trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ชา" พบ 344 ข้อมูล

ครัวหลังเขา-แกงหน่อส้ม(ไทดำ)

รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้เครือข่ายสตรีไทดำ หรือที่หลายคนเรียกว่า ลาวโซ่ง ไททรงดำ ชนเผ่าที่อพยพมาจากเวียดนาม เข้ามาอยู่เมืองไทยกว่า 200 ปีแล้ว ชาวไทดำมีเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอาหาร ตัวอย่างเช่น เมนูแกงหน่อส้มหรือแกงหน่อไม้ดอง ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่ใช้สำหรับงานมงคลเท่านั้น แกงหน่อส้มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อร่อย ชาวไทดำใช้รับประทานทั่วไป หรือนำไปรับประทานในพิธีกรรม เช่น ประเพณีข้าวใหม่ หรือประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ของชนเผ่า

ครัวหลังเขา-ต้มไก่สมุนไพร(ม้ง)

รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชนเผ่าม้ง (ม้งขาว) ที่บ้านม้งแปดหลัง จ.เชียงราย พร้อมเมนูสาธิต "ต้มไก่สมุนไพร" ที่ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่อยู่คู่ทุกหลังคาเรือนของชนเผ่าม้งที่ปลูกไว้ทั้งใช้ทำอาหารและใช้เป็นยารักษาโรค นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุง โดยนำสมุนไพรใส่เข้าไปใส่ในไก่ดำ แล้วนำไปต้มเป็นเมนูอาหารใช้ดูแลสุขภาพ ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวม้งในการใช้อาหารดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน

ครัวหลังเขา-ห่อหมกสมุนไพร(ลาหู่)

รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้มารู้จักชาติพันธุ์ลาหู่ ที่อพยพผ่านดินแดนทิเบตและพม่าจนมาถึงประเทศไทย ชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่าและธรรมชาติ ชาวลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ในตอนนี้ที่เราจะไปรู้จักกันจะเป็นกลุ่มลาหู่แดงทั้งการแต่งกายและเมนูอาหารที่ใช้ในงานมงคลหรืองานปีใหม่ของชาวลาหู่ คือ "ส่าจ๊อย" หรือ "ห่อหมกสมุนไพร" มีพระเอกเป็นเปลือกมะกอกป่า รับประทานแล้วเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แก้ท้องอืด เจ็บคอ ทำให้เจริญอาหาร 

ครัวหลังเขา : ห่อหมกใบตองอ่อน(อาข่า)

รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้ไปรู้จักชุมชนชาติพันธุ์อาข่าที่บ้านป่าเกี๊ยะ จ.เชียงราย ชนเผ่าอาข่าเป็นชนเผ่าที่อยู่กับป่า รักป่า ดูแลป่า อยู่กับธรรมชาติ วัตถุดิบการทำอาหารของชาวอาข่าส่วนใหญ่จึงเป็นพืชพรรณสมุนไพรที่อยู่ในป่า เช่น เมนูสาธิตวันนี้ "ห่อหมกใบตองอ่อน" ใช้ใบกล้วยอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญ เมนูนี้รับประทานในหน้าแล้ง (ถ้าไม่ใช่หน้าแล้งใบตองจะฝาด) และมักใช้รับประทานในพิธีแต่งงานซึ่งถือเป็นงานสำคัญของชาวอาข่า 

การสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว

ข้อมูลสถิติการสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 40 สถานี ระบบเอเอ็ม จำนวน 36 สถานี จำแนกตารางผลสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายและจำแนกตามรายสถานี (แสดงเวลาการออกอากาศรายการเป็นนาทีต่อสัปดาห์)

งานวิจัยเกี่ยวกับวิทยุเพื่อเด็กและเยาวชน

บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของแผนภาพและข้อสรุปที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต

รายงานการวิจัยสถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย

บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต

เพลงพี่สาวครับ โดยเยาวชนกลุ่มรักน้องเบล

คลิปวิดีโอการร้องเพลงและแสดงดนตรีเพลง "พี่สาวครับ" จากเยาวชนกลุ่ม "รักน้องเบล" ซึ่งเป็น 1 ในเยาวชนจากโครงการปิ๊งส์ เด็กเฮ้ว ปี 2 ประเด็นอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา โดยในคลิปวิดีโอนี้ เยาวชนกลุ่มรักน้องเบล ได้ขึ้นแสดงความสามารถเพื่อส่งกำลังใจไปชายแดนใต้ ในคอนเสิร์ต 10 ปีคลื่นความคิด 96.5 mhz. ห่วงใยชายแดนใต้#3

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม 

กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3

สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลเจาะลึกการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) โดยแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เรียนรู้รายละเอียดของพลเมืองแต่ละแบบผ่านแนวคิดหลัก แนวปฏิบัติ และตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.