วิชาชีวิต บทที่ 5 มาตรา12 VS การุณยฆาต โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส
การวางแผนชีวิตล่วงหน้าในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ คนที่ไม่สบายแต่ยังมีสติสัมปชัญญะ เขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะรักษาอย่างไร แต่หากคนที่ไม่สบายขาดสติ หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ญาติหรือผู้ดูแลก็อยากจะยื้อชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แต่กลับเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่จากไป “พรบ. สุขภาพแห่งชาติ มาตราที่ 12” มีสาระสำคัญให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนชีวิตในช่วงสุดท้ายได้ ว่าอยากตะจากไปแบบไหน ด้วยการทำ “เจตจำนง หรือ Living Will” ว่าถ้าวันหนึ่งต้องจากไป ขอจากไปตามธรรมชาติ จากไปอย่างสงบ
วิชาชีวิต บทที่ 4 ศาสตร์การเจรจา 2 อภิชญา วรพันธ์ และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ทำไม ? การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงมีเรื่องของ “ศาสตร์การเจรจา” แท้จริงแล้วการสื่อสารที่ดี เป็นประเด็นหลักในการรักษาทางการแพทย์ เพื่อที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติ ๆ สามารถทำความเข้าใจที่ตรงกัน และเดินทางไปสู่เป้าหมายของการรักษาที่เอื้อต่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้ เพื่อคนไข้ได้มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในยามที่เผชิญโรคภัยต่าง ๆ
วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์
การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว เรื่องของกำลังใจ หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ
วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู
“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย
วิชาชีวิต บทที่ 1 ตาย ศาสตร์ - รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
การเตรียมตัวตายอย่างมีคุณภาพชีวิต เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตั้งคำถามกับตนเอง ไม่ว่าจะเพื่อบุพการี ตัวเอง หรือแม้แต่เพื่อคนที่เรารัก ด้วยสังคมในทุกวันนี้ที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า คนเรามีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้น แสดงว่าคนไทยมีอายุยืนขึ้น และอีกไม่ช้าสังคมไทยเราก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเมื่อก่อนมาจากโรคติดเชื้อ แต่ในวันนี้ คนไทยตายจากความเสื่อมของอวัยวะและร่างกาย “การยื้อความตาย” เป็นคำถามที่ต้องฉุกคิดทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่จะจากไป ว่าเราจะมีวิธีการอยู่ หรือ จากไปอย่างมีความสุข ไม่กังวล และสุขภาวะที่ดีได้อย่างไร ...อยู่ให้เป็นสุข ตายให้สบาย...
หลักสูตร วิชาชีวิต
หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
ก่อการครู : ความเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำรุ่น 1
วิดีทัศน์จากโครงการ ก่อการครู...ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ สะท้อนกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงภาวะการเป็นผู้นำของ “ครู” เพื่อจุดประกายในการสอน และอบรมเด็กและเยาวชน เน้นการทำกระบวนการให้ครูฟังเสียงภายในตนเอง สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรครู เพื่อเห็นในคุณค่าความเป็นครู พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้จากภายในสู่ภายนอกด้วยความรักและเอาใจใส่ต่อศิษย์ด้วยหัวใจและเมตตา
ก่อการครู : ครูแกนนำ x คนรุ่นใหม่
วันนี้เราสามารถลุกขึ้นมาเป็น “ครู” ได้ เพียงเรามีหัวใจและพลังที่พร้อมกล้าเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทย คุณจะเป็นครูประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คุณจะเป็นครูสอนพิเศษ คุณจะเป็นนักออกแบบเกม คุณจะเป็นนักวิจัย หรือนักสื่อสารก็ตาม เราทุกคนสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาที่ดีให้กับเด็กได้อย่างสร้างสรรค์ ลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา และสร้างโฮกาสและความเท่าเทียมให้กับทั้งครู เด็กนักเรียน และระบบการเรียนการสอนในบ้านเรา
ก่อการครู PLC ก่อการครู ร.ร.ชุมชนบ้านผานกเค้า
กระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิต หรือ PLC เป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเด็กให้มีความสุขในการเรียนที่มากขึ้น แล้วสุดท้ายก็จะส่งผลมาที่ครูผู้สอนให้มีความสุขด้วยเช่นกัน โรงเรียนชุมชนบ้านผานกเค้า จ.เลย เน้นการเรียนการสอนแบบ PLC ที่มีการเปิดใจ เปิดหู เปิดตาในการเรียนการสอน โดยใช้หลักการฟังทุกเรื่อง ฟังให้จบ มองให้ทั่ว ไม่ด่วนตัดสิน แล้วเมื่อนั้นทั้งศักยภาพของเด็กและครูก็จะเกื้อหนุนกันอย่างมีความสุข
ก่อการครู โมดูล 1 ครูคือมนุษย์
ก่อนที่การเรียนการสอนของครูจะสร้างพลังในการเรียนรู้ให้กับเด็ก “ครู” ต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงของครูก่อน ว่าครูคือมนุษย์ ตระหนักในคุณค่าความเป็นครู ขณะเดียวกันครูก็ต้องเปิดใจยอมรับในศักยภาพ และความแตกต่างของเด็ก ซึ่งในความแตกต่างอาจเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ครูต้องไม่ด่วนตัดสินเด็ก ครูจะต้องเปิดใจ เปิดหู เปิดตา ในการรับฟังเด็กด้วยหัวใจ จากนั้นระบบการศึกษาก็จะเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการและบังคับอีกต่อไป
ก่อการครู วิชา Magical Classroom meaningful learning
เวทมนตร์ของครู คือการเข้าไปนั่งอยู่ในใจของเด็กได้ ครูทุกคนมีเวทมนต์อยู่ในตัวทุกคน ก่อนอื่นครูจะต้องใช้หัวใจในการสอน ในการพูดคุย ในการฟังเด็ก อยู่ในห้องเรียนร่วมกับเด็กด้วยหัวใจ เข้าใจและเรียนรู้ในธรรมชาติของเด็ก ว่าเด็กต้องการอะไร ต้องการสิ่งแวดล้อมแบบไหน ต้องการความปลอดภัยแบบไหน และแบบไหนที่เด็กได้รับแล้วจึงมีความสุข หากครูสามารถสัมผัสหัวใจของเด็กได้ เมื่อนั้นพลังแห่งเวทมนต์ของครูก็จะฉายแสงออกมาทันที