พินิจพิษผัก โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลไม้ สวย สด ซ่อนพิษสุดสยอง อยากรู้ดูคลิปนี้ การสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่อง ปัญหาสารเคมีตกค้าง เพื่อกระตุกเตือนสังคมให้เห็นความน่ากลัวของการใช้สารเคมีการเกษตร และชี้ชวนให้หันมาบริโภคผักอินทรีย์ทดแทน
ของขวัญเปลี่ยนใหม่
จะดีกว่าไหม ถ้าเราลองหันมาเปลี่ยนของขวัญเดิม ๆ ที่คุ้นเคย ให้กลายเป็นของขวัญที่มีคุณค่าต่อผู้ได้รับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนสุราให้เป็นน้ำมันมะกอก เปลี่ยนผลไม้กระป่องให้เป็นผลไม้สดหรือผลไม้พื้นบ้าน หรือเปลี่ยนขนมคุกกี้ให้เป็นธัญพืชอบกรอบเคี้ยวเพลิน
มิกซ์แอนด์แมตช์ ผักผลไม้ให้ครบโดส
ในแต่ละวันเราควรจะต้องกินผักและผลไม้ให้ครบปริมาณ 400 กรัม จึงจะเพียงพอและเกิดผลดีต่อสุขภาพ เริ่มต้นง่าย ๆ อย่างน้อยเพียงกินผัก 3 อย่างกับผลไม้ 2 อย่าง สุขภาพก็ดี ร่างกายก็แข็งแรง
ผลไม้ที่คุณทานอ่อนหวานแค่ไหน
การรับประทานทุกอย่างต้องมีความพอดี แม้แต่การรับประทานผลไม้ก็เช่นกัน เพราะถ้ารับประทานมากเกินไป ความหวานในผลไม้อาจส่งผลให้เป็นโรคต่าง ๆ ทั้ง โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และฟันผุ ตัวอย่างเช่น มะม่วงสุก 1 ผล มีปริมาณน้ำตาล 3.56 ช้อนชา แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 2.17 ช้อนชา ทุเรียนกวน 16 คำ มีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 9.97 ช้อนชา
ส้มตำผลไม้รวม แซ่บยกสวน
ผลงานเมนูง่าย ๆ เพื่อสุขภาพปรุงรสโดย ทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorg เมนูส้มตำถือเป็นเมนูยอดฮิตเมื่อต้องการความแซ่บ ครั้งนี้ความแซ่บมาแบบยกสวนผลไม้ เพราะมีทั้งแอปเปิ้ล แก้วมังกร ข้าวโพดต้ม อะโวคาโด สับปะรด หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ปรุงรสด้วยน้ำปลา มะนาว น้ำเชื่อม กระเทียมสับ พริกขี้หนู คลุกเคล้าให้เข้ากัน โรยถั่วลิสง และมะเขือเทศสด แค่นี้ก็ได้อาหารสุขภาพ สดชื่น แคลอรี่น้อย ยอดฮิตติดใจทุกบ้านกันแล้ว
ไอติมโยเกิร์ตสับปะรด
คลายร้อนด้วยเมนูสดชื่นจากทีม greeney. Eat good. Live green ผลิตโดย greeneyorgไอติมโยเกิร์ตสับปะรด ที่วิธีทำนั้นแสนง่าย เพียงนำสับปะรดครึ่งลูกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับโยเกิร์ตและน้ำผึ้งเล็กน้อย นำไปปั่นจนเนื้อละเอียด เทใส่แม่พิมพ์ แช่แข็งประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นตักใส่ถ้วยพร้อมรับประทาน โรยหน้าด้วยสับปะรดสด ๆ แค่นี้ก็ได้ไอติมหวานเย็นเพื่อสุขภาพไว้รับประทานกันแล้ว
กินผักผลไม้เยอะๆ แต่ไม่รู้ต้องเยอะแค่ไหน
ในแต่ละวันเราต้องกินผักและผลไม้ให้ได้ 400 กรัมขึ้นไป โดยมีวิธีการคำนวณปริมาณการกินที่เหมาะสมคือ ในจานอาหารของเราต่อ 1 วัน ให้มีผัก 4-6 ส่วน ซึ่ง 1 ส่วนของผักเท่ากับ 1 ทัพพี ส่วนผลไม้ ให้มี 1-2 ส่วน โดยให้เป็นผลไม้ที่หลากหลาย ไม่ควรเป็นผลไม้รสหวานมาก 1 ส่วนของผลไม้ ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ องุ่น ให้มี 8-10 ลูก ถ้าเป็นกลุ่มกล้วย ส้ม แค่ 1 ลูกพอ ส่วนผลไม้ใหญ่ เช่น แตงโม มะละกอ สับปะรด ให้กิน 6-8 ชิ้น
ของกินหน้าโรงเรียน
หน้าโรงเรียนมักมีอาหารและขนมล่อใจเด็ก ๆ ลิ้มลองมากมาย ทั้งน้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารปิ้งย่างปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง อาหารทอดที่มีไขมันสูง ซึ่งถ้าเด็กบริโภคเป็นประจำอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมอาหารว่างที่พกพาสะดวกให้ลูก ๆ ไปทานที่โรงเรียน อาทิ ผลไม้ แซนด์วิช และนมกล่อง
กลุ่มอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน
ผลงาน กลุ่มอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้) ได้ลงพื่นที่วัดโพธิ์เรียง ซอยจรัญสนิทวงศ์ 18 จากการอบรมการเรียนรู้ทำ Mobile Journalism รู้เท่าทันสื่อและการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone สนับสนุนโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวานมันเค็มเพิ่มผักผลไม้) ปี 2
คลิปวีดีโอประมวลภาพโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”ประเทศไทยจัดเป็นเมืองอันดับต้นๆ ที่มีภาวะเด็กในวัยเรียนอ้วนในสัดส่วนที่สูงมาก ผลการวิจัยในปี 2558 ยังพบว่าเด็กในวัยเรียน 5 คน จะมีเด็กอ้วนอยู่ 1 คน และพบว่าอัตราของเด็กอ้วนจะอยู่ในเขตเมืองมากกว่าร้อยละ 20 -25 โดยสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กอ้วน คือ การกินอาหารรสชาติหวานมันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีการกินผักและผลไม้ ดังนั้น สสส. จึงริเริ่มทำโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน หันมาให้ความสำคัญในการปลูกฝัง ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กไม่อ้วน โดยหันมาดูแลสุขภาพที่ดีต่อไป
หนังสือเสียง เจ้าหมีนีโน่
นิทานสอนใจเด็ก ๆ เรื่องการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย เรื่องราวของ"นีโน่" หมีน้อยจอมขี้เกียจ ชอบนอนกินน้ำผึ้งแสนหวานที่ใต้ต้นไม้ เมื่อน้ำผึ้งหมด นีโน่ออกเดินทางจะไปหาน้ำผึ้งใหม่กิน พบเพื่อนๆ ทักทายให้ออกกำลังกาย และกินผักผลไม้บ้าง ฟันจะได้ไม่ผุ และไม่เป็นโรคอ้วน แต่นี่โน่ไม่ฟัง สุดท้ายเมื่อเจอกับดักนายพรานนีโน่ไม่สามารถหลุดพ้นได้ เพราะไม่มีแรงดิ้นและกัดเชือกได้ เพราะฟันผุและอ้วนเกินไป จนต้องรอให้เพื่อนๆ มาช่วยเหลือตนในที่สุด
เด็กดอยกินดี ตอน ขนมกรุบกรอบ
สื่อสารคดีจากโครงการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและชุมชนคนต้นน้ำ พื้นที่จังหวัดเชียงราย เนื้อเรื่องเชิญชวนเด็ก ๆ ให้สนุกกับการทำขนมกรุบกรอบที่สามารถทำกินเองได้ง่าย ๆ ในชุมชน เป็นขนมกรุบกรอบที่มีประโยชน์อย่าง กล้วยฉาบ ฟักทองฉาบ มันฉาบ ถ้าเราทำขนมกินเองได้ ก็จะอร่อย ปลอดภัย ปราศจากผงชูรสที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ