ประเภทสื่อ
ภาคีสร้างสรรค์
We are Happy(ศพด.)

We are Happy(ศพด.)

Wearehappy มุ่งมั่นทำโครงการดี ๆมาตั้งแต่ 2548 เราได้สร้างความสุข เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัว และชุมชนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และหวังให้ทุกคนร่วมกันทำสิ่งดี ๆ เพื่อสังคมที่น่าอยู่ ด้วยพลังของความเชื่อที่ว่า “หากเราเริ่มต้นทุกอย่างด้วยความสุข สอนให้คนอื่นรู้จักแบ่งปัน และส่งต่อความดีไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงิน แค่ให้เวลา รอยยิ้ม พูดคุยถึงเรื่องราวดี ๆ เท่านี้สังคมก็ดีขึ้นได้แล้ว ก่อนที่จะคิดว่าได้ให้อะไรกับสังคม เราต้องคิดว่าสังคมให้อะไรเรามาแล้วบ้าง ฉะนั้นการให้โอกาส ความเป็นมิตร ความจริงใจ คือสิ่งที่เราอยากส่งต่อไปให้กับทุกคน แต่ก็ต้องอยู่บนกติกาที่ว่า ได้รับแล้วต้องแสดงออกด้วยการขอบคุณและเรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม”

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว

ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ.2542 เกิดจากการรวมกลุ่มของพ่อแม่กลุ่มหนึ่งที่ร่วมกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาซึ่งใช้ชื่อว่า “ชมรมพ่อแม่” จากนั้นจึงพัฒนาเติบโตมาเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่มีเป้าหมายชัดเจน คือ “เพื่อความเข้มแข็งของครอบครัวไทย”

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มีบทบาทในการประสานและสร้างความตระหนักในการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เกิดขึ้นทั้งในบุคคล ชุมชน และสังคม ด้วยการนำเสนอกระบวนการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและเรียกร้องต่อรองสิทธิอันพึงมีของครอบครัว  พันธกิจที่สำคัญของเราคือ ส่งเสริมให้พ่อแม่ชั้นกลางใช้โอกาสเป็นพ่อแม่ของตนอย่างมีคุณค่า เพื่อทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ให้ประสบผลสำเร็จนั่นคือหน้าที่ของความเป็นพ่อแม่นั่นเอง

มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

มูลนิธิชีวิตไท

มูลนิธิชีวิตไท

มูลนิธิชีวิตไท (Local Act) หรือในชื่อย่อว่า "โลโคลแอค" เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรไร้ที่ดินที่มีอยู่จำนวนมาก โดยทำงานสนับสนุนการปกป้องสิทธิที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของเกษตรกร สิทธิในการได้มาซึ่งที่ที่ดินทำกินเพื่อการยังชีพ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และสิทธิในการทำการผลิตที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

โลโคลแอค ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การจัดการศึกษา พัฒนาศักยภาพเกษตรกร การจัดเวทีสัมมนาวิชาการ เวทีสาธารณะ และการรณรงค์ในระดับนโยบาย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรเกษตรกร ในการกำหนดนโยบายที่ดิน และนโยบายสาธารณะที่สำคัญของสังคม

โลโคลแอค ก่อตั้งขึ้นใน ปี 2548 โดยการตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อป้องกันตนเองมิให้ตกเป็นเบี้ยล่างในโครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน ภายใต้กระแสเสรีนิยมใหม่ซึ่งที่ดินกลายเป็นสินค้า รวมทั้งการคิดค้นทางเลือกทางออก ระดับนโยบายและระดับพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ต้องตกเป็นแรงงานราคาถูก ทำการผลิตให้กับกลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจและเจ้าของที่ดิน ซึ่งกำลังได้รับผลประโยชน์จากโครงสร้างการผลิตและการตลาดที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

โลโคลแอค มีภารกิจหลักในการทำงานรณรงค์สิทธิของคนไร้ที่ดินและที่อยู่อาศัยกับสาธารณชน รณรงค์นโยบายและกฎหมายการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม และสนับสนุนแนวทางการจัดการที่ดินและเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม

มูลนิธิการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม

      Civicnet เป็นสถาบันทางสังคมที่มุ่งการทำงานเคลื่อนไหวทางสังคมเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐาน แห่งปรัชญาที่เชื่อมั่น ในพลังของการรวมตัวของคนเล็ก ๆ ในสังคมในการทำงานกอบกู้ท้องถิ่นและสังคมของตนเอง ด้วยจิตสำนึกของ ความเป็นพลเมืองที่ขอเข้ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงและกำหนดทิศทางของสังคมอย่างเป็นอิสระ ด้วยความ รับผิดชอบ และปัญญาแห่งการสร้างสรรค์

ทั้งนี้ Civicnet จะทำหน้าที่เป็น “สะพาน” เชื่อมโยงผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในเมือง และชนบทเพื่อร่วมเป็น “พลังประชาสังคม” ในการกอบกู้สังคม สร้างชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง และส่งเสริม ความเป็นประชาสังคม

 

มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา

มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา

มูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา (พชภ.) เริ่มด้วยโครงการสำรวจข้อมูลทางสังคมเศรษฐกิจเบื้องต้น ในพื้นที่ต้นน้ำแม่จัน-แม่สลอง ตั้งแต่ พ.ศ.2528-ต้นปี 2529 ได้รับทุนจากกองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา (LDAP) ซึ่งมีคุณอเนก นาคะบุตร เป็นผู้ประสานงาน คณะสำรวจ ประกอบด้วย คุณธนูชัย ดีเทศน์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านปางสา เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยผู้นำในกลุ่มปางสา ครู ศศช. กลุ่มปางสา นักวิจัยจากศูนย์วิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ ร่วมกันสำรวจ โดยเลือก 10 หมู่บ้านที่พร้อมจะร่วมกันทำงาน ข้อมูลจากการสำรวจได้นำมาเขียนโครงการการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ซึ่งเป็นโครงการระยะที่หนึ่ง 3 ปี ระหว่าง พ.ศ.2529-2532 ใช้ทุน LDAP เน้นงานการสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานถาวร การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและการส่งเสริมสิทธิหน้าที่ประชาชนที่ดี โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการชาวเขาจังหวัดเชียงราย ให้เข้าดำเนินงานพื้นที่ได้ ซึ่งมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเชียงราย เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เข้ารับการอบรมหลักสูตร ศศช. และใช้หลักสูตร ศศช. เป็นแนวทางหลักในการจัดการศึกษาร่วมกับชุมชน

ธนาคารจิตอาสา

ธนาคารจิตอาสา

ธนาคารจิตอาสา รับผิดชอบและดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีสุขภาวะทางปัญญา 

ภายใต้วิสัยทัศน์บนความเชื่อว่า “สังคมไทยได้มีความสุขจากการทำความดี แทนความสุขจากการบริโภค และเกิดทัศนคติที่เอื้อต่อจิตใจ เข้าใจในความดี คือการให้และแบ่งปัน และเข้าใจในความจริง คือการเข้าใจในชีวิต” โดยขับเคลื่อนงานที่สนับสนุนกลไกและงานสื่อสารที่สร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อและเปิดโอกาสให้ผู้คนมีประสบการณ์ด้วยตนเอง หรือประสบการณ์ตรง (direct experience) จาก 8 ช่องทาง ได้แก่ งานจิตอาสา ความสัมพันธ์ การสัมผัสธรรมชาติ การศึกษาเรียนรู้ 

การทำงาน ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย และการภาวนา รวมถึงการเสริมสร้างทักษะเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจในตนเอง

ความเข้าใจในชีวิตและโลก ได้แก่ กระบวนการพัฒนาจิตด้วยทักษะการตระหนักรู้ (self-awareness) และทักษะการสะท้อนตนเอง(self-reflection) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง รวมทั้งงานสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการติดตั้งทักษะเพื่อการมีสุขภาวะทางปัญญา พร้อมทั้งจัดหลักสูตรที่เอื้อให้เกิดการเชื่อมโยงสนับสนุนกันระหว่างภาคี โดยงานกลไกสนับสนุนช่องทางพัฒนาจิตและสื่อสารนั้นดำเนินงานภายใต้แบรนด์ธนาคารจิตอาสา, ความสุขประเทศไทย และจิตอาสาพลังแผ่นดิน

 

เว็บไขต์โครงการภายใต้การดำเนินงานของธนาคารจิตอาสา

       ความสุขประเทศไทยwww.happinessisthailand.com

       จิตอาสาพลังแผ่นดิน www.palangpandin.com

โครงการอยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข (บ.ชีวามิตร)

โครงการอยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข (บ.ชีวามิตร)

บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้จดทะเบียนในฐานะ วิสาหกิจเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2560 โดยมุ่งมั่นจัดกิจกรรมอบรมเผยแพร่ความรู้ และให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง ตามความเหมาะสมของยุคสมัย พร้อมกับส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยทางสังคมในเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย

นอกจากนั้น ชีวามิตรยังส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ด้วยการประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ และบริการสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพ ให้เกิดคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อชีวิตปลายทางที่มีทางเลือกอย่าง เหมาะสม พอดี สมศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์สำหรับทุกคนในทุกมิติ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.