Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผัก" พบ 36 ข้อมูล

นิทาน สวนผักของตา

โอโห้! ผักสวนครัวของคุณตามีเยอะจัง! แถมผักพวกนี้ยังมีประโยชน์มากมายและไร้ยาฆ่าแมลงอีกด้วย เหมียวเหมียวแมวส้มบ้านคุณตาก็มาช่วยคุณตาเก็บและปลูกผักกันอย่างสนุกสนาน สวนผักของตา นิทานภาพสีสันสวยงาม โดย คุณระพีพรรณ พัฒนาเวชและวาดภาพโดย คุณอุษา บรรจงจัด จัดทำขึ้นเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเยาวชนและครอบครัวที่มาพร้อมกับความรู้ใกล้ตัวเรื่องพืชผักสวนครัว ที่ผู้ใหญ่อ่านได้ เด็กๆ ได้อ่านยิ่งดี

คืนชีพผัก

ผักเหลือจากในครัวอย่าเพิ่งรีบทิ้ง! มาคืนชีพให้พวกมันกลับมาเติบโตต่อได้กันดีกว่า กะเพรา โหระพา แมงลัก หรือผักที่มีก้าน และเด็ดใบจนเกลี้ยงแล้ว สามารถนำก้านเหล่านั้นไปแช่น้ำให้พอมีรากอ่อนๆ เพื่อนำไปปักชำเป็นต้นที่เติบโตต่อไปได้ ส่วนผักจำพวกขึ้นฉ่าย ผักชีฝรั่ง และผักบุ้งที่เหลือรากให้ต้องทิ้งอยู่บ่อยๆ ลองเปลี่ยนมาตัดรากแบบเหลือลำต้นเอาไว้เล็กน้อย แล้วตัดแต่งรากให้ไม่ยาวเกินไปก็สามารถนำไปปักลงดินแล้วรดน้ำเพื่อปลูกต่อได้เช่นกัน ขนาดพืชหัวอย่างหอมหรือกระเทียม แค่นำกลีบหรือหัวไปปักลงดินแล้วรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พวกมันก็จะโตขึ้นมาเป็นต้นให้เราเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไม่ยากเลย ใครที่ทำอาหาร คราวหน้าก็ลองนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะ ต่อไปเราจะได้ไม่ต้องมีเศษผักเหลือทิ้ง แล้วยังได้ผักต้นใหม่ไว้กินต่อฟรีๆ ด้วย

กินผักครบรส อร่อยไม่ต้องพึ่งผงชูรส

รู้หรือไม่ว่าผักไทยๆ เรามีรสชาติที่หลากหลายมากถึง 9 รส ไม่ว่าจะเป็น 6 รสชาติพื้นฐาน คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ขม เผ็ด มัน และอีก 3 รสชาติที่เราอาจไม่คุ้นหูกันสักเท่าไหร่อย่าง หอมเย็น ฝาดเฝื่อน และเมาเบื่อ

กินผักสีมงคล

ใส่เสื้อสีมงคลจะมงคลจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ถ้ากินผักให้หลากหลายครบ 5 สีได้ยิ่งดีในทุกวัน รับรองว่ามงคลมาถึงชีวิตแน่ๆ เพราะสุขภาพร่างกายจะดีขึ้นเพราะได้รับวิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย ได้คุณประโยชน์มากมายจากผักหลากสีสัน อีกทั้งยังได้เพิ่มไฟเบอร์และกากใยที่ไปช่วยลำไส้ให้ทำงานแข็งขันอีกต่างหาก

ด้วยรักและห่วงไต

ใครที่เผชิญกับปัญหาโรคไตหรือต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ ยิ่งต้องระมัดระวังการกินให้ดี เพราะมีพืชผักหลายชนิดทีเดียวที่มีโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตให้ระวัง

ปลูกผักสวนครัว ปลูกความรัก

สื่อภาพอินโฟกราฟิกแสดงให้เห็นประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว ที่ได้ประโยชน์ในสุขภาวะทุกมิติทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แนะนำสำหรับครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ทุกครอบครัวต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 

ผักดิบ (ไม่) ดี

ถึงแม้ว่าการกินผักสดจะให้สารอาหารและวิตามินมากกว่า แต่ผักสดบางชนิดอาจมีสารพิษตามธรรมชาติ และเป็นอัตรายต่อร่างกายหากบริโภคมากเกินไป  อย่างเช่น ผักดี 6  ชนิด ที่ต้องกินสุก จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเมื่อนำมาปรุงสุกจะช่วยลดสารพิษตามธรรมชาติ ที่อาจจะขัดขวางระบบการทำงานของต่อมต่าง ๆ และการดูดซึมสารอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย 

เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Retreat ใส่ปุ๋ยความรักในผักสวนครัว

ฝึกให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้และเชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านการปลูกพืชผักสวนครัวง่ายๆ ภายในบ้าน ของเรา หรือพื้นที่เล็ก ๆ ที่พอจะทำได้ นอกจากเราจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ยังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ ร่างกายอีกด้วย

รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก

นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

พินิจพิษผัก โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลไม้ สวย สด ซ่อนพิษสุดสยอง อยากรู้ดูคลิปนี้ การสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปัญหาสารเคมีตกค้าง เพื่อกระตุกเตือนสังคมให้เห็นความน่ากลัวของการใช้สารเคมีการเกษตร และชี้ชวนให้หันมาบริโภคผักอินทรีย์ทดแทน  

ซุปเปอร์มาเก็ต

เพราะเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นคำตอบของความสุขที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และการปลูกกับการผลิตที่ปราศจากสารเคมีนั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วย มีอาหารและสุขภาพที่ดี นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สะท้อนความคิดประเด็นนี้ออกมาเป็นงานนิทรรศการชื่อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่แฝงมากับอาหาร บางอย่างเราไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.