A2O - Q and A 4.หัวใจสำคัญของ บอร์ดเกม A2O
::: หัวใจสำคัญในการเดินทางสู่หนี่งเดียวกัน ::: A2O ได้ถูกออกแบบอย่างใส่ใจเพื่อเป็นพื้นที่พิเศษ เปิดโอกาสให้ผู้เล่นทุกคนได้ร่วมสำรวจ ใคร่ครวญและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เส้นทางการเดินทางภายใน ผ่านการทบทวนความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์ของคุณ โดยไม่เน้นการเล่นเพื่อผลเเพ้ชนะ ดังนั้น การเปิดใจ การใคร่ครวญตนเอง และการรับฟังเพื่อนผู้เล่นเกมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
A2O - Q and A 3.ความแตกต่างของ บอร์ดเกม A2O กับ หนังสือหัวใจตื่นรู้
จากหนังสือหัวใจตื่นรู้ พัฒนาสู่บอร์ดเกม A2O : AWAKE TO ONENESS ความแตกต่างที่ลงตัว การอ่านหนังสือทำให้เราได้เรียนรู้การเดินทางของผู้อื่น เก็บเกี่ยวประสบการการตื่นรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น แต่การที่เราได้เล่นบอร์ดเกม เสมือนเราได้อ่านชีวิตตนเอง ได้เรียนรู้ความรู้สึกภายในของตนเองผ่านการเล่นบอร์ดเกมนั้น
A2O - Q and A 2.ที่มาของบอร์ดเกม
::: ก่อนจะเป็นบอร์ดเกมเพื่อการตื่นรู้ ::: เกม A2O – Awake to Oneness : ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน ได้แรงบันดาลใจและพัฒนาต่อยอดจากหนังสือ หัวใจตื่นรู้ New Heart New World 3 - Guidebook 7 ลำดับขั้นเพื่อการตื่นรู้สู่ความสุขที่แท้จริง (ธรากร กมลเปรมปิยะกุล และณัฐนภ ตระกลธนภาส เขียน) ซึ่งเรียบเรียงจากประสบการณ์ตื่นรู้ของผู้แบ่งปันในโครงการ New Heart New World – โลกเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง และศาสตร์ความรู้เรื่องจิตวิญญาณสากลต่างๆ นำมาสังเคราะห์และนำเสนอเป็นองค์ความรู้ 4 ภาค 7 ขั้นตอนสู่การตื่นรู้ เป็นองค์ความรู้เรื่องการตื่นรู้ที่เป็นรูปธรรมสากล เข้าใจง่ายและปฏิบัติตามได้จริง ปัจจุบันหนังสือหัวใจตื่นรู้ได้รับการพิมพ์เป็นครั้งที่ 2 โดย Sook Publishing by สสส
A2O Q and A เสียงสะท้อนจากผู้เล่น
A2O บอร์ดเกม AWAKE TO ONENESS ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน เป็นบอร์ดเกม เพื่อเปิดพื้นที่การรับฟัง มีการตั้งคำถาม การสะท้อนความรู้สึกจากภายใน โดยมีผู้รับฟังแบบไม่ตัดสิน ไม่มีถูกไม่มีผิด ไม่มีแพ้ไม่มีชนะ ทุกอย่างล้วนเพื่อการตื่นรู้เป็นหนึ่งเดียวกัน
A2O - บอร์ดเกม Awake to Oneness (V.1)
บอร์ดเกมเพื่อการตื่นรู้เกมแรกของไทย A2O – Awake To Oneness : ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่พิเศษให้คุณได้โอกาสเรียนรู้และสำรวจทบทวนการเดินทางภายใน ผ่านความคิด ความรู้สึกและประสบการณ์จริง ได้ร่วมเรียนรู้ แบ่งปัน ความเข้าใจเรื่องการตื่นรู้ผ่านการเล่นบอร์ดเกม
10 ประเภทของ Fake News
ในยุคการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล ข่าวสารมีอยู่มากมายการไล่ทะลักของข่าวจำนวนมาก ย่อมแฝงมาด้วยข่าวลวง (Fake news) โดยเราพอจะจำแนกข่าวลวงได้ 10 ประเภท คือ ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก, โฆษณาชวนเชื่อ, ข่าวแฝงการโฆษณา จะมีการ Tie In โฆษณาในเนื้อข่าว, ข่าวล้อเลียนและเสียดสี, ข่าวที่ผิดพลาด, ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง, ทฤษฎีสมคบคิด, ข่าววิทยาศาสตร์ลวงโลก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ, ข่าวลือ และสุดท้ายข่าวหลอกลวง เป็นการแอบอ้างหรือปลอมเป็นแหล่งข่าวนั้นเสียเอง
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ
สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่
5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง
รวมไอเดียเล่นกับลูก
การที่พ่อแม่อยู่กับลูก ๆ ที่บ้าน เป็นโอกาสทองที่วิเศษ ในการทำกิจกรรมด้วยกัน หรือ “การเล่นกับลูก” เพื่อเสริมสร้างความฉลาดให้กับลูก ๆ เริ่มตั้งแต่การจัดหามุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ, การเล่นแบบอิสระกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งการเล่นดิน เล่นทราย, การเล่นต่อคำ ต่อประโยคต่อเพลง หรือการฝึกบวกเลขทะเบียนรถยนต์ ก็เป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวปีกป่ายออกกำลังกายหรือการอ่านหนังสือ
เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี
เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่ และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่ เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19 การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน
นอนหลับสบายจัง
“การนอน” กิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการดูแลเด็กเล็ก การนอนหลับอย่างมีความสุขและมีคุณภาพ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และฮอร์โมนการเจริญเติบโต ช่วยเรื่องการสร้างเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการของสมองและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ