ก่อการครู : ก้าวแรกของก่อการครู
โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป
Collective Happiness สุขร่วมสร้าง
ความสุขที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เริ่มจากตัวเราเองสู่ครอบครัว สู่คนรอบข้าง แล้วค่อยๆส่งต่อความสุขออกไปสู่สังคม ความสุขของคนเราเกิดได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน สุขที่ได้เห็นคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักมีความสุข สุขจากการที่ได้ทำกิจกรรมที่เรารัก สุขที่ได้ทานของอร่อย สุขแบบพอเพียง สุขที่ได้ร่วมช่วยเหลือแบ่งปัน หากคนในสังคมมีความสุข มีสุขสภาพจิตใจที่พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคมและยังเป็นการร่วมกันช่วยลดความทุกข์ให้สังคมให้เกิดสุขในภาพรวมได้
ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1
ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้
ด้วยแรงกาย แรงใจ และสายตาที่เฝ้ามอง
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นจากการจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำ ภายใต้โครงการผู้นำแห่งอนาคต โดย สสส. ร่วมกับ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเอง โดยหันมาฟังเสียงภายในตัวเราให้มากขึ้น แทนการด่วนตัดสินหรือดูหมิ่นความคิดของผู้อื่นที่ดูผิดแปลกไปจากระบบสำเร็จรูปของสังคม ที่นับวันจะกลายเป็นรากลึกที่ฝังไปในระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ควรถึงเวลาที่เราจะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และคิด วิเคราะห์อยากแท้จริง
ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา
ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ
ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม
บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม เป็นหนังสือรวบรวมบทความวิจัยซึ่งเกิดจากการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ 3 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จังหวัดเชียงราย, ชุมชนโคกสลุง จังหวัดลพบุรี, กลุ่มทราเวลล์และชุมชนรอบข้างในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการวิจัย “การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม”
วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม
พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้
การถอดบทเรียนการทำงานชุมชนร่วมกันของคนในจังหวัดพังงามากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้จะทำให้เห็นถึง "การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางการทำงานของชุมชน" เพื่อให้ผู้อ่านไม่ทำพลาดซ้ำ "พังงาแห่งความสุข" ไม่ใช่ตัวอย่างความสำเร็จ แต่คือตัวอย่างการ "เริ่มต้นนับหนึ่ง" เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทบทวน ทั้งส่วนชุมชน ประชาสังคม หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมในบริบทอื่น ๆ เพื่อนำข้อคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองต่อไป
ดุจสายน้ำดั่งสายลม ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออก
ปัญหาการเมือง ปัญหาคอร์รัปชั่น การเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ล้วนเป็นสนิมที่กัดกร่อนบ้านเมือง เราก็ได้แต่หวังว่าจะมี “ผู้นำ” ที่ดีมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ งานวิจัยเล่มนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออกจาก 5 ปราชญ์ คือ ขงจื่อ เหล่าจื่อ จวงจื่อ หานเฟยจื่อ และพระพุทธเจ้า กับ 4 สำนัก คือ สำนักขงจื่อ สำนักเต๋า สำนักมั่วจือ ฝ่ายจยา (นิตินิยม) เพื่อนำเสนอมุมมองการเป็นภาวะผู้นำที่ดี ซึ่งต้องมีหลักคุณธรรม ให้ความเสมอภาคและเสรีภาพกับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และต้องมีกฎกติกาในการส่งเสริมคนดี
จุดนัดพบบนเส้นขนาน
หนังสือจุดนัดพบบนเส้นขนาน เป็นการถอดบทเรียนกระบวนการทำงานยกระดับและพัฒนาศักยภาพการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ 4 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จ.เชียงราย, ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง จ. ลพบุรี, เครือข่ายขอนแก่นนิวสปิริต จ.ขอนแก่น และเครือข่ายสภาพลเมืองพังงาแห่งสุข จ.พังงา โดยเน้นการประสานร่วมพลังระหว่างชาวบ้าน ชุมชน และการประกอบการสังคม โดยการเรียนรู้นี้สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมยุคนี้ เราไม่ได้ต้องการผู้นำแบบพระเอกขี่ม้าขาว ที่ฉายเดี่ยว แต่สังคมกำลังต้องการผู้นำที่มีวุฒิทางปัญญา สามารถหลอมรวมสภาวะการนำและการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมอารยะ หรือการมีคุณค่า และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในสังคมแห่งทุน หรือมูลค่า ได้อย่างมีสมดุล
ครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้
“ครู” คือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ เพื่อมาวางนรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติ ครูเพียงหนึ่งคนสามารถสร้างและพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมเพื่อมาพัฒนาประเทศชาติได้มากมาย หนังสือครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟเรียนรู้ เป็นการถอดบทเรียนการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้กับครู ตามโครงการผู้นำแห่งอนาคต ของ สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ขณะเดียวกันก็มีความอิ่มเอม เบิกบานในอาชีพครูได้อย่างภาคภูมิ