วิเคราะห์สังคมไทยและสังคมโลก
บทสรุปวิเคราะห์สังคมไทยและสังคมในประเทศต่างๆ ของโลก ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบของสังคมในยุคที่ผ่านมา การต่อสู้เรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย เพศสภาพ ชนชั้น การคอรัปชั่นและการต่อสู้กับปัญหาภายในของแต่ละประเทศจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงแนวคิดทางเลือกและทฤษฎีต่างๆ ที่นำมาใช้ในการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ บทวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นแนวทางทำให้เราเข้าใจกับความเป็นมาของสังคม การต่อสู้และการเปลี่ยนแปลงในสังคมของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยของเราได้อย่างมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
การสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์และเทคนิคการสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลือกศึกษาการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟซบุ๊ก ของแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุดในช่วงหลักพันล้านบาทถึงหลักล้านบาท และเป็นแบรนด์ที่มีเพจจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไปโดยมีความเคลื่อนไหวอัพเดทสถานเนื้อหาและข้อความตลอดระยะเวลาการศึกษา ทั้งนี้ระยะเวลาการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันสำคัญทางศาสนาและการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และช่วงเหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนในการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในสังคม
เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดช่องและรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง หนึ่งในกลยุทธ์ที่รายการนำมาใช้คือการสอดแทรกเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ หยาบโลน เพื่อเป็นจุดขายให้รายการกลายเป็นที่นิยม มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษาประเด็น "เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินขึ้น" เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเนื้อหาเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ในเนื้อหาทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา โดยศึกษาเชื่อมโยงกับความคิดเห็นของสังคมในโลกออนไลน์ทาง Facebook, Youtube, Pantip ทั้งนี้เพื่อสะท้อนผลกระทบทั้งในแง่ทัศนคติและค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม
การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD
รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ชุดฝึกอบรมพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ พัฒนาความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตย
ชุดฝึกอบรมพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ เป็นเอกสารที่รวบรวมเนื้อหาและแนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับครู เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ออกแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างการรู้เท่าทันสื่อ พัฒนาความเป็นพลเมืองในวิถีประชาธิปไตยให้กับนักเรียน เพื่อสร้างทักษะการคิด การตั้งคำถาม และการสืบค้นหาคำตอบ การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน พร้อมตัวอย่างกิจกรรมบูรณาการ เรื่อง พลเมืองรู้เท่าทันสื่อจากครูแกนนำโรงเรียน 3 ดี