นิเวศวิทยาแนวลึก
บทความที่จะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้เข้าใจความหมายของระบบนิเวศวิทยาแนวลึกและเปลี่ยนวิถีความคิดเดิมๆ ของเราที่มีต่อธรรมชาติ เพราะธรรมชาติไม่ได้เกิดมาเพื่อรับใช้มนุษย์ แต่ทุกสรรพสิ่งมีคุณค่าในตัวเองและล้วนมีความเชื่อมโยงกัน มนุษย์เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศไม่ได้มีความสำคัญที่สุดในข่ายใย อีกทั้งมนุษย์เองที่นำมาซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อม แนววิถีคิดเดิมของเราที่มีต่อธรรมชาติไม่สามารถแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ ทางออกของวิกฤตนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีความคิดเดิมและทำความเข้าใจต่อระบบนิเวศวิทยา ว่าทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติล้วนเชื่อมโยงและต้องพึ่งพาอาศัยกัน
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์
ในยุคปัจจุบันมนุษย์เราถูกกลืนเข้าไปในกระแสแนวคิดภาวะทันสมัย เราใช้ชีวิตมุ่งเน้นไปในทางบริโภคนิยมเพื่อหาความสุขและแข่งขันกับเวลาเพราะต้องการความก้าวหน้าและความทันสมัย แต่ความก้าวหน้าและความทันสมัยนี้กลับทำให้เราขาดความอ่อนโยนและยังต้องเบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งยังสร้างวิกฤตปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม สร้างความขัดแย้งและมลภาวะเอาไว้มากมายอย่างไม่มีทางแก้ การใช้ชีวิตในแนวคิดแบบเดิมๆ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ทางออกเดียวที่จะยับยั้งวิกฤตเหล่านี้ได้ คือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ให้เข้าใจต้นตอของปัญหาและสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้คุณค่าของธรรมชาติที่เรามี ก็จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตัวเราและสังคมได้
เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี
เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่ และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่ เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19 การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน
การฝึกเจริญสติในช่วงวิกฤติโรคระบาด
ช่วงวิกฤติของโรคระบาด การได้กลับมาอยู่กับตัวเอง สื่อสารกับภายในใจ นับเป็นช่วงเวลาในการฝึกการเจริญสติให้เราได้คลายความวิตกกังวล เราสามารถเจริญสติภาวนาในขณะล้างมือให้นาน 20 วินาที เพื่อยับยั้งเชื้อโรค เรามีสติในการตระหนักรู้ต่อข่าวสารข้อมูล เท่าทันสื่อจริงสื่อลวง และมีสติในการบริหารเวลาในการดูแลตนเอง และครอบครัวได้มากขึ้น
วิกฤติไวรัส ไม่น่ากลัวเท่าวิกฤติวัตถุนิยม นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
ไวรัสโควิด 19 มีการแพร่ระบาดที่น่ากลัว และรวดเร็ว เช่นเดียวกับความตระหนก และความกลัวก็มีการติดต่อ หรือแพร่นะบาดด้วยเช่นกัน ในห้วงของวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ เราต้องมีการดูแลทั้งสภาพจิตใจและร่างกาย เราต้องมี “สติ” เพื่อความคุมความรู้สึก ด้วยความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อโรค และเยียวยาจิตใจให้มีภูมิคุ้มใจที่ดี
เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง
“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน
มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ กับการพัฒนาประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี
งานเขียนถอดความจากปาฐกถาพิเศษของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี จากพิธีเปิดเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม วันที่ 21 พ.ค. 2558 เนื้อหากล่าวถึงการสร้างสรรค์สังคม คือ การสร้างพลังอํานาจที่ 3 ขึ้นมาในสังคม ที่ต่างจากพลังอํานาจรัฐ พลังอํานาจเงิน ที่สำคัญหากสังคมไทยร่วมมือกันสร้างพลังที่ 3 นี้ขึ้นมาให้เต็มประเทศ ก็จะกลายเป็นกุญแจสำคัญการพัฒนาเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษาจํานวนมากให้กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา เข้าใจประเด็นของประเทศ และใช้เทคโนโลยีไอทีและสื่อสารในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งลุกขึ้นมาเป็นกําลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
6 วิกฤติสุขภาพจากเทคโนโลยี
ปัจจุบันคนเรามักใช้ชีวิตติดเทคโนโลยีกันมากขึ้น จนมองข้ามภัยที่แฝงมากับความสะดวกสบายเหล่านั้น การคุยโทรศัพท์นาน จะส่งผลต่อประสาทหูเสีย การดูโทรทัศน์ และเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็ทำให้ม่านตาถูกทำลาย สมองไม่พัฒนา และมีความอดทนน้อยลง การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ ก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ...เพราะฉะนั้นเราจึงควรหากิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสุขภาพกันบ้าง
ชีวิตติดสื่อ
คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ
อ่านสร้างสุข 25 ปลดล็อกวิกฤตพัฒนการเด็กด้วยการอ่าน
แม้สถิติการอ่านของคนไทยจะดีขึ้น แต่ก็ยังต้องยอมรับว่ามีเด็กไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการอ่าน อันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดของผู้ใหญ่ อ่านสร้างสุขฉบับนี้นำเสนอเนื้อหาประโยชน์ของการอ่าน ที่จะเข้ามาช่วยปลดล็อกและแก้ไขวิกฤตพัฒนาการเด็กได้ เพียงผู้ใหญ่ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้เด็กเริ่มอ่านตั้งแต่ปฐมวัย