trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "แผน" พบ 495 ข้อมูล

คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข

คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ  เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี  

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562

ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story  กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม  เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง  ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน”  นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน

วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท

แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์

นพลักษณ์ คือศาสตร์แห่งการเข้าถึงตนเอง โดยพระสันติกโร พระภิกษุชาวอเมริกัน นำมาเผยแพร่ที่เมืองไทย นพลักษณ์ จะกล่าวถึงคุณลักษณะของคนทั้ง 9 ลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ละลักษณ์มีศักยภาพและจุดอ่อนในตัวเอง ถ้าเรารู้ทันตัวเรา และดึงศักยภาพนั้นมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งถ้าเราตระหนักรู้ ก็จะสามารถดูแลจุดอ่อนของเราไม่ให้เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่น นพลักษณ์จึงเปรียบเสมือนแผนที่ของชีวิตที่ทำหเราเข้าใจตนเองมากขึ้น และเห็นใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ความปลอดภัยทางน้ำ

นิทาน “ความปลอดภัยทางน้ำ”  เล่าถึงวิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัยทางน้ำ โดยเด็กทุกคนจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการว่ายน้ำให้แข็งแรง รู้ถึงวิธีการลอยตัวในน้ำเพื่อรอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่  รวมทั้งเมื่อพบเพื่อนจมน้ำ ไม่ควรกระโดดลงน้ำไปช่วยเอง  ควร” ตะโกน- ขอความช่วยเหลือ , โยน – วัสดุหรือสิ่งของที่ลอยน้ำได้ให้คนจมน้ำเกาะลอยตัว, ยื่น – ยื่นวัสดุที่ยาวลงน้ำให้จับเพื่อดึงคนจมน้ำเข้าหาฝั่งอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังนำเสนอการดูแลตนเองและทรัพย์สินเมื่อเกิกดเหตุน้ำท่วมหรืออุทกภัยอีกด้วย

อานีสเป็นหัด

นิทาน “อานีสเป็นหัด” เล่าเรื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคหัด ที่มักพบในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชนที่มีคนอยู่หน่าแน่น  โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัส แพร่ระบาดได้ง่ายด้วยการไอ จาม หรือการพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด อาการของโรคหัดเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด มีไข้มีน้ำมูก ไอแห้ง ๆ และเริ่มมีผื่นนูนแดง การป้องกันโรคหัดที่ได้ผล  คือการเด็กไปรับวัคซีน 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 เดือน และ 2 ปีครึ่ง ตามสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ  

คู่มือพ่อแม่ พัฒนาลูกน้อยด้วยหนังสือ ลูกรักกับหนังสือเล่มแรก

“หนังสือ” สิ่งมหัศจรรย์ที่ลึกซึ้ง พ่อแม่สามารถส่งมอบให้ลูกได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ การเลือกสรรหนังสือเล่มแรกเพื่ออ่านให้ลูกฟังเมื่ออยู่ในท้อง จะสร้างสายสัมพันธ์อันดีสุดแสนอบอุ่น  และเมื่อลูกคลอดลืมตาดูโลก  เสียงที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังจะเสริมและพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกได้อย่างวิเศษ  เมื่อลูกเติบโตการที่พ่อแม่อ่านหนังสือพร้อมกับลูกจะเป็นการบ่มเพาะการเรียนรู้ที่ดี ช่วยเสริมสุขภาวะทางปัญญา ทางสมองได้เป็นอย่างดี

หนังสืออยากมีเพื่อน (ภาษามลายู)

นิทานหนังสืออยากมีเพื่อน นิทานเปรียบเทียบบอกเล่าเรื่องราวหนังสือเล่มน้อยที่ถูกลืม และทิ้งไว้ที่ชายหาด จนกลายเป็นหนังสือที่ชำรุดและฉีกขาด จนกระทั่งวันหนึ่งมีเด็กน้อยมาเก็บไปซ่อมแซม และเริ่มเป็นเพื่อนกันและกัน ถักทอดมิตรภาพผ่านตัวหนังสือตัวแล้วตัวเล่าจนเป็นนักอ่านตัวยง

ปิดไฟหน่อยนะ (ภาษามลายู)

ปิดไฟหน่อยนะ เป็นหนังสือนิทานเพื่อเด็กปฐมวัย แนะนำเรื่องการปิดไฟเพื่อเตรียมตัวเข้านอน สอดแทรกความรักและห่วงใยที่พ่อแม่จะอยู่ดูแลลูกน้อยแม้ยามค่ำคืนที่มืดมิด เพื่อสร้างเสริมความั่งคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก ๆ

ของหาย (ภาษามลายู)

นิทานของหาย เป็นหนังสือภาพที่ไม่ตัวหนังสือ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เห็นจากภาพ เพื่อเกิดการลำดับการเล่าเรื่องราว โดยการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู ก่อนการอ่าน ระหว่างการอ่าน และหลังการอ่าน เพื่อเพิ่มคลังคำศัพท์ให้เด็ก ๆ จากการเล่าเรื่องราวจากภาพในนิทานจนสามารถอ่านหนังสือได้ด้วยตนเอง

ผจญภัยในป่าฮาลาบาลา

นิทานผจญภัยในป่าฮาลาบาลา เรื่องราวของสองพี่น้องต๋องและแตง ที่ร่วมกันผจญภัยในป่าเพื่อตามหาพ่อแม่และทางออกในการกลับบ้าน เป็นชุดนิทานเพื่อใช้เสริมสร้างทักษะพื้นฐานการแยกแยะเสียง และทักษะการบอกสีด้วยความเร็ว นับเป็นหนังสือนิทานที่เหมาะกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง  และครูอาจารย์เพื่อปลูกฝังทักษะรักการอ่านให้เด็ก ๆ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.