ครัวหลังเขา : หมูห่อใบกาแฟ(เมี่ยน)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชาวเมี่ยน ผ่านการนำเสนอเอกลักษณ์ของชนเผ่าโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโป่งป่าแขม อ.แม่จัน จ.เชียงราย ชนเผ่าเมี่ยนเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากประเทศจีน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่งดงาม นอกจากนี้ยังมีอาหารชนเผ่าเมนูเด็ดคือ หมูห่อใบกาแฟ ที่ประยุกต์เอาใบกาแฟที่เป็นพืชปลูกเลี้ยงชีพมาปรุงเป็นอาหารแสนอร่อย รับประทานกับผักต่าง ๆ เกิดเป็นความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของชุมชน
ครัวหลังเขา-ข้าวซอยน้อย(ลื้อ)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักอาหารประจำครอบครัวของชนเผ่าไทลื้อ ที่บ้างปางริมกรณ์ จ.เชียงราย กับเมนูอาหารทำง่ายแต่อร่อยและมีประโยชน์ที่ชื่อว่า "ข้าวซอยน้อย" คำว่าน้อยหมายถึงใช้ถาดเล็กในการทำ เหมาะสำหรับทำรับประทานในครอบครัว ข้าวซอยน้อยของชาวไทลื้อปรุงเป็นแผ่นแป้งสีขาวมีผักที่ชอบเป็นส่วนผสม นำไปผ่านกรรมวิธีการต้ม กินเป็นแผ่นร่วมกับเครื่องปรุงรสที่มาจากถั่วดิน เอร็ดอร่อยและสุขภาพดี
ครัวหลังเขา-แกงหน่อส้ม(ไทดำ)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้เครือข่ายสตรีไทดำ หรือที่หลายคนเรียกว่า ลาวโซ่ง ไททรงดำ ชนเผ่าที่อพยพมาจากเวียดนาม เข้ามาอยู่เมืองไทยกว่า 200 ปีแล้ว ชาวไทดำมีเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอาหาร ตัวอย่างเช่น เมนูแกงหน่อส้มหรือแกงหน่อไม้ดอง ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่ใช้สำหรับงานมงคลเท่านั้น แกงหน่อส้มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อร่อย ชาวไทดำใช้รับประทานทั่วไป หรือนำไปรับประทานในพิธีกรรม เช่น ประเพณีข้าวใหม่ หรือประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ของชนเผ่า
ครัวหลังเขา-ต้มไก่สมุนไพร(ม้ง)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชนเผ่าม้ง (ม้งขาว) ที่บ้านม้งแปดหลัง จ.เชียงราย พร้อมเมนูสาธิต "ต้มไก่สมุนไพร" ที่ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่อยู่คู่ทุกหลังคาเรือนของชนเผ่าม้งที่ปลูกไว้ทั้งใช้ทำอาหารและใช้เป็นยารักษาโรค นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุง โดยนำสมุนไพรใส่เข้าไปใส่ในไก่ดำ แล้วนำไปต้มเป็นเมนูอาหารใช้ดูแลสุขภาพ ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวม้งในการใช้อาหารดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน
ครัวหลังเขา-ห่อหมกสมุนไพร(ลาหู่)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้มารู้จักชาติพันธุ์ลาหู่ ที่อพยพผ่านดินแดนทิเบตและพม่าจนมาถึงประเทศไทย ชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่าและธรรมชาติ ชาวลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ในตอนนี้ที่เราจะไปรู้จักกันจะเป็นกลุ่มลาหู่แดงทั้งการแต่งกายและเมนูอาหารที่ใช้ในงานมงคลหรืองานปีใหม่ของชาวลาหู่ คือ "ส่าจ๊อย" หรือ "ห่อหมกสมุนไพร" มีพระเอกเป็นเปลือกมะกอกป่า รับประทานแล้วเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แก้ท้องอืด เจ็บคอ ทำให้เจริญอาหาร
ครัวหลังเขา : ห่อหมกใบตองอ่อน(อาข่า)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้ไปรู้จักชุมชนชาติพันธุ์อาข่าที่บ้านป่าเกี๊ยะ จ.เชียงราย ชนเผ่าอาข่าเป็นชนเผ่าที่อยู่กับป่า รักป่า ดูแลป่า อยู่กับธรรมชาติ วัตถุดิบการทำอาหารของชาวอาข่าส่วนใหญ่จึงเป็นพืชพรรณสมุนไพรที่อยู่ในป่า เช่น เมนูสาธิตวันนี้ "ห่อหมกใบตองอ่อน" ใช้ใบกล้วยอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญ เมนูนี้รับประทานในหน้าแล้ง (ถ้าไม่ใช่หน้าแล้งใบตองจะฝาด) และมักใช้รับประทานในพิธีแต่งงานซึ่งถือเป็นงานสำคัญของชาวอาข่า
ครัวหลังเขา ต้มขม(ลีซู)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้เป็นตอนแรก พาไปรู้จักชาติพันธุ์ลีซู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ รับประทานพืชผักสมุนไพรในอาหารเพื่อการดูแลสุขภาพ เมนูอาหารสาธิตในตอนนี้คือ "ต้มขม" มีวัตถุดิบเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่มีอยู่ในป่า พระเอกคือสมุนไพรที่ชื่อ "ดีงูหว้า" สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ปรับสมดุล เมื่อนำมาปรุงอาหารเป็นเมนู "ต้มขม" แล้ว จะนำไปรับประทานในพิธีเรียกขวัญหรือพิธีมงคลอื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
ครัวหลังเขา ลาบพริก(บีซู)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้มารู้จักชาวบีซู จ.เชียงราย คำว่า "บีซู" หมายถึงมนุษย์ที่แท้ อาศัยอยู่ที่ จ.เชียงรายแห่งเดียว ปัจจุบันยังคงวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเองอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น ทั้งการแต่งกาย ภาษา รวมถึงเมนูอาหารของชาวบีซู เช่น เมนูลาบพริก ที่ใช้วัตถุดิบมาจากพืชพรรณในท้องถิ่น เช่น พริก ขิง ยอดผักไผ่ ส้มป่อย ตะไคร้ ใบหอมแป้น(กุยช่าย) ฯลฯ เอกลักษณ์อยู่ที่วิธีการลาบหรือการสับ จะทำในกระบอกไม้ไผ่ เป็นเมนูอาหารสุขภาพที่มักรับประทานกันในมื้อกลางวันของครอบครัวหรือในงานเกี่ยวข้าวของชุมชน