การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
แก่นสาระและสุนทรียภาพหนังสือเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กและสังคมไทย
หนังสือรวบรวมบทวิจัย และวิเคราะห์ หนังสือภาพ 108 เล่มที่เด็กปฐมวัยควรอ่าน ซึ่งคัดสรรขึ้นจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อเป็นแนวทาให้ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการอ่าน อาทิ นักเขียน นักสร้างสรรค์ภาพ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ ได้มีแนวทางในการจัดทำหนังสือภาพที่ดี เพื่อเปิดหน้าต่างแห่งโอกาสให้กับเด็ก ๆ ต่อไป โดยเนื้อหางานวิจัยจะเน้นแก่นสาระ ด้านแนวคิด เนื้อหา และการนำเสนอ และสุนทรียภาพด้านการออกแบบรูปเล่ม รวมถึงความสละสลวยของภาษา
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น
งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป
รายงานวิจัยภาวะหนี้สินกับการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย จังหวัด อ่างทอง
ศึกษากรณีการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรไทยที่มีที่มาจากปัญหาหนี้นอกระบบ ศึกษาจากกลุ่มเกษตรกร จ.อ่างทอง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้มีการสะท้อนและทบทวนปัญหาและทางแก้ไขหนี้นอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน ซึ่งผลักดันให้เกษตรกรยากจนและกลายเป็นเพียงผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกันก็เพื่อให้สังคมได้รับรู้ เรียนรู้ และช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน
งานวิจัยเกี่ยวกับวิทยุเพื่อเด็กและเยาวชน
บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของแผนภาพและข้อสรุปที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต
รายงานการวิจัยสถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย
บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต