trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "รอ" พบ 522 ข้อมูล

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ภัทรมน วิเศษลีลา

คุณภัทรมน วิเศษลีลา เจ้าของบ้านไม้หอม พระราม 2 บ้านหลังงามท่ามกลางธรรมชาติ ที่เปิดบ้านให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ “ตัวเอง” ได้ร่วมแบ่งปันเรื่อราวเส้นทางสู่การตื่นรู้ “ความรู้สึกตัว” เท่านั้น ที่เป็นมิตรแท้ ที่ช่วยให้ก้าวข้ามความยากในชีวิตไปได้ เพราะเมื่อตื่นรู้ตัว เกิดการยอมรับ ความเข้าใจ ความคิดจะไม่พาไปฟุ้ง ปรุง หรือ แต่ง ไม่ติดอยู่กับอดีต ไม่กังวลกับอนาคต เพราะความสุขเกิดขึ้น ณ ที่ปัจจุบันขณะ

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร ผู้บริหารโค้ชชิ่ง (จิตตปัญญาศึกษา) ครั้งหนึ่งในอดีตเคยคิดสงสัยในชีวิตว่าเราเกิดมาทำไม  จนกระทั่งวันหนึ่งได้มารับหน้าที่แม่  จากที่เคยคิดว่าชีวิตประสบความสำเร็จสามารถโค้ชผู้อื่นได้  แต่กับตนเองในความเป็นแม่ ได้แต่สงสัยว่า “ฉันจะเป็นแม่ที่ดีได้อย่างไร?” มันไม่มีกฎตายตัวเลย จึงเริ่มหันมาอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนการภาวนา เปิดตาภายใน จึงพบว่าเราไม่รู้ แล้วทำอย่างไรจึงรู้ นั่นคือ การตื่นรู้คือการกลับมาสัมผัสกับธรรมชาติของใจเราอย่างซื่อตรง  ยอมรับว่า “ลูกไม่ใช่ของเรา” จากนั้นก็ต้อนรับกับความจริงว่า “แม่อาจมีอิทธิพลในการเติบโตของลูกทั้งกายและใจ แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นปัจเจกของลูกได้ ...การเป็นแม่จึงค้นพบความตื่นรู้ในใจตน...  

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ชรรินชร เสถียร

ริน ผู้ช่วยอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษาและเจ้าของหนังสือที่มีชื่อว่า ลูก แม่ ฉันและการเดินทางสู่อิสรภาพของใจ กับบทสัมภาษณ์ประสบการณ์บนเส้นทางแห่งการสร้างการเติบโตภายในและการค้นพบความหมายของการตื่นรู้ ที่ช่วยสร้างการยอมรับในตัวตน ไม่ยึดติด ไม่หลงอยู่กับความคิดและความเชื่อเดิมของเรา เพื่อให้ตระหนักถึงที่มาแห่งความทุกข์และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจในความจริงของโลกด้วยใจที่เปิดกว้าง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์

รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์ หรือ คุณติ๊ก เจ้าของเพจ “ลูกในฝันคนอย่างฉันก็สร้างได้” เป็นการแบ่งปันการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีและมีความสุข  แต่ครั้งหนึ่งคุณติ๊กเคยทุกข์แสนสาหัส ถึงขั้นอยากจะฆ่าตัวตาย  นับเป็นโอกาสดีที่เกิดความคิดมาเปลี่ยนแปลงตนเอง เริ่มศึกษาธรรมะและฝึกสมาธิ จึงทำให้มีสติในการตื่นรู้กับชีวิตมากขึ้น ว่าความทุกข์ทั้งหมดในชีวิตมาจากรากคือความกลัว  ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ  ตั้งแต่นั้นมาคุณติ๊กก็มุ่งมาในเส้นทางศึกษาธรรมะ  เพื่อการตื่นรู้เข้าใจตนเองมากขึ้น

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - อังคณา มาศรังสรรค์

เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘ปล่อยตัวเองออกจากสนามรบ’ โดย คุณอังคณา มาศรังสรรค์ อดีตวิศวกร สู่ผู้บริหารโรงเรียนสอนพิเศษ กับวิถีทางเลือกเพื่อจัดการปมปัญหา ‘Midlife Crisis’ การตั้งคำถามต่อชีวิตและเส้นทางสู่การเรียนรู้โลกภายในตัวตน ที่ช่วยสร้างการตื่นรู้ การมองเห็นและเข้าใจปมปัญหาภายใน อีกทั้งได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากการที่ได้ทำความรู้จักตัวตน เกิดการ ’คลี่คลายอดีต’ ‘การใคร่ครวญ’ ‘การรู้ตัว’ เกิดความรัก ความเมตตาและความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบกายที่ดีขึ้น

เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี

เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่  และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่  เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19   การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง  สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย  โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน

นอนหลับสบายจัง

“การนอน” กิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญมากสำหรับการดูแลเด็กเล็ก การนอนหลับอย่างมีความสุขและมีคุณภาพ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และฮอร์โมนการเจริญเติบโต ช่วยเรื่องการสร้างเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการของสมองและการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ

กอด

“กอด” สิ่งมหัศจรรย์ ที่สร้างความั่นคงทางอารมณ์ระหว่างกัน ช่วยเยียวยาความเจ็บปวด วิตกกังวล  สานสัมพันธ์แห่งความรัก  และเติมเต็มกำลังใจซึ่งกันระหว่าง  อ้อมกอดที่อบอุ่นของพ่อแม่กับลูก พี่กับน้อง ครูกับลูกศิษย์ และเพื่อนกับเพื่อน ทำให้โลกใบนี้ช่างน่าอยู่และสวยงาม

เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Relate สนทนาประสาครอบครัว

บ้านคือที่พักกายพักใจ และเยียวยายามที่เราเหนื่อยล้า และสับสน มาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อในยามสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด  เรามีโอกาสได้ย้อนกลับมาดูแลตนเองและครอบครัวมากขึ้น เราจงใช้ช่วงเวลาดี ๆ อย่างนี้ ในการร่วมพูดคุยกันกับครอบครัวเพื่อให้กำลังใจกันและกัน

วิธีดูแลใจตนเองและคนรอบข้างในช่วงโควิด-19 โดย ทีปัก โจปรา

ดร. ทีปัก โจปรา หนึ่งในคุรุผู้โด่งดังด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้ให้ข้อคิดในการรับมือความตื่นตระหนกจากวิกฤติโควิด 19 ไว้ดังนี้ ดูแลกายและใจให้รู้สึกดี , รับข่าวแต่พอดี , พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน , เท่าทันข้อมูลสถิติ และมีสติทุกเมื่อในการสื่อสาร

คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย

เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย” เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.