สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
มูลนิธิสุขภาพไทย เดิมมีชื่อว่า โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2522 ในสังกัดมูลนิธิโกมลคีมทอง โดยมีเป้าหมายที่จะรวบรวมความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรจากตำรับตำราและประสบการณ์ของชาวบ้าน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ด้วยแนวคิดที่จะส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ของนักเรียนรู้ที่จะก่อตัวเป็นเครือข่ายต่อเนื่องไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยสนับสนุนให้คนในวัยทำงานมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้หลักการของการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าถึงสุขภาวะทางปัญญา ด้วยการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ออกแบบตามหลักการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) และการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) อันประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยหัวใจ สมอง สองมือ (Heart Head Hand) และการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง (Deep Thinking) ผ่านการสะท้อนคิด (Reflection) เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง (Transformation)
ความเป็นมา หมู่บ้านพลัมในประเทศไทย
ปี พ.ศ.2518 หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ เดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกเพื่อร่วมประชุมอาศรมแปซิฟิกที่วัดผาลาด จ.เชียงใหม่
ปี พ.ศ.2519 หนังสือ The Miracle of Being Awake ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยเล่มแรก ในชื่อ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ กล่าวถึงการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันด้วยภาษาเรียบง่ายและใช้ได้จริง เป็นที่ประทับใจนักอ่านและนักปฏิบัติชาวไทย จึงมีการแปลและเผยแพร่หนังสือเล่มอื่นๆของท่านในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ.2545 จัดกิจกรรมภาวนาตามแนวทางหมู่บ้านพลัมครั้งแรกโดยมี พระภิกษุณีจีน่า และ พระภิกษุณีนิรามิสา เป็นผู้นำภาวนามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 40 คน (พระภิกษุณีนิรามิสาเป็นชาวไทยคนแรกที่บวชกับหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ในประเทศฝรั่งเศส)
ปี พ.ศ.2550 หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ เดินทางมานำภาวนาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ครั้งแรก ในชื่อหัวข้อ สู่ศานติสมานฉันท์
หลังจากนั้นจึงมีการจัดภาวนาตามแนวทางหมู่บ้านพลัมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ปี ปีละ 2 ครั้งโดยนิมนต์พระธรรมาจารย์จากหมู่บ้านพลัมประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง เวียดนาม ฯ เพื่อมานำการภาวนา กลุ่มสังฆะหมู่บ้านพลัมในประทศไทยค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากการรวมตัวของมิตรสหายทางธรรมที่เคยเข้าร่วมงานภาวนาตามแนวหมู่บ้านพลัมและมีความปรารถนาจะสืบเนื่องการปฏิบัติ
Peaceful Death คือกลุ่มเพื่อนที่ทำงานสนับสนุนการตายดี เราผลิตเนื้อหา เครื่องมือการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเรียนรู้ชีวิตและความตายที่ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับผู้สนใจ เราหวังเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการจากไปอย่างสงบ
We Oneness
ขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่การเติบโตภายใน
ร่วมกันสร้างวิถีชีวิตไปสู่สังคมแห่งการตื่นรู้ควบคู่วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อเกิดสังคมต้นแบบแห่งความสุขอันประณีตที่เป็นสากล
อันได้แก่การเข้าถึง ความจริง ความดี ความงาม และความรัก
ภายใต้พันธกิจ Unity for Oneness – สหธรรมิกแห่งหนึ่งนั้นเดียวกัน
“ เพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์ สืบสานสากลธรรม
น้อมนำสรรพศาสตร์ เพื่อสร้างสันติสุข ”
โครงการนี้ ทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาวะและการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา เข้าสู่คณะ สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ในวิทยาเขต ตามยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการมีสติตื่นรู้ (Mindfulness University) โดยทำการฝึกฝนและอบรมตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง จนนำไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในคุณค่าความหมายของการดำเนินชีวิตและการทำงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานภายในตนเอง รวมถึงสร้างปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรสู่การมีสุขภาวะที่ยั่งยืน
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตและมหาบัณฑิต รวมจำนวน 5 หลักสูตร และจัดการวิจัย บริการวิชาการ ทำนุบำรุงและพัฒนาด้านภาษา วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.