อยากมีความสุข เริ่มต้นจากที่ไหน
หลายคนวิ่งไล่ล่าหาความสุข โดยไม่รู้เลยว่าความสุขมันเกิดขึ้นจากภายในตัวเรานั่นเอง “ตัวตลก” ผู้ทำหน้าที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้ผู้อื่น ทำไม ??? เขาจึงไม่มีความสุข เพราะเขายึดโยง ผูกติด และคาดหวังความสุขจากผู้อื่นที่หยิบยื่นให้ด้วยความชื่นชม หรือเสียงหัวเราะ แท้จริงแล้ว...”ความสุขอยู่ที่นี่เอง” ที่ภายในจิตใจของเราเอง เราสามารถสัมผัสความสุขด้วยปัญญา และการทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม สุขง่ายๆ กับสิ่งรอบตัวด้วยตนเอง ไม่ต้องไปคาดหวังความสุขจากผู้อื่น หรือออกตามหาความสุขที่ไม่จีรัง
อยู่กับอารมณ์
วิดีโอคลิปที่แนะนำเรื่องการรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเราและทำความเข้าใจยอมรับ เพราะในวันแต่ละวันเราต้องเผชิญกับหลายสถานะการณ์ที่มากระทบจิตใจของเรา ทั้งสุข เศร้า ผิดหวัง โกรธ ลังเล เราไม่จำเป็นต้องปิดกั้นอารมณ์ แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจและอยู่กับมันให้ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต ที่จะทำให้เราเติบโต หลายความรู้สึกจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของชีวิตทั้งตัวเราและผู้อื่นมากขึ้น
วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย
หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ
วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี
ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว
เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน
บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ
ก่อการครู โมดูล 1 ครูคือมนุษย์
ก่อนที่การเรียนการสอนของครูจะสร้างพลังในการเรียนรู้ให้กับเด็ก “ครู” ต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงของครูก่อน ว่าครูคือมนุษย์ ตระหนักในคุณค่าความเป็นครู ขณะเดียวกันครูก็ต้องเปิดใจยอมรับในศักยภาพ และความแตกต่างของเด็ก ซึ่งในความแตกต่างอาจเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ครูต้องไม่ด่วนตัดสินเด็ก ครูจะต้องเปิดใจ เปิดหู เปิดตา ในการรับฟังเด็กด้วยหัวใจ จากนั้นระบบการศึกษาก็จะเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการและบังคับอีกต่อไป
เข้าใจวัคซีนผิดๆ ทำเด็กป่วย
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกังวลเรื่องการฉัดวัคซีนให้ลูก เรามาทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนกันเถอะ วัคซีนแม้จะทำจากไวรัสและแบคทีเรีย แต่ก็ไม่ได้เป็นพิษ กลับเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนไม่ได้ก่อให้เกิดโรคออทิสติก หรือทำให้เป็นหมัน มีบุตรยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่นำลูกไปรับวัคซีนตามวัย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ได้
พ่อนกในป่าใหญ่
เรื่องเล่าของพ่อนกเงือกที่เฝ้าดูแลและหาอาหารมาเลี้ยงดูแม่และลูกนกที่รัง ณ โพรงไม้ใหญ่ จนมาวันหนึ่งถูกนายพรานใจร้ายยิง แต่โชคดีรอดกลับรังได้อย่างปลอดภัย นิทานเรื่องนี้ทำให้เด็กเรียนรู้ความรู้สึกเห็นใจ เข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของทุกชีวิตบนโลกใบนี้
ใจดีสู้สื่อ กลุ่มหลากหลายทางเพศ 19Apr13
ใจดีสู้สื่อ ตอน กลุ่มหลากหลายทางเพศ เรื่องราวในตอนนี้พาไปถอดค่านิยมความหมายที่สื่อสร้างให้กับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ จนทำให้คนดูที่ไม่รู้เท่าทันเกิดความเข้าใจผิด เข้าใจคลาดเคลื่อน ส่งผลต่อความเชื่อและทัศนคติต่อคนกลุ่มนี้ เกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย จำเป็นที่เราต้องเรียนรู้ เข้าใจ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและการยอมรับในความหลากหลายทางเพศได้อย่างแท้จริง