ประเภทสื่อ
ภาคีสร้างสรรค์
Cofact

Cofact

โครงการโคแฟค หรือ Collaborative Fact Checking เกิดขึ้นมาด้วยแรงบันดาลใจจากการรวมตัวของภาคประชาสังคมในไต้หวันที่เชื่อในเรื่องพลังของภาคพลเมืองในการรับมือกับด้านมืดของข้อมูลข่าวสาร ด้วยการมีพื้นที่กลางในการให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันค้นหาข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงผู้รู้จริง เพราะบางครั้งข้อเท็จจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาและเหตุปัจจัย

เมื่อกลางปี พ.ศ. 2562 ภาคประชาสังคมในประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาข่าวลวง หรือ International Conference on Fake News นำโดยภาคี 8 องค์กร อาทิ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสัมมนาในครั้งนั้นได้ลงนามประกาศปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอมร่วมกันด้วย อีกทั้งได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวันคือคุณออเดรย์ ถัง มาเป็นวิทยากรคนสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์งานของโคแฟคต้นแบบในไต้หวัน จากนั้นมาก็ได้มีการประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือ จนนำมาสู่โครงการโคแฟคในประเทศไทย

แนวคิดของโคแฟค เป็นการผสานการผลักดันการใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง (Civic Tech) กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) โดยมีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครในการกรองข่าว และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนโต้แย้งข้อเท็จจริงและความเห็นได้ อีกทั้งมี Chatbot หรือโปรแกรมการพูดคุยอัตโนมัติที่เปิดให้ทุกคนมาส่งข่าวให้ทีมกลั่นกรองได้ จากนั้นก็จะมีทีมเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ และ สื่อมวลชนด้วย รวมทั้งพัฒนางานข่าวเชิงลึก เช่นมีข้อความที่น่าสนใจอันสืบเนื่องจากประเด็นข่าวจริงข่าวลวงที่เป็นกระแสหรือที่มีความสนใจในเชิงนโยบายและประโยชน์สาธารณะในโครงการ Cofact Journalism

เบื้องต้นเราได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ คือ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Center for Humanitarian Dialogue (HD) Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) ซึ่งดำเนินการโดยทีม ChangeFusion และ Opendream มีภาคีผู้สนับสนุนเนื้อหาอย่าง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค Wisesight รวมทั้งภาคีภาครัฐอย่างสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หรือพันธมิตรอย่างชัวร์ก่อนแชร์ รวมทั้งภาคีภาคประชาสังคมในท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และ องค์กรวิชาชีพสื่อ เป็นต้น

Mindfulness in Physical Activities

Mindfulness in Physical Activities

กลุ่มฝึกการเรียนรู้แนวทางการเจริญสติกับการออกกำลังกาย

โครงการจัดการความรู้และส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างมีสติ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกลุ่มฝึกการเรียนรู้แนวทางการเจริญสติควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กันด้วยการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ทั้งยังเตรียมจัดทำชุดคู่มือ และสื่อต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการนำสติมาประยุกต์ใช้ในการออกกำลังกายและในชีวิตประจำวัน โดยมีวิธีการฝึกหลากหลายทักษะ เช่น ฝึกการมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ฝึกสติในการรับรู้สิ่งแวดล้อมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 การออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ ตลอดจนการทำงานบ้านและการทำกิจวัตรส่วนตัวอย่างมีสติ  

 

New Heart New World โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง

New Heart New World โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง

ในปี 2554 ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอย จากวิกฤติน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้สภาวะจิตใจของผู้คนในประเทศขาดกำลังใจ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เต็มไปด้วยข่าวความเดือดร้อนเสียหาย คุณบี ทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ จึงได้มีดำริที่จะมอบกำลังใจ สร้างพลังบวกให้กับสังคม ผ่านโครงการ New Heart New World โดยจัดทำซีรีส์หนังสือ New Heart New World โลกเปลี่ยนไปเมื่อใจเปลี่ยนแปลง และคลิปวิดีโอสัมภาษณ์ เหล่านักคิด นักใช้ชีวิต ผู้เปลี่ยนโลกใบใหม่...โดยเริ่มจากใจที่เปลี่ยนแปลง กว่า 22 ท่าน อาทิเช่น ดนัย จันทร์เจ้าฉาย, พลอย มัลลิกะมาส, วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล, อ.วิเชียร ไชยบัง, พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส, ดังตฤณ, สุนิสา สุขบุญสังข์, ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ, วิทิตนันท์ โรจนพานิช, นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช,โจน จันได, ดร.สุวินัย ภรณวลัย, อ.ประมวลเพ็งจันทร์ เป็นต้น ซึ่งผลจากการเปิดตัวโครงการ New Heart New World ก็สร้างกระแสเชิงบวกให้กับสังคม จนเกิดเป็นซีรีส์ต่อเนื่องมาจวบจนถึงทุกวันนี้

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.