The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูชีวัน วิสาสะ
จนถึงตอนนี้ สถานการณ์วิกฤตโควิด19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงเพราะไวรัสมีการกลายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ทำให้สถานการณ์ของโรคระบาดโควิด19 มีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้การรักษาโรคยากขึ้นไปอีก การจะสื่อสารและอธิบายกับเด็กให้พวกเขาเข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคระบาดและเห็นถึงความสำคัญของการตั้งการ์ดป้องกันตัวเองจากโรคร้าย ด้วยคำพูดจากผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวดูจะไม่เพียงพอ The Reading อ่านสร้างสุข คลิปวิดีโอ การใช้นิทานภาพเรื่องอีเล้งเค้งโค้ง อยู่บ้านต้านโควิด ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารโน้มน้าวและอธิบายให้แก่เด็กๆ เข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคโควิด19 โดยนิทานภาพจะทำให้พวกเขาเห็นภาพและเกิดความเข้าใจถึงสถานการณ์มากขึ้น พร้อมทั้งเห็นความสำคัญของการป้องกันและดูแลตัวเองในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด19 ได้อย่างสร้างสรรค์
สัมพันธภาพกับการคลี่คลายความขัดแย้ง
เมื่อพบกับความขัดแย้งเรามักนึกถึงอยู่แค่คำว่า แพ้หรือชนะ กรอบความคิดเหล่านี้ล้วนมาจากจิตใต้สำนึกและมีอิทธิพลต่อท่าทีที่เราสื่อสารกับผู้อื่น การจะเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้และเติบโตได้นั้น เราต้องมีความตระหนักรู้ทั้งกาย ใจ ความคิด ความสัมพันธ์ เข้าใจอัตลักษณ์ตัวตนของผู้อื่นและตระหนักรู้ถึงความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ในตัวตนของเรา สัมพันธภาพกับการคลี่คลายความขัดแย้งชุดนี้ จะพาเราเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่การเรียนรู้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแก่นแท้และช่วยให้เราตอบรับกับสถานการณ์ความขัดแย้งต่างๆ ด้วย “สติ” และ “ความเข้าใจ”
การสื่อสารด้วยความกรุณา
หลายครั้งที่การสื่อสารของเรานำไปสู่การเข้าใจผิดและเกิดความขัดแย้งระหว่างเราและผู้ที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ซ้ำร้ายบางความสัมพันธ์ต้องพังลงเพราะการสื่อสารที่ผิดพลาดไม่ตรงความต้องการและความรู้สึกของเราที่ต้องการจะสื่อ ทว่าการจะสื่อสารให้ตรงตามความรู้สึกของแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน การสื่อสารด้วยความกรุณาและการฟังอย่างลึ้งซึ้งด้วยหัวใจ จึงมีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักของการสื่อสารที่จะช่วยทลายกำแพงอคติทางความคิด เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเข้าใจกันและกันให้ลึกไปกว่าคำพูดและเข้าถึงความต้องการของทุกฝ่าย
ความเป็นแม่ทำให้เรายอมรับทุกส่วนในชีวิตตัวเอง - แม่โอ๋ วริสรา มีภาษณี
แม่โอ๋ วริสรา ภาษณี ผู้ร่วมก่อตั้งเพจสื่อสารอย่างสันติ ผู้จัดกระบวนการการเรียนรู้เรื่องการคลี่คลายความขัดแย้ง และเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ทำงานเพื่อให้คนกลับมาฟังความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง ให้หยั่งรากลึกลงไปในความหมายของชีวิต กับบทสนทนาตอบคำถามและนิยามสำคัญในมายาที่สังคมชี้บอกไว้ถึงบทบาทของความเป็นแม่และครอบครัวอบอุ่นต้องเป็นอย่างไร อีกทั้งหนทางการเรียนรู้ผ่านลูกกับทุกประสบการณ์ที่เราได้เผชิญ เพราะทุกประสบการณ์กำลังบอกบางอย่างให้เราได้ยิน
สนทนาปิดกิจกรรมอย่างไรให้ ดีต่อใจ
ธนาคารจิตอาสา ถอดบทเรียนหลังจบกิจกรรมงานอาสา ควรมีการสนทนาพูดคุยกันเพื่อสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้รับเริ่มจาก เชื่อมโยงความรู้สึกของตนเองกับงานอาสาที่ทำวันนี้ ทบทวนถึงอุปสรรคหรือเรื่องที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น เราสามารถก้าวข้ามได้อย่างไร จากนั้นขบคิดใคร่ครวญเพื่อเรียนรู้จากหรือสิ่งที่เราได้รับจากการทำงานอาสานั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงว่างานอาสาได้เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาชีวิตเราให้ดีขึ้นอย่างไร
บทสนทนาลึกซึ้งถึงหัวใจ
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
The Last Life Lesson บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด อันลึกซึ้งถึงหัวใจ
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์เปิดมุมมองใหม่ในการสื่อสาร ฝึกปฏิบัติวิธีการดูแลผู้ป่วยด้วยการสื่อสารผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหวเพื่อเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง เพราะอาจเป็น ‘บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด แต่สามารถสื่อสารอย่างอันลึกซึ้งถึงหัวใจ’
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)
การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
INFLUFAILURE โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
การใช้สื่อ social media อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เกี่ยวกับการเลือกรับสื่อภายใน social media อย่างมีวิจารณญาณของวัยรุ่น(นักเรียน-นักศึกษา) ในการเสพสื่อจากสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน INFLUFAILURE คือเป็นผู้นำทางความคิดที่ล้มเหลว
เพจไฟเหลือง โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
ถอดบทเรียนการทำงานกลุ่ม เชิงสร้างสรรค์ของเยาวชน ต่อ เพจไฟเหลือง สะท้อนความเข้าใจและลดความขัดแย้งด้านความคิดที่เห็นต่าง
แชร์ร้าว โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
Cyber Bully คืออะไร ? การกลั่นแกล้งทางสังคมออนไลน์ บ้างว่าทำเพราะสนิท ทำเพราะสนุก ทำเพราะเพื่อนไม่ว่า เพื่อนคงชินแล้ว หากเราเป็นผู้แชร์อาจไม่รู้สึก แต่ถ้าเราเป็นเหยื่อของการแชร์นี้จะรู้สึกอย่างไร ?