trực tiếp bóng đá Xoilac
ภาคีสื่อสร้างสรรค์ | ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
ประเภทสื่อ
ภาคีสร้างสรรค์
สื่อสร้างสุขภาวะ

สื่อสร้างสุขภาวะ

สื่อเด็กสร้างสุข

สื่อเด็กสร้างสุข

สื่อเด็กสร้างสุข เป็นโครงการพัฒนาชุดความรู้สื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็กและครอบครัว รวบรวมข้อมูลสำคัญสำหรับการสร้างสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน คือ กาย ใจ สังคม ปัญญา ให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กในวัย 0-12 ปี ผ่านการรวบรวมองค์ความรู้จากองค์กรต่างๆ ที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนาสุขภาวะเด็กด้วยแนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ ทักษะการสร้างสรรค์ และการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อนำสู่การสร้างสุขภาวะในเด็ก ครอบครัว และขยายสู่สังคมต่อไป

**สื่อเด็กสร้างสุข เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก แผนระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)**

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือ รัฐวิสาหกิจพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีวิสัยทัศน์ให้ประชาชน เข้าถึง เข้าใจ และฉลาดใช้สื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยนิเวศสื่อที่ดี  โดยมีพันธกิจในการดำเนินงานดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  2. ส่งเสริมให้ประชาชน เข้าถึง เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างทั่วถึง
  3. ส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีทักษะในการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ

ดังนั้นกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงมีภารกิจและหน้าที่ในการสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และสร้างการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนโดยสร้างรูปแบบการประสานงานให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

Spark U ปลุกใจเมือง

Spark U ปลุกใจเมือง

โครงการ Spark U : ปลุกใจเมือง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยใช้ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กเยาวชน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ เป็นนักสื่อสารสุขภาวะ เท่าทันสื่อ รวมถึงการสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะได้อย่างมีพลัง โดยมีภาคีเครือข่าย 3 ภูมิภาคร่วมขับเคลื่อนสร้างพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ตามบริบทของแต่ละพื้นที่  มีศูนย์กลางขับเคลื่อนงานในแต่ละภาค  โดยภาคเหนือ มีจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ขับเคลื่อน ภาคใต้ มีจังหวัดสงขลาเป็นพื้นที่ศูนย์กลางขับเคลื่อนงาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่ศูนย์กลางขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันขยายพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะให้ครอบคลุมทั้งระดับภูมิภาคต่อไป

CreativeMOVE

CreativeMOVE

องค์กรนวัตกรรมสังคม CreativeMOVE ก่อตั้งในปี 2555 โดย เอซ ธนบูรณ์ สมบูรณ์ (ผู้ก่อตั้ง PORTFOLIOS*NET เครือข่ายนักสร้างสรรค์และนักออกแบบ สมาชิก 26,000+ คน และผู้ก่อตั้งร่วม SiamArsa เครือข่ายอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย สมาชิกอาสาสมัคร 167,000+ คน) โดย CreativeMOVE เป็นองค์กรที่ดำเนินการในรูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งเป้าหมายในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และศิลปะ เพื่อขับเคลื่อนปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

ปัจจุบัน CreativeMOVE ให้บริการด้านการวิจัยและออกแบบพัฒนานวัตกรรมสังคม ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรม โครงการ แคมเปญรณรงค์ กิจกรรม CSR ฯลฯ และ CreativeMOVE ยังให้บริการด้านสื่อสารกับองค์กรภาครัฐ เอกชน และองค์กรด้านสังคมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิเช่น Greenpeace, WWF, UNICEF, OXFAM, World Bank, UNAIDS, ChangeFusion, ททท., สสส., กพ., ปปช, สมัชชาสุขภาพ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, ThaiPBS, เครือข่ายจิตอาสา, Volunteer Spirit, มูลนิธิเพื่อคนไทย, มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ, สภากาชาดไทย, มะเร็งวิทยสมาคมแห่งประเทศไทย, iCare (Magnolia), Mitr Phol, Google, Sansiri, SCG, SCB, MBK Group, TOMS, Ogilvy, LOWE และ McCann เป็นต้น

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2533 รัฐบาล ไทยได้จัดทำแผนปฏิบัติการหลัก ของปฏิญญา เพื่อเด็กไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันวิชาการระดับชาติ สำหรับพัฒนาเด็กและ ครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับอนุมัติหลักการ ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเสนอเป็นแกนจัดตั้ง ซึ่งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ได้อนุมัติโครงการ การจัดตั้งสถาบันแห่ง ชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 และได้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2540 โดยมี รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี เป็นผู้อำนวยการผู้ก่อตั้ง ซึ่งมีสำนักงาน ชั่วคราวตั้งอยู่ที่สำนักงาน โครงการวิจัย ชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม และอาคารสถาบันก่อสร้าง เสร็จเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ปัจจุบันมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบัน ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2561 ถึงปัจจุบัน

มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา

มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา

มีเป้าหมายในการทำงาน เพื่อส่งเสริม พัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สู่สังคม ได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด การรู้เท่าทัน และส่งเสริมทักษะชีวิตเด็กเยาวชน และสร้างภูมิคุ้มกันผลักดันให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมลดสภาวะเสี่ยงรอบตัวเด็กเยาวชน ได้ดำเนินงานสู่ยุทธศาสตร์ร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งมีแนวความคิดการทำงานเชิงลึกเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน จำเป็นต้องมองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม การทำงานต้องเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด ปฏิบัติ ให้มองเห็นสภาพปัญหาและเกิดปัญญาในการแก้ไขป้องกัน ทั้งในระดับตนเองและกลไกลทางสังคม กิจกรรมจึงต้องมีกระบวนการที่หลากหลายเพื่อเสริมพลังด้านบวกให้เด็กเยาวชน มุ่งการดำเนินการสู่ตัวเด็ก รวมถึงผู้ใหญ่และสังคมรอบๆ ตัวเด็กได้มีส่วนในการร่วมพัฒนา โดยนำพลังเด็กเยาวชนร่วมขับเคลื่อน และเชื่อมั่นในศักยภาพเด็กเยาวชน สามารถมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งดีงาม ให้กับตนเอง เพื่อน ครอบครัว ชุมชน สังคม โดยองค์กรมีแนวทางพัฒนาและปกป้องเด็กเยาวชน ลดปัจจัยเสี่ยง คือ

1. จัดกระบวนการกิจกรรมเพื่อสร้างทักษะชีวิต ด้านทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ
2. ส่งเสริมศักยภาพเด็กเยาวชนมีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคม ด้านพฤติกรรมภายนอก โดยเพิ่มแรงเสริมด้านบวกกระตุ้นความสามารถทางสังคม
3. จัดสภาพแวดล้อมรอบตัว เด็กเยาวชน ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง เชื่อมประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ
4. สร้างช่องทางใหม่ มีทางเลือกที่หลากหลาย ส่งเสริมทำกิจกรรมและสื่อสร้างสรรค์
5. ปกป้องเด็กเยาวชน ลดการเข้าถึง แหล่งอโคจร แหล่งอบายมุข พนัน ยาเสพย์ติด และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การคุกคามและความรุนแรงทางเพศ

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กเยาวชน (สสดย.)

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กเยาวชน (สสดย.)

“สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.)” เกิดจากการรวมตัวกันของนักวิชาการ องค์การทำงานด้านเด็ก และนักจัดรายการวิทยุสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่เห็นความสำคัญของช่องทางในการนำเสนอสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลายในรูปแบบของเครือข่าย โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว, โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพรายการวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว, แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งเป็น "ชมรมวิทยุเด็ก เยาวชน และครอบครัว" ในเบื้องต้น โดยมีเป้าหมายในการผลักดันให้เกิดพื้นที่สื่อวิทยุที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวเพิ่มขึ้น รวมถึงเกิดการพัฒนาคุณภาพสื่อวิทยุสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับความต้องการในการเรียนรู้ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาสุขภาวะของเด็กและเยาวชนในแต่ละช่วงวัย

ชมรมวิทยุเด็ก เยาวชน และครอบครัว เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชมรมฯ และดำเนินการรวบรวมสมาชิกเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสมาคมวิทยุเด็กฯ ต่อไป โดยมี รองศาสตราจารย์จุมพล รอดคำดี เป็นประธาน โดยชมรมวิทยุเด็กฯ จะเป็นฐานกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตรายการวิทยุสำหรับเด็ก และเป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เช่น นิทาน เพลงเด็ก รายการวิทยุต้นแบบเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน และจัดหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะผู้ผลิตรายการวิทยุสำหรับเด็ก เป็นต้น


ต่อมาได้จดทะเบียนเป็น "สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.)" เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อการทำงานที่มีเป้าหมายกว้างขึ้นในเรื่องสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อใหม่ เพื่อเป็นองค์กรนำในการสร้างการมีส่วนร่วม สร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรายการวิทยุ และส่งเสริม สนับสนุน การสร้างสื่อสร้างสรรค์ทุกประเภท เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ตามช่วงวัยและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาวะ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.