The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูชีวัน วิสาสะ
จนถึงตอนนี้ สถานการณ์วิกฤตโควิด19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเพราะไวรัสมีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์ของโรคระบาดโควิด19 มีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้การรักษาโรคยากขึ้นไปอีก การจะสื่อสารและอธิบายกับเด็กให้พวกเขาเข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคระบาดและเห็นถึงความสำคัญของการตั้งการ์ดป้องกันตัวเองจากโรคร้าย ด้วยคำพูดจากผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอ The Reading อ่านสร้างสุข คลิปวิดีโอ การใช้นิทานภาพเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารโน้มน้าวและอธิบายให้แก่เด็กๆ เข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคโควิด19 โดยนิทานภาพจะทำให้พวกเขาเห็นภาพและเกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์มากขึ้น พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการป้องกันและดูแลตัวเองในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด19 ได้อย่างสร้างสรรค์
ภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้
ภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ เป็นผลผลิตจากแนวคิดของ 6 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา สนับสนุนโดย สสส. มีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนให้คนไทยสามารถปรับตัวรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ปรับตัวอยู่กับวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการทำกิจกรรมช่วยเพิ่มความสุขใน 4 มิติ โดยนำเสนอกิจกรรมที่สามารถเติมความสุขและสติให้กับใจได้ต่อเนื่อง 14 วัน
3 ข้อดีของโควิด-19 จากพระไพศาล วิสาโล
บทสนทนาตอบข้อสงสัยของทางโลกด้วยทางธรรมระหว่าง ธนญชัย ศรศรีวิชัย หรือ ต่อ ฟีโนมีน่า ผู้กำกับหนังชื่อดัง กับพระไพศาล วิสาโล เพื่อส่งต่อข้อคิดดีๆ ให้แก่สังคมไทยในวันที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์อันวิกฤตที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง เรื่องโอกาสในการเรียนรู้..การยอมรับความจริง โอกาสในการเรียนรู้การมีสติและโอกาสแสดงความเอื้อเฟื้อ..ให้แก่กันและกัน เพื่อให้เราดำรงชีวิตในช่วงวิกฤติของโรคระบาดได้อย่างเท่าทันและมีความตระหนักรู้
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP4 ลงตัวกับความกลัว
ความกลัว เป็นอารมณ์แรก ๆ ของมนุษย์เรา ความกลัวมีรากฐานมาจากความไม่มั่นคงภายในใจ การจัดการกับความกลัว คือการทำอย่างไรที่เราจะมีความรู้สึกมั่นคงภายใต้ความกลัวที่ยังอยู่ โดยให้ความกลัวเป็นสิ่งเร้าที่มาจากภายนอก แต่ภายในใจของเราแข็งแกร่งมากขึ้น ...เราไม่ต้องพยายามที่จะขจัดความกลัวนั้นออกไป ในทางตรงกันข้ามให้เรายอมรับความกลัวที่มีอยู่ และมีสติที่จะจัดการกับความกลัวนั้นอย่างเข้าใจ
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP3 ลงตัวกับความเศร้า
ความเศร้าเป็นตระกูลเดียวกับความโกธร ที่เริ่มต้นจากความไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์รอบตัว หรือตัวเอง จนท้ายที่สุดก็จะมานั่งโทษตัวเอง ลดคุณค่าในตัวเอง การทำให้เราหลุดจากความเศร้า ต้องใช้การเคลื่อนไหว หรือ การเปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนบรรยากาศ หรือเปลี่ยนอารมณ์ ก็จะทำให้เราหลุดจากอารมร์เศร้าที่ครอบงำได้
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP2 ลงตัวกับความเครียด
“ความเครียด” เป็นสัญญาณให้เราระมัดระวังเพื่อเตรียมการณ์อะไรบางอย่าง แต่ว่าความเครียดกลายเป็นสาเหตุที่บั่นทอนจิตใจและร่างกายของคนเรา เพราะเราไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจ ความลังเล และความวิตกกังวล แท้จริงแล้วความเครียดจะหายไปได้เมื่อหมดเหตุ หรือปล่อยวางไม่จดจ่อกับความเครียดนั้น ๆ ให้นำ “ความสบายใจมาดูแลความเครียด” นั่นเอง
สุขสัญจรออนไลน์ อยู่อย่างไรให้ชีวิตลงตัว EP1 ลงตัวกับความโกรธ
เวลาคนเราโกธร การให้นับ 1 ถึง 10 แล้วนิ่งไว้ เป็นคำสอนที่ไม่ผิดอะไร แต่การห้ามความโกธรนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำหรือ ? เราควรรู้วิธีเรียนรู้และยอมรับความโกธรนั้นด้วยการฝึกเดินทางสายกลาง ด้วยกระบวนการ Learning Process เรามีหน้าที่ฝึกการมี “สติ” รู้ทันเท่าความโกธร สามารถควบคุม และหาสาเหตุ ยอมรับมัน และปล่อยวางลง และมี “ปัญญา” ซึ่งจะบอกเราว่าควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรให้สอดคล้องกับกาลเทศะ
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP4 New Normal คือวิถีภายในซึ่งเป็นชีวิตวิถีใหม่
เมื่อสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในเรื่องการระบาดของโรคอุบัติใหม่อย่าง โควิด 19 ความปกติใหม่ของการดูแลใจ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ New Normal คือการพัฒนาเพื่อให้จิตใจเราสามารถอยู่อย่างเป็นปกติได้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ ไม่หลงใหลไปกับความกลัว ความกังวล ความเผลอเพลิน ความคึกคะนองต่าง ๆ ที่จริงแล้วทุกคนล้วนต่างต้องการมีความสุข การจะ มีความสุขได้ก็ด้วยการพาให้ใจกลับมามีความมั่นคงก่อน คือมั่นคงต่อสิ่งที่มากระทบ
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP3 ยิ่งต่อต้านยิ่งคงอยู่
รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา กล่าวว่า ตามหลักทางจิตเวช เมื่อพบผู้ป่วยที่ทุกข์จากการต้องเผชิญวิกฤตการณ์ในชีวิต แพทย์จะไม่ทำแค่ให้ผู้ป่วยคนนั้นพ้นวิกฤตเท่านั้น แต่จะพิจารณาว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้คนคนนั้นได้เติบโตด้วย เพื่อให้มีการพัฒนาทักษะหรือจุดบกพร่องที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนให้สามารถเผชิญกับวิกฤตการณ์อื่นที่อาจพบในอนาคต นั่นคือ “การเติบโตจากภาวะวิกฤต”