อุนจิ กำลังบอกอะไรเรา
อุจจาระของคนเรา สามารถบอกถึงสุขภาพภายในได้ คนที่ถ่ายอุจจาระมีลักษณะลอยน้ำ แสดงว่าทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยเยอะ ส่วนคนที่อุจจาระจม แสดงว่าทานเนื้อสัตว์มากไป และสีของอุจจาระยังบ่งบอกภาวะเสี่ยงของโรคได้เช่น หากมีสีดำและสีแดง แสดงว่าระบบทางเดินอาหารกำลังมีปัญหา ดังนั้นการสังเกตอุจจาระตนเอง ก็จะช่วยตรวจเช็คสุขภาพได้ในระดับหนึ่งด้วย
ภัยอันตรายจากน้ำดื่ม
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา
6 วิกฤติสุขภาพจากเทคโนโลยี
ปัจจุบันคนเรามักใช้ชีวิตติดเทคโนโลยีกันมากขึ้น จนมองข้ามภัยที่แฝงมากับความสะดวกสบายเหล่านั้น การคุยโทรศัพท์นาน จะส่งผลต่อประสาทหูเสีย การดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็ทำให้ม่านตาถูกทำลาย สมองไม่พัฒนา และมีความอดทนน้อยลง การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ ก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ...เพราะฉะนั้นเราจึงควรหากิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสุขภาพกันบ้าง
6 เทคนิคอ่านหนังสือให้เด็กฟัง
สำหรับเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กที่ยังอ่านไม่ได้ การอ่านให้ฟังเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยผูกใจให้เด็ก ๆ มีความสุขและเกิดทัศนคติที่ดีกับหนังสือและการอ่าน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ คุณครู และผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก ๆ ควรจะให้ความสำคัญและเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ที่จะอ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟัง อินโฟกราฟิกนี้รวบรวมเทคนิคง่าย ๆ ในการอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างง่ายดาย
เทคนิคจูงใจให้เด็กเริ่มอ่าน
เมื่อการอ่านคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เราจึงควรส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ๆ ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าตัวน้อย วิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ เริ่มเปิดหนังสือเพื่อ 'อ่าน' ด้วยความสุขและความรักนั้นจะต้องทำอย่างไร ดูเทคนิคจากอินโฟกราฟิกนี้ได้เลย
เด็กได้อะไรจากการฟังนิทาน
'นิทาน' เล่มบาง ๆ เรื่องสั้น ๆ ในความรู้สึกของผู้ใหญ่ แต่เชื่อไหมว่า หน้ากระดาษไม่กี่แผ่นนั้น มีความหมายมากนักต่อพัฒนาการของลูกน้อย เด็ก ๆ ได้อะไรจากการฟังนิทานบ้าง อินโฟกราฟิกนี้รวบรวมคำตอบมาให้ไว้ในที่เดียว
7 วิธีปลูกฝังให้เจ้าตัวเล็กให้รักการอ่าน
การจะปลูกฝังเด็กให้เป็นรักการอ่านไม่ใช่เรื่องยาก อินโฟกราฟิกนี้ รวบรวม 7 เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังให้ลูกน้อยรักการอ่าน กุญแจสำคัญแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในชีวิต
10 สิ่งที่เด็กควรทำนอกบ้านก่อนอายุ 10 ขวบ
กิจกรรมนอกบ้านเป็นกิจกรรมสุดโปรดสำหรับเด็ก ๆ แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยมีไอเดียว่าจะให้เด็ก ๆ เล่นอะไร อินโฟกราฟิกนี้จะช่วยแนะนำ 10 กิจกรรมนอกบ้านสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงวัยเรียนให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้เด็ก ๆ ให้เกิดทั้ง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี
พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL
เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย
คู่มือบริโภคศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คู่มือบริโภคศึกษา ฉบับมัธยมศึกษาตอนต้น เล่มนี้ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้งานง่ายแม้เป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะมีคำอธิบายขั้นตอนการสอนอย่างชัดเจน มีใบงานพร้อมใช้งาน อีกทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจได้ทำการสอน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้สอนได้ใช้ประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละกิจกรรม การจัดทำคู่มือชุดนี้ได้มีการพัฒนาและตรวจสอบการใช้ในบริบทของการเรียนการสอนจริงมา 3 ขั้นตอน เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาและการนำไปใช้งานจริง
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 (Eng Version)
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ภาคภาษาอังกฤษ จัดทำโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แปลจากหนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ฉบับภาษาไทย เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ในวงการวิชาการในระดับสากล ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในทุกด้านอย่างสมบูรณ์
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 : ฟื้นความฝันการศึกษาให้เด็กไทย
หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน