สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
การที่บุคคลจะเข้าถึงการอยู่ดีและตายดีนั้น แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งคนในครอบครัว แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงผู้ที่รับจ้างดูแล คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแลและนักบริบาลชุดนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพที่ดีและจากไปด้วยดี รวมถึงช่วยให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับความพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นได้
ปัจจุบันเราต่างดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัล ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่นำมาซึ่งความขัดแย้ง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่อาจทำให้หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะผ่านมันไปได้อย่างไร? โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดยมูลนิธิสหธรรมมิกชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ให้ผลิบานขึ้นในสังคม เชื่อมผู้คนให้เกิดขึ้นเป็นชุมชนเล็กๆ ที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และสร้างการเติบโตทางจิตวิญญาณ เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้
ก๊อต จิรายุ นักแสดงมากฝีมือ กับบทความแบ่งปันประสบการณ์การตื่นรู้ร่วมในโครงการ We Oneness หรือโครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน ภายใต้กิจกรรมการเปิดตัวสารคดี “หัวใจตื่นรู้” กับมุมมองการเล่าถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้ ก๊อต หันมาสนใจเรื่องการตื่นรู้ ความหมายของความสุขและความทุกข์ที่แท้จริง อะไรที่ทำให้เรามีความสุขที่ปราณีตมากขึ้น รวมถึงการได้ค้นพบคุณค่าในตัวตนและเข้าใจพลังภายในของเราที่มีทั้งพลังสร้างสรรค์และพลังทำลายล้าง
n/a
อินโฟกราฟิกแนะนำเทคนิคให้กับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลเด็กๆ ลูกหลานที่ต้องกักตัวอยู่ในบ้านช่วงโควิด-19 เด็กๆ เองก็เครียดไม่แพ้กันและบางครั้งก็ไม่เข้าใจสถานการณ์ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและช่วยประคับประคองให้เด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งไม่แพ้ผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
อินโฟกราฟิกแนะนำวิธีการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงในช่วงการระบาดโควิด-19 ประกอบด้วยการดูแลทั้งด้านร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ และการดูแลสภาพจิตใจให้ไม่เผชิญหน้ากับความเครียดหรือเป็นทุกข์ในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ
วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ
อิ่มอกอิ่มใจไปกับการเดินทางใจครั้งสำคัญของหนุ่มสาวทั้ง 5 คน กับ 5 คำถามภายใน และคำตอบที่ต้องกลับเข้าไปค้นหาในหัวใจตัวเอง ซึ่งเลือกออกเดินทางไปกับ 5 ผู้รู้ ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิต ได้ใน สารคดี The Heart Explorer เดินทางใจ ความยาว 107 นาที
สื่อหนังสือภาพ 'เรายังรักกันทุกวันจ้ะ' โดยโครงการภูมิคุ้มใจและแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเป็นสื่อกลางให้ครอบครัวและเด็กๆ ได้เข้าใจถึงการสื่อสารภาษารักในรูปแบบต่างๆ ผ่านตัวละครครอบครัวหมีน้อยในนิทานเล่มนี้ โดยมีภาษารักแทนการกอดหรือหอมแก้มซึ่งไม่สามารถทำได้ในช่วงของการรักษาระยะห่างหรือ Social Distance ตัวอย่างเช่น การบอกรักด้วยคำพูด การบอกรักด้วยการดูแล เตรียมน้ำ เตรียมขนม หรือการบอกรักด้วยของขวัญแทนใจ ดังนั้น แม้ตัวจะห่างแต่หัวใจเรายังใกล้กันได้ผ่านภาษารักเหล่านี้
เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย
อินโฟกราฟิกอธิบายขั้นตอนการรับมือความรู้สึกท้อแท้ ห่อเหี่ยวใจ เพื่อการสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้รู้เท่าทันอารมณ์ห่อเหี่ยวใจที่เกิดขึ้น เกิดสติ ไม่จมดิ่งไปกับอารมณ์จนเกิดผลร้ายต่อตัวเองและคนรอบข้าง เป็นหนึ่งในสื่อจากองค์ความรู้ชุด 'เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้'
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.