เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate สนทนาประสาครอบครัว
บ้านคือที่พักกายพักใจ และเยียวยายามที่เราเหนื่อยล้า และสับสน มาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อในยามสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด เรามีโอกาสได้ย้อนกลับมาดูแลตนเองและครอบครัวมากขึ้น เราจงใช้ช่วงเวลาดี ๆ อย่างนี้ ในการร่วมพูดคุยกันกับครอบครัวเพื่อให้กำลังใจกันและกัน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate ซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด
โซเซียลมีเดีย สามารถย่อโลกให้อยู่ใกล้กันแค่ปลายนิ้ว บนหน้าจอสี่เหลี่ยมที่เราสไลด์ผ่านเพื่อดูรูปภาพ และข้อความ เราพบผู้คนมากมายทั้งที่เป็นเพื่อน คนที่รู้จัก คนดังของสังคม เราลองนิ่งและพิจารณาข้อความเหล่านั้นด้วยสติ เราจะพบความจริงบางอย่างที่ซ้อนอยู่ระหว่างบรรทัดนั้น ซึ่งสิ่งที่เราเห็นในทันที กับการได้ใคร่ครวญอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดก็เป็นได้
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate โอบกอดด้วยภาษารัก
ในวันที่เราต้องรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร เพื่อเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด แม้จะไม่ได้โอบกอดกันดังแต่ก่อน เราก็ยังสามารถแสดงความรักและห่วงใยกันด้วยการสื่อสาร มอบสิ่งดี ๆ ให้กันและกัน อาทิ ทำของขวัญมอบให้ การพูดแสดงความรักและห่วงใยกัน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate Reconnect กับเพื่อนเก่า
เมื่อต้องเก็บตัวอยู่ที่บ้านนาน ๆ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อส่วนร่วมด้วยการ ...อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ... ความเหงา และว้าเหว่ก็จะเกิดขึ้น การได้ติดต่อกับเพื่อนเก่า ด้วยการโทรศัพท์ไปพูดคุยกัน เพื่อทบทวนความทรงจำดี ๆ การเปิดใจรับฟังกันและกัน ให้กำลังใจกัน จะทำให้เราคลายเหงาไปได้มาก
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate ทำ Group Line ให้ใจเชื่อมกัน
อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ พฤติกรรมใหม่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ช่วยทำให้ใครหลาย ๆ คน หันมาสร้างพื้นที่ออนไลน์ในการสานสัมพันธ์เพื่อส่งต่อความรักและความห่วงใยกันและกัน ผ่านสื่อออนไลน์ ทั้ง Line , Facebook ฯลฯ
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate เอาใจเราไปทายใจเขา
การติดตามข่าวสารทาง Social Media ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค บางครั้งมีทั้งข่าวจริงและข่าวลวง มีการชื่นชมและตำหนิการทำงานของแต่ละฝ่าย ดังนั้นเมื่อเราเห็นข้อความหรือเขียนข้อความใดก็ตาม เราต้อง “เอาใจของเราไปใส่ในใจเขา” ว่าเขาคิดอย่างไร เขาเขียนเพื่ออะไร แล้วถ้าเป็นเราล่ะเราจะรู้สึกอย่างไร นอกจากเราต้องมีภูมิคุ้มใจเราเองแล้ว เราต้องสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันด้วย
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect ขัดใจ ใช้ใจขัด
มนุษย์เราไม่ได้พบเจอแต่สิ่งที่พอใจเพียงอย่างเดียว ในบางครั้งเราอาจต้องเผชิญเหตุการณ์ที่สร้างปัญหาให้เรา ทำให้เรารู้สึกอึดอัด สับสัน และบีบคั่น จงกลับมาใคร่ครวญกับเหตุการณ์เหล่านั้น โดยการเขียนถึงเหตุการณ์ ความคิดต่อคนอื่น และความคิดต่อตัวเราในเหตุการณ์นั้น และท้ายสุดเรารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นั้น
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect เขียนบันทึกแบบน้ำไหล
การเขียน คือ การระบายความรู้สึกที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเรา กิจกรรมหมวด Reflect – ใคร่ครวญโลกภายใน ชวนให้เราเริ่มต้นเขียนเรื่องราวที่เราพบเจอมาว่าเรารู้สึกอย่างไร เขียนไปอย่างต่อเนื่องไม่ต้องหยุดครุ่นคิด จงเขียนเสมือนดั่งน้ำไหล ระบายออกมาจากส่วนลึกในใจ จากนั้นเมื่อหมดเรื่องเขียนจึงหยุดแล้วอ่านใคร่ครวญว่าเรารู้สึกอย่างไรบ้าง
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect วิธีเอาตัวเองออกจากความรู้สึกห่อเหี่ยว
เมนูภูมิคุ้มใจ ในช่วงวิกฤติโควิด 19 จะพาเราออกจากอารมณ์ห่อเหี่ยว หรือความคิดแง่ลบที่เกิดจากความวิตกกังวล ซึมเศร้า เมื่อต้องอยู่บ้านนาน ๆ หรือต้องเสพข่าวสารของโรคภัยที่น่ากลัว วิธีง่ายเมื่อใจหดหู่ ให้เราหันไปหาฟื้นฟูด้วยกิจกรรมทางกาย เมื่อกายได้ขยับ ใจก็จะคลายล็อก ลองหันมาออกกำลังกาย ขุดดินปลูกต้นไม้ ทำงานศิลปะ แล้วเราจะพบทางออกไปสู่ใจที่เบาสบายขึ้น
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect รู้ที่มา เห็นคุณค่า อาหารทุกมื้อ
นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้ลิ้มรสอาหารอย่างจริงจังเสียที ในแต่วันแต่ละมื้อที่ผ่านมาเรารีบเร่งกินอาหารเพื่อไปทำกิจกรรมหรือธุระอื่น ๆ ต่อมากมาย วันนี้ลองกินอาหารด้วยสติ ไม่ต้องรีบกิน ไม่ต้องรีบเคี้ยว ค่อยลิ้มรสอาหารในแต่ละคำด้วยสติ แล้วเราจะสัมผัสได้ถึงรสชาติของอาหารที่ทำให้เรา อิ่มท้องและอิ่มใจ
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect Little Good Things
ในแต่ละวันของเราเกิดเรื่องราว หรือ สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเราเสมอ เราลองมานั่งทบทวน ถึงสิ่งดีที่เกิดขึ้น 3 อย่างในแต่ละวันก่อนที่เราจะล้มตัวลงนอน เพื่อเป็นกำลังใจให้เราพบวันใหม่ที่ดีขึ้นอยู่เสมอ
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect ฟังข้างนอก เห็นข้างใน
ในแต่ละวันเราฟังเสียงต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกอย่างไร ฟังไปเรื่อย ๆ ฟังไปกังวลไป ฟังเรื่องที่ไม่ได้อย่างฟัง ฟังแล้วไม่ได้ดังใจ “เมนูภูมิคุ้มใจ” หมวด Reflect - ใคร่ครวญโลกภายใน ได้แนะการฟังข้างนอก เห็นข้างใน โดยลองอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเอง หลับตาแล้วฟังเสียงรอบข้างทั้งระยะใกล้และไกล ว่าเราได้ยินเสียงอะไรบ้าง แล้วเรารู้สึกอย่างไรกับเสียงเหล่านั้น