เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect ขัดใจ ใช้ใจขัด
มนุษย์เราไม่ได้พบเจอแต่สิ่งที่พอใจเพียงอย่างเดียว ในบางครั้งเราอาจต้องเผชิญเหตุการณ์ที่สร้างปัญหาให้เรา ทำให้เรารู้สึกอึดอัด สับสัน และบีบคั่น จงกลับมาใคร่ครวญกับเหตุการณ์เหล่านั้น โดยการเขียนถึงเหตุการณ์ ความคิดต่อคนอื่น และความคิดต่อตัวเราในเหตุการณ์นั้น และท้ายสุดเรารู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์นั้น
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect เขียนบันทึกแบบน้ำไหล
การเขียน คือ การระบายความรู้สึกที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเรา กิจกรรมหมวด Reflect – ใคร่ครวญโลกภายใน ชวนให้เราเริ่มต้นเขียนเรื่องราวที่เราพบเจอมาว่าเรารู้สึกอย่างไร เขียนไปอย่างต่อเนื่องไม่ต้องหยุดครุ่นคิด จงเขียนเสมือนดั่งน้ำไหล ระบายออกมาจากส่วนลึกในใจ จากนั้นเมื่อหมดเรื่องเขียนจึงหยุดแล้วอ่านใคร่ครวญว่าเรารู้สึกอย่างไรบ้าง
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect วิธีเอาตัวเองออกจากความรู้สึกห่อเหี่ยว
เมนูภูมิคุ้มใจ ในช่วงวิกฤติโควิด 19 จะพาเราออกจากอารมณ์ห่อเหี่ยว หรือความคิดแง่ลบที่เกิดจากความวิตกกังวล ซึมเศร้า เมื่อต้องอยู่บ้านนาน ๆ หรือต้องเสพข่าวสารของโรคภัยที่น่ากลัว วิธีง่ายเมื่อใจหดหู่ ให้เราหันไปหาฟื้นฟูด้วยกิจกรรมทางกาย เมื่อกายได้ขยับ ใจก็จะคลายล็อก ลองหันมาออกกำลังกาย ขุดดินปลูกต้นไม้ ทำงานศิลปะ แล้วเราจะพบทางออกไปสู่ใจที่เบาสบายขึ้น
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect รู้ที่มา เห็นคุณค่า อาหารทุกมื้อ
นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้ลิ้มรสอาหารอย่างจริงจังเสียที ในแต่วันแต่ละมื้อที่ผ่านมาเรารีบเร่งกินอาหารเพื่อไปทำกิจกรรมหรือธุระอื่น ๆ ต่อมากมาย วันนี้ลองกินอาหารด้วยสติ ไม่ต้องรีบกิน ไม่ต้องรีบเคี้ยว ค่อยลิ้มรสอาหารในแต่ละคำด้วยสติ แล้วเราจะสัมผัสได้ถึงรสชาติของอาหารที่ทำให้เรา อิ่มท้องและอิ่มใจ
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect Little Good Things
ในแต่ละวันของเราเกิดเรื่องราว หรือ สิ่งดี ๆ เกิดขึ้นกับเราเสมอ เราลองมานั่งทบทวน ถึงสิ่งดีที่เกิดขึ้น 3 อย่างในแต่ละวันก่อนที่เราจะล้มตัวลงนอน เพื่อเป็นกำลังใจให้เราพบวันใหม่ที่ดีขึ้นอยู่เสมอ
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Reflect ฟังข้างนอก เห็นข้างใน
ในแต่ละวันเราฟังเสียงต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกอย่างไร ฟังไปเรื่อย ๆ ฟังไปกังวลไป ฟังเรื่องที่ไม่ได้อย่างฟัง ฟังแล้วไม่ได้ดังใจ “เมนูภูมิคุ้มใจ” หมวด Reflect - ใคร่ครวญโลกภายใน ได้แนะการฟังข้างนอก เห็นข้างใน โดยลองอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเอง หลับตาแล้วฟังเสียงรอบข้างทั้งระยะใกล้และไกล ว่าเราได้ยินเสียงอะไรบ้าง แล้วเรารู้สึกอย่างไรกับเสียงเหล่านั้น
อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2560
ในชีวิตของแต่ละคนไม่มีใครหลีกพ้นความตายไปได้ เราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ อย่างไร การพูดถึงเรื่องตายไม่ใช่เป็นการแช่งตนเอง แต่เป็นการตระเตรียมเส้นทางที่จะเดินทางไปโลกหน้าไม่วันใดก็วันใด ด้วยสติ สุข และสงบ ที่เขาเรียกว่า การตายอย่างมีคุณภาพ บทเรียนจากผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้สุญเสีย ได้สะท้อนให้เราย้อนคิด ให้เราทุกคนมีอนุสติ หรือการตามความระลึกในเรื่องนี้อย่างไม่ประมาท เพราะเราไม่รู้เลยว่าเส้นทางบนโลกใบนี้ของเราจะจบลงเมื่อไหร่
อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2559
“บางครั้งความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ก็เป็นความจริงที่สามารถพาเราออกจากทุกข์ได้ เมื่อเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง” พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวไว้ เมื่อถอดบทเรียนการสูญเสียเสาหลัก และศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งประเทศและทั่วโลก ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คนไทยได้เรียนรู้ข้อคิดจากคุณงามความดีของพระองค์เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป