สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนอำเภอบ้านผือ1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน อำเภอบ้านผือ3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าของในหลวงกับชายถอดเสื้อ
แนวทางคิดในทำงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” อาจเสมือนคำพูดที่สวยหรู แต่เมื่อคุณเสถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชน ได้ลงพื้นที่ทำข่าว และมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณลุงดิลก ศิริวิลลภ ล่ามประจำพระองค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงได้รับรู้เหตุการณ์ที่ในหลวงทรงลงพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก ทำมาหากินลำบาก ในหลวงทรงเข้าถึงชาวบ้านทุกชนชั้น แม้กระทั่งคุณลุงที่ไม่ได้สวมเสื้อ และวิ่งหนีเมื่อเห็นในหลวง พระองค์ก็มิทรงถือสา และพูดคุยถึงปัญหาต่างๆ อย่างเข้าใจ เพื่อนำมาพัฒนา เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพราชดำริ จ.นราธิวาส ในการบรรเทาทุกข์ให้ประชากรได้มีพื้นที่ทำกินไม่ลำบากอีกต่อไป
สถานการณ์การอ่าน Thailand 4.0
ในขณะที่ประเทศไทย กำลังรุดหน้าสู่การพัฒนาประเทศในยุค 4.0 สร้างศักยภาพความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ในอีกด้านหนึ่ง พลเมืองของประเทศกลับยังคงมีปัญหาด้านการศึกษา ศักยภาพการศึกษาของเด็กไทยยังคงล้าหลังอยู่ในเวทีโลก เมื่อมองถึงพฤติกรรมการอ่าน พบว่าเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 6 ปี) ของไทยยังคงเข้าไม่ถึงการอ่าน ดังนั้น หากจะมุ่งสร้างไทยสู่ความเข้มแข็งรุดหน้าในยุค 4.0 เราต้องมาช่วยกันพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน อันจะเป็นรากฐานนำสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559
คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1915