ภัยอันตรายจากน้ำดื่ม
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์และเทคนิคการสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลือกศึกษาการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟซบุ๊ก ของแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุดในช่วงหลักพันล้านบาทถึงหลักล้านบาท และเป็นแบรนด์ที่มีเพจจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไปโดยมีความเคลื่อนไหวอัพเดทสถานเนื้อหาและข้อความตลอดระยะเวลาการศึกษา ทั้งนี้ระยะเวลาการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันสำคัญทางศาสนาและการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และช่วงเหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนในการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในสังคม
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ลูกผู้ชายตัวปลอม
การ์ตูนไทยสะท้อนภาพเรื่องราวของการรู้ไม่ทันสื่อโฆษณา ผ่านเรื่องราวของน้าหลานคู่หนึ่ง ที่น้าชายเป็นพรีเซ็นเตอร์หนังโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง สร้างความประทับใจให้กับเคโต้หลานชาย ถึงกับกระโดดเลียนแบบเพราะอย่างเป็นลูกผู้ชายตัวจริงแบบน้าชาย แต่สุดท้ายเคโต้ก็พบคำตอบว่า การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังไม่ใช่ทำให้เราเก่งกาจ หาญกล้าอย่างในหนังโฆษณา เพราะนั้นเป็นเพียงเรื่องสมมติเท่านั้น
เรียนรู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน เครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคิวเทน หรือ “โคเอนไซม์คิวเทน” ไม่ได้ช่วยต้านอนุมูลอิสระจริง เพราะสารนี้มีความไวต่อแสงมาก เมื่อมาบรรจุที่ขวด ผ่านการขนส่ง อาจจะกลายเป็น “น้ำเปล่า” ไปแล้ว การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่แท้จริง
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน เปปไทด์ อร่อยๆ
เปปไทด์ คืออนุพันธุ์ย่อยสุดของโปรตีน เป็นสารอาหารที่มีสรรพคุณ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดความดันโลหิตสูง และมีผลสร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงสมอง ทำให้เครื่องดื่มบำรุงสมองบางรายนำไปแอบอ้างว่ามีเปปไทด์ในเครื่องดื่ม แท้จริงเปปไทด์มีอยู่ในโปรตีนของ “ถั่วเหลือง” ถึง 40% ฉะนั้นถ้าต้องการเปปไทด์ เพียงกินอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง หาซื้อได้ง่าย และราคาไม่แพง
รู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน เครื่องดื่มเผาผลาญพลังงาน
การโฆษณาเครื่องดื่มสำหรับผู้ออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนัก มักบอกข้อดีว่ามีสารแอล-คาร์นีทีน ช่วยเร่งระบบเผาผลาญของร่างกาย ทำหน้าที่เปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน แท้จริงในเครื่องดื่มมีเพียง 0.04 – 0.7 % เท่านั้น คนที่รักสุขภาพจริงเพียงรับประทานอาหารพวก เนื้อแดง นม อะโวคาโด ผักใบเขียว ถั่ว และธัญพืชต่างๆ ร่างกายก็จะได้รับสารแอล-คาร์นีทีนเพียงพอแล้ว
การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก
ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ