สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
เฮือนกล๋อง ป๋อเฒ่าวิ ตำนานศาสตร์และศิลป์แห่งม่อนปิ่น : สื่อศิลป์SE
ป๋อเฒ่าวิ หนึ่งในบุคคลสำคัญด้านศาสตร์และศิลป์ของชาวไทยใหญ่ใน ต.ม่อนปิ่น ผู้ที่ทำหน้าประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ตามเทศกาล เช่นกลองไทใหญ่ ฆ้องฉาบ นกกิ่งกะหล่า และยังเป็นช่างฟ้อน ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่จะรำเลียนแบบสัตว์ที่แสดงความถึงการคารวะต่อพระพุทธะเจ้าที่มาโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ ผู้มากประสบการณ์ ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจแบบนี้ ทำให้เฮือนกล่อง ป๋อเฒ่าวิ จัดว่าเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในศิลปะและวัฒนธรรม
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน ตอนที่ 2 โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตร์พระราชา สู่ความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการนำแนวคิดทางปรัชญา มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บางครั้งสังคมนำมาใช้อย่างผิดหลักของปรัชญา เลยไม่ก่อให้เกิดปัญญาในบ้านเมือง แท้จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำให้คนอยู่ดีมีกิน แต่ไม่ใช่ให้รอแต่จะให้พออยู่พอกินด้วยการรอรัฐบาลสนับสนุน เราต้องเรียนรู้ในการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นำความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเศรษฐกิจตามกลไกของโลก และสอดคล้องกับความเจริญของความคิดและจิตใจ เรียกว่าต้องมีการพัฒนาปรัชญาของแนวคิด และพัฒนาปัญญาของคนในชาติด้วย
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์แห่งปรัชญา ควรมีพื้นฐานมาจากปรัชญา “ปรัชญา” เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายเดียวกันกับ “ปัญญา” ในภาษาบาลี ศาสตร์พระราชาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้หมายความว่าทำตาม ๆ กันไป แต่ต้องมีพื้นฐานมาจากแนวคิดมาจากปรัชญา คือ รู้ถึงความจริง รู้ว่าความจริงกับความเท็จต่างกันอย่างไร และเรามีการคัดเลือกความจริงที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา หมายถึงการรู้ถึงแก่นแท้ของความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แล้วการเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การประสานกันทุกฝ่ายเพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่ชีวิต
วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ สู่หนึ่งเดียวกัน
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มนุษย์ได้ออกตามหาความจริงหนึ่งเดียวนั้นมานานแสนนาน และที่ผ่านมาเราต่างมีวิถีการตามหาความจริงหลากหลายแนวทาง จนมาถึงวันนี้ความจริงที่มนุษย์ค้นพบจากหลากหลายเส้นทางนั้นค่อยๆ มาบรรจบพบเจอกันอย่างน่าตื่นใจ คลิปนี้จะพาเราไปพบคำตอบระหว่าง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ มีการเชื่อมโยงสู่หนึ่งเดียวกันได้อย่างไร หมอปอง หรือนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แพทย์แนวมนุษยปรัชญา กับประสบการณ์ดูแลสุขภาวะกาย-จิต-จิตวิญญาณ จะมาร่วมให้คำตอบเรื่องร่วมกับนักคิดด้านปรัชญาท่านอื่น ๆ
วิทยาศาสตร์ อำนาจ และครู : วิลาวัลย์ สินธุประภา
วิลาวัลย์ สินธุประภา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ครูในโครงการครูกล้าสอนกับความกลัวและมุมมองในการสอนก่อนเข้าร่วมอบรมในโครงการและสิ่งที่ได้รับภายหลังเข้าร่วมในโครงการ ทั้งเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพและทบทวนบทบาทของตัวเอง แรงบันดาลใจในการสร้างคุณค่าให้กับครูผู้สอนในการพัฒนาคน มุมมองการสอนที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถนำมากระตุ้นให้นักเรียนเปิดรับกับวิชาที่เรียนและสนุกไปกับการเรียนในชั้นเรียนได้
ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง
โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน
เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง
“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน
ประวัติศาสตร์แห่งความเจ็บปวด: คงอยู่หรือจากไป แบบไหนเจ็บกว่ากัน
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย - ทำไมคนป่วยหนักหรือในภาวะใกล้ตายจึงเกิดภาพหลอน
บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด
สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง วิทยาศาสตร์ โดยนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
“ผมมองว่าการตื่นรู้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร แต่เป็นมุมมองชีวิต เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นศักยภาพพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมี” "มนุษย์มีศักยภาพที่จะตื่นรู้ เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่ แค่ร่างกาย การตื่นรู้ในมุมของผมจึงไม่ใช่ความสามารถพิเศษ (Extra Ability) แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่สุด (Minimal Requirement) ในการเป็นมนุษย์” (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน") - หมอปอง -
วิชาชีวิต บทที่ 4 ศาสตร์การเจรจา 2 อภิชญา วรพันธ์ และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
ทำไม ? การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงมีเรื่องของ “ศาสตร์การเจรจา” แท้จริงแล้วการสื่อสารที่ดี เป็นประเด็นหลักในการรักษาทางการแพทย์ เพื่อที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติ ๆ สามารถทำความเข้าใจที่ตรงกัน และเดินทางไปสู่เป้าหมายของการรักษาที่เอื้อต่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้ เพื่อคนไข้ได้มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในยามที่เผชิญโรคภัยต่าง ๆ