วิชาชีวิต บทที่ 6 Living will หนังสือแสดงเจตนา - ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ และ รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช
สถานการณ์การดูแลรักษาอาการป่วยเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดทุกช่วงอาการ เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายไม่สามารถสื่อสารถึงความต้องการคนตนเองได้ เอกสารที่บอกถึงความต้องการการดูแลในระยะท้ายจนกระทั่งเสียชีวิต ทั้งทางร่างและจิตใจเป็นเรื่องที่จะช่วยให้แพทย์และญาติทราบถึงแนวทางและเป้าหมายการดูแล โดยทุกคนสามารถทำหนังสือ Living will ไว้ได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วย แต่จะมีผลเมื่อ ชีวิตเข้าสู่ระยะท้าย Living will จะใช้เมื่อไร และใช้อย่างไร เก็บไว้ที่ไหน ต้องบอกใครบ้าง การแสดงเจตนาการใช้/ไม่ใช้ เครื่องมืออุปกรณ์พยุงชีพ หรือ กู้ชีพ ถ้าไม่ใช้ทางเลือกอื่นคืออะไร เช่น 1. การกู้ชีพโดยการปั๊มหัวใจ 2. การเจาะคอ หรือการใส่ท่อ ช่วยหายใจ 3. การล้างไต เมื่อไตวาย 4. การให้อาหารทางสายยางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย 5. การให้ยาปฏิชีวนะ หรือสารน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย
หลักสูตร วิชาชีวิต
หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข
ด้วยแรงกาย แรงใจ และสายตาที่เฝ้ามอง
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นจากการจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำ ภายใต้โครงการผู้นำแห่งอนาคต โดย สสส. ร่วมกับ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเอง โดยหันมาฟังเสียงภายในตัวเราให้มากขึ้น แทนการด่วนตัดสินหรือดูหมิ่นความคิดของผู้อื่นที่ดูผิดแปลกไปจากระบบสำเร็จรูปของสังคม ที่นับวันจะกลายเป็นรากลึกที่ฝังไปในระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ควรถึงเวลาที่เราจะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และคิด วิเคราะห์อยากแท้จริง
ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา
ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ
ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม
บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม เป็นหนังสือรวบรวมบทความวิจัยซึ่งเกิดจากการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ 3 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จังหวัดเชียงราย, ชุมชนโคกสลุง จังหวัดลพบุรี, กลุ่มทราเวลล์และชุมชนรอบข้างในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการวิจัย “การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม”
พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้
การถอดบทเรียนการทำงานชุมชนร่วมกันของคนในจังหวัดพังงามากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้จะทำให้เห็นถึง "การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางการทำงานของชุมชน" เพื่อให้ผู้อ่านไม่ทำพลาดซ้ำ "พังงาแห่งความสุข" ไม่ใช่ตัวอย่างความสำเร็จ แต่คือตัวอย่างการ "เริ่มต้นนับหนึ่ง" เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทบทวน ทั้งส่วนชุมชน ประชาสังคม หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมในบริบทอื่น ๆ เพื่อนำข้อคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองต่อไป
ดุจสายน้ำดั่งสายลม ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออก
ปัญหาการเมือง ปัญหาคอร์รัปชั่น การเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ล้วนเป็นสนิมที่กัดกร่อนบ้านเมือง เราก็ได้แต่หวังว่าจะมี “ผู้นำ” ที่ดีมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ งานวิจัยเล่มนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออกจาก 5 ปราชญ์ คือ ขงจื่อ เหล่าจื่อ จวงจื่อ หานเฟยจื่อ และพระพุทธเจ้า กับ 4 สำนัก คือ สำนักขงจื่อ สำนักเต๋า สำนักมั่วจือ ฝ่ายจยา (นิตินิยม) เพื่อนำเสนอมุมมองการเป็นภาวะผู้นำที่ดี ซึ่งต้องมีหลักคุณธรรม ให้ความเสมอภาคและเสรีภาพกับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และต้องมีกฎกติกาในการส่งเสริมคนดี
จุดนัดพบบนเส้นขนาน
หนังสือจุดนัดพบบนเส้นขนาน เป็นการถอดบทเรียนกระบวนการทำงานยกระดับและพัฒนาศักยภาพการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ 4 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จ.เชียงราย, ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง จ. ลพบุรี, เครือข่ายขอนแก่นนิวสปิริต จ.ขอนแก่น และเครือข่ายสภาพลเมืองพังงาแห่งสุข จ.พังงา โดยเน้นการประสานร่วมพลังระหว่างชาวบ้าน ชุมชน และการประกอบการสังคม โดยการเรียนรู้นี้สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมยุคนี้ เราไม่ได้ต้องการผู้นำแบบพระเอกขี่ม้าขาว ที่ฉายเดี่ยว แต่สังคมกำลังต้องการผู้นำที่มีวุฒิทางปัญญา สามารถหลอมรวมสภาวะการนำและการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมอารยะ หรือการมีคุณค่า และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในสังคมแห่งทุน หรือมูลค่า ได้อย่างมีสมดุล
ครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้
“ครู” คือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ เพื่อมาวางนรากฐานที่มั่นคงให้กับประเทศชาติ ครูเพียงหนึ่งคนสามารถสร้างและพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมเพื่อมาพัฒนาประเทศชาติได้มากมาย หนังสือครูปล่อยแสง ครูบันดาลใจ จุดไฟเรียนรู้ เป็นการถอดบทเรียนการสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญาให้กับครู ตามโครงการผู้นำแห่งอนาคต ของ สสส. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ขณะเดียวกันก็มีความอิ่มเอม เบิกบานในอาชีพครูได้อย่างภาคภูมิ
เศรษฐศิลป์ ผู้นำแห่งโลกวัตถุในปรัชญาตะวันออก
หนังสือรวมบทความวิจัย 4 เรื่องในโครงการผู้นำแห่งอนาคต บทเรียนจากปรัชญาตะวันออก โครงการวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากการเล็งเห็นว่าสังคมไทยยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออก ที่ศึกษาภาวะผู้นำจากประเด็นการจัดการโลกแห่งวัตถุหรือทรัพย์สินผ่านมุมมองปรัชญาขงจื่อ ปรัชญาสำนักเต๋า สำนักนิตินิยมจีนและพุทธปรัชญา
Leadership for Transcendence ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงมาจากการสรุปสาระสำคัญจากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดย คุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเครือข่าย Leadership that Works ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นการให้ผู้นำกลับมาเชื่อมโยงกับปัญญาภายใน เท่าทันเสียงตัดสิน ฝึกฝนการเปิดรับญาณทัศนะ รับฟังเสียงภายในที่นำทางไปสู่เป้าประสงค์แห่งชีวิต ร่วมค้นหาเส้นทางการเรียนรู้และเติบโตใน “ขอบ” หรือพื้นที่ระหว่างความรู้ และไม่รู้
Intrapreneur for Change เพื่อนร่วมทางสร้างการเปลี่ยนแปลง
Intrapreneur for Change 4 เพื่อนร่วมทางสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็น E-Magazine ที่เกาะติดชีวิต 4 Intrapreneur ใน 4 พื้นที่ คือ องค์กรขอนแก่นนิวสปิริต จ.ขอนแก่น, สถาบันไทยเบิ้งโคกสลุงเพื่อการพัฒนา จ.ลพบุรี, สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข จ.พังงา และมูลนิธิบ้านครูน้ำ จ.เชียงราย เพื่อถอดบทเรียนการทำงานของ 4 Intrapreneur ที่ร่วมเดินบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังสร้างสรรค์ เน้นการทำงานกับชาวบ้านและชุมชน พร้อมขับเคลื่อนภาคชุมชน สังคม และธุรกิจเพื่อสังคม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีสุขภาวะที่ดีทั้ง กาย ใจ และปัญญา