trực tiếp bóng đá Xoilac
โครงการอยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข (บ.ชีวามิตร) | ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
ประเภทสื่อ
โครงการอยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข (บ.ชีวามิตร)
สื่อสร้างสรรค์ของภาคี จำนวนทั้งหมด 67 ข้อมูล

คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย

เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า

มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย”

เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ

คู่มือชีวามิตร EP.5 ความปรารถนาที่แท้จริง

ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทุกคนต้องการการดูแลรักษาที่ทรมานน้อยที่สุด ไม่เป็นภาระให้คนรอบข้างและจากไปอย่างมีคุณภาพ  หนังสือความปรารถนาที่แท้จริงเป็นการแนะนำการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในวาระสุดท้ายของชีวิตและการทำ Living will ที่เป็นตัวช่วยในวันที่ผู้ป่วยสื่อสารไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจเจตนาในการเลือกวิธีการรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยจริง เพราะการทำตามเจตนาของผู้ป่วยนอกจากจะเป็นการลดความทุกข์ใจของผู้ดูแลที่ต้องตัดสินใจแล้ว ยังถือเป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุด ที่ตรงตามความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ที่จากไป

มาเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 5 ความปรารถนาที่แท้จริง”

เพื่อให้การวางแผนในชีวิตระยะท้ายมีคุณภาพ พร้อมจากไปแบบทุกข์ทรมานน้อยที่สุดอย่างที่ตั้งใจ

คู่มือชีวามิตร EP.4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย

เชื่อว่ามีหลายคนที่ตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตบั้นปลายโดยเฉพาะการดูแลรักษาด้านสุขภาพอย่างไรจัดกระเป๋าครั้งสุดท้ายคลิปวิดีโอที่จะแนะนำถึงสิ่งสำคัญ ในเรื่องการวางแผนทางการเงิน สิทธิขั้นพื้นฐาน สวัสดิการต่าง ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและหนังสือมอบอำนาจต่าง ให้เราได้เรียนรู้การวางแผนและเตรียมตัว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี 

มาเรียนรู้การวางแผนทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย”

เพื่อเตรียมพร้อมจัดกระเป๋าเดินทางสู่ลมหายใจสุดท้าย ด้วยความสบายใจและหมดห่วง

คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี

เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ข่าวร้ายที่กลายเป็นดีจะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น

มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี”

แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน

คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา

คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้

วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค

การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้  เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”

วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย

หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง  เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ  ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ

วิชาชีวิต ตอน เตรียมนับวัน : หนุ่มเมืองจันท์ ชวนเตรียมตัวสำหรับชีวิตระยะท้าย

คุณคิดว่าเวลาเกิด และเวลาตายอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เวลาเกิดเราสามารถกำหนด และรู้วันเวลาเกิดได้ แต่จะมีสักกี่คนที่กำหนดเวลาตายที่แน่นอนได้ บางคนเมื่อเวลาที่จะจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้ามาถึง คนไข้และญาติๆ เอง บางก็กลัว บางก็เครียด และรู้สึกกังวลค้างคาใจ  หนุ่มเมืองจันท์ นักคิด-นักเขียน และ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล ผู้นำศาสตร์บำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยพลังกอด  ได้ร่วมพูดคุยเพื่อมอบกุญแจดอกสำคัญในการเรียนรู้ เข้าใจ และเตรียมตัวนับวันที่จะเดินทางในปั้นปลายของชีวิตไปสู่บ้านแห่งความสงบอย่างอิ่มเอม

 

วิชาชีวิต ตอน เตรียมประคับประคอง : การต่อสู้ระหว่าง ความรัก กับ ความรัก เปิดใจถามโดยดีเจพี่อ้อย

จากประสบการณ์การรักษาทางการแพทย์ คนเราจะรู้ตัวว่าจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ประมาณ 3 เดือนก่อนช่วงสุดท้าย ทีมผู้ดูแลต้องเรียนนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วย “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” การดูแลแบบนี้เป็นการมอบความสุขสุดท้ายของชีวิตให้ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การรักษาทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิต จิตใจ และความต้องการที่ค้างคาใจของผู้จากลาให้จากไปอย่างสงบในชีวิตจริง ๆ   ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข หรือ Living Will เพื่อต้องการวางแผน “ตายดี” ไม่ต้องการทุกข์ทรมาน ดังนั้น ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ต้องเรียนรู้ และหารือพุดคุยกัน เพื่อการเตรียมประคับประคองการต่อสู้กันระหว่าง ความรัก “ ความห่วงใยที่ไม่อยากให้คนที่รักเจ็บปวด กับ “ความรัก” ความอาลัยที่ไม่อยากจากคนที่รัก

วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict

เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน  ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง

วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส

”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร  เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน  เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่  สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย  การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม

วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี

ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล  แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว

วิชาชีวิต ตอน เตรียมใจ : Jones Salad หนุ่มนักธุรกิจสายสุขภาพชวนคุยเรื่องผู้ป่วยระยะท้าย

สิ่งที่ทุกคนกลัวตายไม่ได้กลัวที่ตาย แต่ไม่อยากมีช่วงที่ทรมาน กลัวทรมาน กลัวเป็นภาระ กลัวการพลัดพราก กลัวความห่วง คุณกล้อง นักธุรกิจหนุ่มสายสุขภาพ เจ้าของร้าน Jones Salad ได้พูดคุยกับ  รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ถึงความสำคัญของการเตรียมตัวตาย เพราะโดยหน้าที่ของแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่สบายและตายดีด้วย ทำอย่างไรจึงจะให้คนไข้จากไปอย่างสงบ ทีมแพทย์  ผู้ดูแลหรือญาติ รวมทั้งผู้ป่วยต้องเข้าใจและเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการสื่อสารที่ดี เราต้องสร้างความมั่นใจว่า “เราไม่ทิ้งกัน” เพียงแค่นี้ก็เป็นการวางแผนชีวิตที่ดีในปั้นปลาย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.