รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี
การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม
ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง
เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
การสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์และเทคนิคการสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลือกศึกษาการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟซบุ๊ก ของแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุดในช่วงหลักพันล้านบาทถึงหลักล้านบาท และเป็นแบรนด์ที่มีเพจจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไปโดยมีความเคลื่อนไหวอัพเดทสถานเนื้อหาและข้อความตลอดระยะเวลาการศึกษา ทั้งนี้ระยะเวลาการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันสำคัญทางศาสนาและการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และช่วงเหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนในการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในสังคม
จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดช่องและรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง หนึ่งในกลยุทธ์ที่รายการนำมาใช้คือการสอดแทรกเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ หยาบโลน เพื่อเป็นจุดขายให้รายการกลายเป็นที่นิยม มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษาประเด็น "เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินขึ้น" เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเนื้อหาเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ในเนื้อหาทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา โดยศึกษาเชื่อมโยงกับความคิดเห็นของสังคมในโลกออนไลน์ทาง Facebook, Youtube, Pantip ทั้งนี้เพื่อสะท้อนผลกระทบทั้งในแง่ทัศนคติและค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม