trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "สุขภาพ" พบ 329 ข้อมูล

พี่ยังไหว : ทีมDark

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน 1. ธนโชติ แซ่จู 2. พัทธนันท์ มหารักษ์ จาก : นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 เดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม 2562

ศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2562 นำเสนอโครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ซึ่งเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์สื่อเพื่อสุขภาวะที่ตอบรับในยุคสื่อดิจิทัล เพราะเป็นการผลิตคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีนิสิตนักศึกษาและเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมมากมาย โดยนอกจากได้สื่อที่มีคุณภาพเพื่อเป็นรณรงค์ลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ต่อไป

คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข

คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ  เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี  

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562

ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story  กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม  เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง  ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน”  นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

เปิดโลกอาสา : มูลนิธิสุขภาพไทย

เปิดโลกอาสา ชวนไปรู้จักกับ “มูลนิธิสุขภาพไทย” ที่มีหน้าที่สำคัญคือการดูแลสุขภาพองค์รวมของคนทุกเพศทุกวัย ด้านกายใจ สิ่งแวดล้อม และสติปัญญา โดยภารกิจหลักมี 2 ด้าน  คือ งานด้านสมุนไพร เน้นการดูแลสุขภาพด้วยการพึ่งพาตนเอง และงานอาสาสมัคร เพื่อดูแลเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนต่าง ๆ โดยกิจกรรมอาสาสมัครดูแลเด็กนี้เอง  เป็นเสมือนกุญแจไขประตูแห่งความรักและการให้ระหว่างอาสาสมัครและเด็ก ๆ ได้อย่างอัศจรรย์ใจ   มูลนิธิสุขภาพไทย website : http://www.thaihof.org/ facebook : https://www.facebook.com/thaihof.org  โทรศัพท์ : 02-589-4243 Email: thaihof@yahoo.com

วิชาชีวิต ตอน เตรียมใจ : Jones Salad หนุ่มนักธุรกิจสายสุขภาพชวนคุยเรื่องผู้ป่วยระยะท้าย

สิ่งที่ทุกคนกลัวตายไม่ได้กลัวที่ตาย แต่ไม่อยากมีช่วงที่ทรมาน กลัวทรมาน กลัวเป็นภาระ กลัวการพลัดพราก กลัวความห่วง คุณกล้อง นักธุรกิจหนุ่มสายสุขภาพ เจ้าของร้าน Jones Salad ได้พูดคุยกับ  รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ถึงความสำคัญของการเตรียมตัวตาย เพราะโดยหน้าที่ของแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ให้หายจากโรคเท่านั้น แต่ต้องทำให้ผู้ป่วยอยู่สบายและตายดีด้วย ทำอย่างไรจึงจะให้คนไข้จากไปอย่างสงบ ทีมแพทย์  ผู้ดูแลหรือญาติ รวมทั้งผู้ป่วยต้องเข้าใจและเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีการสื่อสารที่ดี เราต้องสร้างความมั่นใจว่า “เราไม่ทิ้งกัน” เพียงแค่นี้ก็เป็นการวางแผนชีวิตที่ดีในปั้นปลาย

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 46 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2562

ศิลป์สร้างสุข ประจำเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2562 มีเรื่องเด่นประจำฉบับ ที่คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ต้องเปลี่ยนค่านิยมเก่า ๆ ที่บอกว่าเด็กอ้วนน่ารัก  เพราะแท้จริงเด็กที่น้ำหนักตัวมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย  โครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” ได้รณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมของเด็กให้ลดหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก ผลไม้  นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวความสามารถของเยาวชน กับการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”  และยังพบสาระต่าง ๆ มากมายอีกภายในเล่มนี้

คู่มือดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเจ้าตัวเล็ก ฟ ฟัน สนุกจัง

รู้หรือไม่ ? เด็กที่มีฟันผุ จะมีพัฒนาการและการเติบโตที่ช้ากว่าเด็กที่มีสุขภาพฟันที่ดี คู่มือการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเล่มนี้ เป็นแนวทางการดูแลฟันให้กับเจ้าตัวน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ จนกระทั่งมีฟันแท้ที่สมบูรณ์

กรุ๊ปเลือดเมา

โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย เชิญชวน เยาวชน หรือ บุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 15 -25 ปี ทั่วประเทศ ร่วมส่งสคริปต์ และรูปแบบในการนำเสนอ เพื่อคัดเลือกเป็นทีมที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จำนวน 20 ทีมและ 10 ทีมสุดท้าย เพื่อรับทุนสนับสนุนผลิตผลงาน ในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ ด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และ หยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คู่มือ Workshop Manual Book

“สื่อ” และ “ศิลปะ” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารในทุกยุคสมัย แม้ในปัจจุบันของยุคสื่อดิจิทัล รูปแบบการนำเสนอสื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากสื่อหลักวิทยุโทรทัศน์ มาสู่ Social Media ทว่าการคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตสื่อก็ยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการผลิตอย่างต่อเนื่อง  คู่มือ Work Shop Manal Book เล่มนี้  จะนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบการผลิตสื่อในทุกรูปแบบ ทั้งข่าว ภาพยนตร์สั้น สารคดี Viral Clip และสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถลุกขึ้นมาเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้รับสื่อได้ ด้วยหัวใจของนักสื่อสารสุขภาวะที่ดี

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562

เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน  เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้  มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.