หนูจี๊ดติดจอ
“หนูจี๊ด ติดจอ” นิทานภาพ โดย ตุ๊บป่อง ที่ชักชวนให้เยาวชนหันมาดูแลดวงตาและสร้างวินัยในการจัดเวลาการใช้งานสื่อให้เหมาะสม เพราะดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการเรียนรู้และในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กๆ ถ้าหากใช้ดวงตาเพ่งมองจอโทรทัศน์ จอโทรศัพท์มือถือ หรือ หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตาก่อนวัยอันควรได้
The Last Life Lesson บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด อันลึกซึ้งถึงหัวใจ
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์เปิดมุมมองใหม่ในการสื่อสาร ฝึกปฏิบัติวิธีการดูแลผู้ป่วยด้วยการสื่อสารผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหวเพื่อเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง เพราะอาจเป็น ‘บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด แต่สามารถสื่อสารอย่างอันลึกซึ้งถึงหัวใจ’
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ
ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่
เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง
สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ
ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน คาถาสูงวัยรู้ทันสื่อ
ผู้สูงอายุ ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอยู่บ้าน บางครั้งก็จะถูกสื่อต่างโฆษณาเชิญชวนให้มีความอยากซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ เกินความจำเป็น ผู้สูงอายุจึงต้องมีคาถาในการรู้เท่าทันสื่อทั้งหลาย ว่า จำเป็นไหม...ไปหาข้อมูลก่อน...เดือดร้อนใครหรือไม่ ท่องไว้ให้ดีก่อนที่จะจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการตามคำโฆษณา
แผ่นพับแนวแนะและแนวปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน
สื่อแผ่นพับ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติในการใช้หนังสือและการอ่าน เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและศักยภาพให้กับเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 6 ปี) อย่างบูรณาการ นำเสนอแนะแนวให้ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กด้วยความมหัศจรรย์ของหนังสือภาพหรือนิทาน
โปสเตอร์ หนังสือสร้างสุขสมรรถนะเด็กสร้างได้
แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้จัดทำ “หนังสือภาพ” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัย (แรกเกิด – 6 ปี) ให้มีสมรรถนะ หรือ Competency กระตุ้นการทำงานของสมองของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 ด้าน คือ พัฒนาการด้านภาษา, พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา, พัฒนาการด้านจินตนาการและการสร้างสรรค์, พัฒนาการด้านอารมณ์, พัฒนาการด้านสังคม, พัฒนาการด้านจริยธรรม และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย
กรุ๊ปเลือดเมา
โครงการปิ๊งส์ โดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย เชิญชวน เยาวชน หรือ บุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 15 -25 ปี ทั่วประเทศ ร่วมส่งสคริปต์ และรูปแบบในการนำเสนอ เพื่อคัดเลือกเป็นทีมที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จำนวน 20 ทีมและ 10 ทีมสุดท้าย เพื่อรับทุนสนับสนุนผลิตผลงาน ในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ ด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และ หยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
คู่มือ Workshop Manual Book
“สื่อ” และ “ศิลปะ” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสารในทุกยุคสมัย แม้ในปัจจุบันของยุคสื่อดิจิทัล รูปแบบการนำเสนอสื่อมีการเปลี่ยนแปลงจากสื่อหลักวิทยุโทรทัศน์ มาสู่ Social Media ทว่าการคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตสื่อก็ยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการผลิตอย่างต่อเนื่อง คู่มือ Work Shop Manal Book เล่มนี้ จะนำไปสู่การเรียนรู้รูปแบบการผลิตสื่อในทุกรูปแบบ ทั้งข่าว ภาพยนตร์สั้น สารคดี Viral Clip และสื่อดิจิทัลต่าง ๆ ที่ทุกคนสามารถลุกขึ้นมาเป็นผู้ผลิตสื่อและผู้รับสื่อได้ ด้วยหัวใจของนักสื่อสารสุขภาวะที่ดี
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562
เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน
คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น” และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม