trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 2080 ข้อมูล

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT

มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ 

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version บทบรรยายไทย)

คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’

3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข

คลิปแอนิเมชั่น ชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข ทุกวันนี้เด็กๆ จะเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง จำเป็นที่ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่ใกล้ชิด จะต้องสร้างภูมิดีให้กับเด็กๆ ซึ่งคำว่าภูมิดีนี้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ภูมิปัญญาทางความรู้ แต่หมายถึงภูมิความรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม เท่าทันตนเอง เด็กที่มีภูมิที่ดี จะช่วยคุ้มครองป้องกันให้เขาเติบโต ดำเนินชีวิตไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 

3 ดีสร้างสุข ตอน พื้นที่นี้ดีจัง

คลิปแอนิเมชั่น ตอน พื้นที่นี้ดีจัง เด็กๆ ต้องการพื้นที่ในการเติบโต พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสมดุล ผู้ใหญ่จำเป็นต้องเปิดพื้นที่ให้เด็ก ให้เขาได้มีพื้นที่ที่ปลอดภัย อิสระ สร้างสรรค์ พื้นที่ดีเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ฯลฯ พื้นที่ดีจะเกิดขึ้นได้ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์

3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้

คลิปแอนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน สื่อดีสร้างได้ ว่าด้วยเรื่องของสื่อที่แวดล้อมเด็กๆ ของเรา ทุกวันนี้ 'สื่อ' อาจไม่ได้มีความหมายแค่สื่อที่เราคุ้นเคยอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เท่านั้น แต่สื่อยังหมายถึงทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเด็กๆ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อดี สื่อสร้างสรรค์ให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ทั้งหมด สื่อดีสร้างได้ด้วยฝีมือคุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กๆ ทุกคน

3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข

คลิปแอนนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข เนื้อหาเจาะลึกถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีความสุขด้วยหลักการ 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี หากคุณพ่อคุณแม่ และคุณครูเข้าใจถึงความหมายของ 3 ดี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กๆ ได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีสุขภาวะครบทุกมิติ ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ

อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้

หนังสือภาพ อดัมกับฟาตีมา ตอน พิชิตเพลิงไหม้ สะท้อนภาพวิถีชีวิตของเด็ก ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ โดยสื่อแทนสองพี่น้องอดัมกับฟาตีมา ซึ่งมีทักษะในการป้องกันตนเอง และเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้อย่างมีสติ  ไปขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ได้ทันเวลา หนังสือภาพเล่มนี้จัดทำขึ้น 2 ภาษา ท้ายเล่มยังมีการสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ฝึกทักษะการป้องกันตัว และวิธีการปฏิบัติตนเองเมื่อเกิดเพลิงไหม้

หนูน้อยไปดอยสุเทพ

หนังสือเรื่อง หนูน้อยไปดอยสุเทพ เป็นหนังสือที่เหมาะกับเด็กวัย 3-4 ขวบ  ที่ผู้ใหญ่ควรอ่านให้เด็กฟัง เด็กจะเรียนรู้ถึงคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีสำเนียงเสียงอันไพเราะกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสะท้อนภาพที่สวยงามของดอยสุเทพ ดอยอันมีชื่อเสียงของเชียงใหม่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าเขาลำเนาไพร เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวมากมาย

ป่าดอยบ้านของเรา

หนังสือ ป่า ดอย บ้านเรา เป็นนิทานภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เล่าเรื่องระบบนิเวศน์ที่เข้าใจยากและซับซ้อนผ่านรูปวาดที่น่ารัก สื่อสารให้เห็นภาพเพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ของป่าและดอย ที่เปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ป่า และสรรพชีวิตน้อยใหญ่ที่พึ่งพิงกัน ก่อเกิดเป็นลำธาร ผืนป่าอุดมสมบูรณ์ และมีอากาศบริสุทธิ์ โดยความสำคัญของป่า ดอย นี้ยังเป็นเสมือนบ้านหลังใหญ่ของมนุษย์เราด้วยเช่นกัน เมื่อใดที่โลกไร้ป่า ก็เสมือนคนเราไม่มีบ้านให้อาศัยนั่นเอง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.