คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา
ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”
ส่งความรักผ่านการออกกำลังกายจากแม่สู่ลูกภาวะออทิสติก
วรรณวิชญ์ เหล่าตระกูลงาม หรือ ปาล์ม ลูกชายของแม่อู๊ด ที่เริ่มเป็นเด็กออทิสติก ตั้งแต่ 4 ขวบ ด้วยแม่อู๊ดสังเกตอาการของคุณปาล์ม ว่าไม่พูดและม่สบตาม แม่อู๊ดคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสอง เลยตัดสินใจลาออกจากงานมาเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 คน ด้วยความรัก ความเข้าใจ และเอาใจใส่ให้ลูกสามารถยืนหยัดในสังคมได้ แม่อู๊ดจึงค้นหาวิธีการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของคุณปาล์ม ด้วยการออกกำลังกายด้วย “การวิ่ง” เพราะการออกกำลังกายทำให้คุณปาล์มมีสมาธิ ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง นอกจากนี้การวิ่ง ยังเป็นกิจกรรมที่คุณปาล์มและแม่อู๊ดได้ใช้กิจกรรมด้วยกัน ผลพวงที่ได้คือ สุขภาพแข็งแรงทั้งแม่และ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
โยคะภาวนา ฝึกกายและจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว
กวี คงภักดีพงษ์ หรือ ครูกวี ผู้อำนวยการสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ค้นพบหัวใจของการฝึก “โยคะภาวนา” คือ การเข้าไปดูที่จิต ปิดจิตไม่ให้คิดปรุงแต่ง เมื่อไหร่ที่เราดับการปรุงแต่งของจิต จิตเราจะเข้าสู่สมาธิ หลักการฝึกโยคะภาวนา ใช้ความนิ่งและสบาย ใช้แรงกายให้น้อยที่สุด สภาวะของการฝึกโยคะภาวนาแบ่งออกเป็น 3 สภาวะด้วยกัน คือ 1. การรวมกายและจิตเข้าด้วยกัน มีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา 2. ความสมดุล ทั้งภายในตนเอง ระหว่างตนเองกับผู้อื่น และตนเองกับสภาพแวดล้อม 3. การพัฒนา โดยเฉพาะการฝึกจิตให้นิ่งและบริหารจิตให้เข้มแข็งจนยกระดับให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สุรีย์ นาวีเรือรัตน์ หรือ ครูเจี๊ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ทางเลือกของการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะเน้นการหายใจและการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงแบบไม่เร่งรีบ ครูเจี๊ยบอดีตเป็นดีไซน์เนอร์กระเป๋าที่โรงงานย่านนครปฐม หลังจากหายป่วยจากโรคมะเร็งรังไข่ ก็หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเต้าเต้อจิง รวมทั้งชักชวนเพื่อนๆ ในวัยเกษียณ มาจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ที่จังหวัดนนทบุรีด้วย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย
หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ
เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที
วิชาชีวิต บทที่ 14 การ Shutdown ของร่างกาย - รศ.พญ.ปัทมา โกมุทบุตร
เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายจนกระทั่งใกล้เสียชีวิต ร่างกายจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของโรค การทำความเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงขณะนั้น จะช่วยให้สามารถปฏิบัติตัวและตัดสินใจในสถานการณ์นั้น โดยยึดตามเจตนาของผู้ป่วยได้อย่างไม่ให้ตระหนก สภาพร่างกายเปรียบเหมือนไฟในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเข้ามาสู่ระยะท้ายร่างกายจะค่อย ๆ หยุดทำงาน เหมือนกับดวงไฟจะค่อย ๆ หรี่ลงทีละดวง จนกระทั่งดับสนิท ช่วงอาการที่หรี่ลงเหมือนดวงไฟนี้ เรียกให้เข้าใจง่ายว่า 1. ช่วงไม่กล่าว 2. ไม่กิน 3. ไม่กลืน
ของฝากนักดื่ม ดื่มน้ำอย่างไรให้ร่างกายสดชื่น
เรียนรู้กันมาตั้งแต่เด็กว่าใน 1 วันเราควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว แต่ด้วยความเคยชิน ความหลงลืม หรือเหตุผลใดๆ ก็ตาม ทำให้เราดื่มน้ำต่อวันไม่ถึงสักที อินโฟกราฟิกชิ้นนี้ จะกระตุ้นเตือนให้เราหันมาให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงและมีคุณภาพ ด้วยวิธีที่ชวนจำง่าย ดื่มตามได้ไม่ยาก แถมเคล็ดลับที่ทำให้การดื่มน้ำเปล่าดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
เข้าใจวัคซีนผิดๆ ทำเด็กป่วย
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกังวลเรื่องการฉัดวัคซีนให้ลูก เรามาทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนกันเถอะ วัคซีนแม้จะทำจากไวรัสและแบคทีเรีย แต่ก็ไม่ได้เป็นพิษ กลับเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนไม่ได้ก่อให้เกิดโรคออทิสติก หรือทำให้เป็นหมัน มีบุตรยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่นำลูกไปรับวัคซีนตามวัย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ได้
หนังสือเสียง กระต่ายบนดวงจันทร์
สี่สหายเพื่อนรัก กระต่าย ลิง สุนัขจิ๊งจอก และแมวป่า ชวนกันว่าจะรักษาศีลทำบุญทำทาน โดยทั้งหมดต่างแยกย้ายไปหาอาหารเพื่อนำมาทำบุญทำทานให้กับผู้ยากไร้ แต่ทว่ากระต่ายหาไม่ได้ จึงตั้งมั่นว่าจะอุทิศร่างกายของตนเองเป็นอาหารเพื่อทำทาน เทวดาทราบเรื่องก็แปลงร่างเป็นพราหมณ์มาเพื่อทดสอบ ได้เห็นความตั้งใจของกระต่ายก็ยินดี เขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อเป็นการประกาศคุณงามความดีของกระต่ายให้ทุกคนได้รู้ตราบนานเท่านาน
รู้ทันคำโตๆ ของโฆษณา ตอนนมดื่มตอนไหนได้ประโยชน์
เด็ก ๆ ควรดื่มนมวันละ 2 แก้ว แก้วละ 240 มิลลิลิตร เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมประมาณ 400 – 600 มิลลิกรัม ช่วงเวลาดื่มนมที่ดี ควรดื่มหลังมื้ออาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงไม่ดื่มนมตอนท้องว่าง หรือดื่มพร้อมกับการกินอาหาร เพราะจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมไม่มีประสิทธิภาพ