เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง
วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 51 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Social Distancing ต่อเนื่องจาก Virtual Run ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story ‘จะปล่อย’ หรือ ‘จะเปลี่ยน’ กับกิจกรรม ‘วิ่ง’ ในรูปแบบ Virtual Run ซึ่งเป็นการวิ่งเสมือนร่วมอยู่ในงานจริง โดยฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ความรู้ในเรื่องของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสโคโรน่า กับวิธีป้องกัน การรักษาระยะห่างทางสังคมและการสังเกตอาการของโรค รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 50 เดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ 2563
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Virtual Run เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” ระยะที่ 1 ซึ่งยังคงเป้าหมายเดิมที่อยากผลักดันให้คนในสังคมตื่นตัวหันมาทำกิจกรรมดูแลสุขภาพ ด้วยกิจกรรม Virtual Run โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถวิ่งที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องวิ่งจริงในงาน ซึ่งกติกาในการวิ่งนั้น ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ ต้องการให้คนในสังคมลุกขึ้นมาออกกำลังกาย เปลี่ยนแปลงตัวเองจากพฤติกรรมเดิม ๆ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 49 เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2562
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ เข้าเส้นชัย ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” บทพิสูจน์สุดท้ายกับ 8 บุคคลต้นแบบ ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการ เพื่อพลักดันกระแสการวิ่งให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผู้พิการ ผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม ให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดการตื่นตัวเรื่องสุขภาพและกิจกรรมทางกาย รวมถึงส่งต่อเรื่องราวดี ๆ สู่สังคมในรูปแบบสารคดีกึ่งเรียลลิตี้ที่ผลิตโดยเยาวชน
เห็นนมสู้ตาย
ในน้ำนมมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ที่จำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีสารอาหารบางชนิดอย่างเช่น น้ำตาล Lactose ที่หาไม่ได้จากอาหารประเภทอื่น แต่การดื่มนมนั้น ควรเลือกชนิดของนมให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเรา เพื่อให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ในการบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรงให้มากที่สุด
ผักดิบ (ไม่) ดี
ถึงแม้ว่าการกินผักสดจะให้สารอาหารและวิตามินมากกว่า แต่ผักสดบางชนิดอาจมีสารพิษตามธรรมชาติ และเป็นอัตรายต่อร่างกายหากบริโภคมากเกินไป อย่างเช่น ผักดี 6 ชนิด ที่ต้องกินสุก จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเมื่อนำมาปรุงสุกจะช่วยลดสารพิษตามธรรมชาติ ที่อาจจะขัดขวางระบบการทำงานของต่อมต่าง ๆ และการดูดซึมสารอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย
คู่มือ มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ
ในช่วงที่โลกของเรากำลังประสบภาวะวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่และมีมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาระยะห่างระหว่างกัน “มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” คู่มือที่รวบรวมสาระความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันสื่อและรับมือรูปแบบสื่อ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมไปถึงกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อวางแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด 2 ภาษา (ไทย-ญี่ปุ่น)
นิทาน 2 ภาษา ไทย-ญี่ปุ่น เรื่อง อีเล้งโค้งอยู่บ้านต้านโควิด ที่มาพร้อมความสนุกและอารมณ์ขันที่สอดแทรกความรู้ให้กับน้อง ๆ เยาวชนและทุกคนในครอบครัวให้หันมาทำความรู้จักกับโรคร้ายโควิด-19 และวิธีการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่ น้อง ๆ เยาวชน นอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความรู้ไปกับการอ่านนิทานแล้ว ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยให้แก่เยาวชนในการปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยจากโรคร้ายโควิด-19 อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=531
อีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้าน...ต้านโควิด
นิทานอีเล้งเค้งโค้ง โดยครูชีวัน วิสาสะ สร้างสรรค์ขึ้นในวาระพิเศษช่วงของการ 'อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ' เนื้อหาเป็นการอธิบายให้เด็กๆ ได้เข้าใจสถานการณ์และการปฏิบัติตัวช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนั้น ยังเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างที่ต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ได้เพลิดเพลินกับการระบายสี แต่งแต้มสีสันให้กับนิทานเรื่องนี้ได้ตามจินตนาการอีกด้วย สามารถดาวน์โหลดสื่อเพื่ออ่านได้ที่ : https://www.happyreading.in.th/bookreview/detail.php?id=530