเข้าถึงความเป็นจริง เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเองและเข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก รวมถึงการสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้หรือสังคมยุคสมองส่วนหน้า ซึ่งเราทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งหรือหนึ่งในมวลสารแห่งความสุขที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมแห่งอารยะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.