Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ยา" พบ 658 ข้อมูล

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ดร.อรุโณทัย ไชยช่วย

จากนักเยียวยา (Healer) ที่บำบัดช่วยเหลือผู้อื่นด้วยศาสตร์ของ Minddala และ Mindtangle ดร. อรุโณทัย ไชยช่วย หรือ ครูเอ๋ ยังได้แบ่งปันประสบการณ์ของการตื่นรู้ ว่า “เพียงลืมตาภายใน ใจก็ถูกปลุกให้ตื่นรู้” ทุกคนสามารถสัมผัสและเข้าถึงการตื่นรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน การตื่นรู้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ให้เราอยู่กับขณะจิต ณ ปัจจุบันอย่างเป็นจริง  โดยหลุมพรางที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการตื่นรู้ คือ “อัตตา” การยึดมั่นถือมั่น ในตัวกูของกู  ถ้าเรายังไม่มีการตื่นรู้ก็จะยึดติดอยู่ใน “ความอยาก” สร้างตัวตนในความหลง และก็จะทุกข์ไปกับความจริงที่จอมปลอมนั่นเอ ง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา

เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘สร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ’ โดย ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา ศิลปินอิสระสร้างสรรค์งานศาสนศิลป์ร่วมสมัย  อาจารย์พิเศษคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ใช้งานศิลปะฝึกฝน ทบทวนตัวเองและสร้างการตื่นรู้ เพื่อ ‘ยอมรับความจริง’ ในทุกแง่มุมของชีวิต โดยการยอมรับความจริงของชีวิต จะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างสอดประสานกับความจริง ซึ่งความเข้าใจในระดับที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายนี้ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ชีวิตและทำให้เราเป็นทุกข์น้อยลง 

New Heart New World 3 : พระโพธินันทะ

พระโพธินันทะ กับหนทางแห่งความว่างเปล่า หรือ “สุญญตา” และการใช้ชีวิตอยู่บนฐานแห่งปัญญาญาณ ด้วยการมองเห็นตัวตนและละทิ้งตัวตนทางความคิด เพราะโลกแห่งความคิด คือ โลกแห่งมายา การทำให้ใจว่างเปล่าด้วย ”การตื่นรู้” ทำได้โดยการสังเกตความคิดและชำเลืองใจของเราอย่างมีสติ ซึ่งจะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันความคิดของตัวเราเอง ไม่ยึดติด ไม่แบ่งแยกหรือตัดสิน เพราะเมื่อเราใจว่าง ตัวตนหายไป เราจะรับรู้ได้ว่าทุกสรรพสิ่งเป็นเอกภาพเดียวกันกับเรา "ความคิดสร้างความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา "ฉัน" "กู" แล้วก็ทำให้เกิดความเปรียบเทียบ ให้ค่าตัดสิน ลงความเห็นที่ขัดแย้ง สูงต่ำ ดำขาว ยาวสั้น เย็นร้อน ถูกผิด แล้วเราก็ยึดติดในความเห็นนี้ ยึดติดในสิ่งที่มากระทบ ใครว่าเราเป็นหมู เป็นหมา เราโกรธใช่ไหม ความยึดติดเหล่านี้แหละ คือปัญหาของชีวิตเรา" พระโพธินันทะ

New Heart New World 3 : ดร.ณัชร สยามวาลา

ดร. ณัชร สยามวาลา นักเขียน กับความสุขของ “การตื่นรู้” สัญลักษณ์ของความทุกข์ ประสบการณ์เฉียดตายและจุดเปลี่ยนของชีวิตกับการฝึกฝนวิชาเจริญสติ ที่ทำให้ค้นพบความปีติที่แท้จริงจากการทำสมาธิ เกิดการเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น เพราะสติช่วยให้เรารู้เท่าทันปัญหา สร้างเหตุแห่งความทุกข์ใหม่น้อยลงและรับมือกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติรู้เท่าทัน อีกทั้งทำให้ความทุกข์นั้นหายไปเร็วขึ้น "จริง ๆ ธรรมะอยู่ในชีวิตเราอยู่แล้ว เพียงแต่คนนั้นจะเห็นหรือเปล่า กายกับใจนี่ก็ธรรมะ ถ้าเราสังเกตดี ๆ มันสอนเราตลอด เมื่อกี้ หิว เดี๋ยวง่วง เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวอยากทำโน่น เดี๋ยวไม่อยากทำแล้ว นี่มันแสดงธรรมะตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำให้เห็นว่าใจไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเป็นอย่างนั้นตลอดกาลชั่วกัลปาวสาน ...มันเปลี่ยนตลอดเวลา" ดร.ณัชร สยามวาลา

New Heart New World 3 : วีรยา โอชะกุล

คุณวีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก ได้พูดถึงวิถีการทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ว่า  แม้ตนเองจะเป็นผู้หญิงที่มาเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย ต้องดูแลทีมที่มีหลากลายความคิดและบุคลิก  แต่ตนก็ใช้ความพยายาม ความทุ่มเทในการทำงาน เพื่อสร้างการยอมรับของทีมด้วยความเข้าใจกันและกัน "เวลาทำงานไม่ได้คิดนะว่าตัวเองจะเป็นยังไง แต่ถ้าถาม ถ้าถูกยิง ณ วันนี้ ตาย จะเสียดายในสิ่งที่คิดว่าจะทำ ยังไม่ได้ทำ มันมีอะไรที่อยากทำ เห็นปัญหาแล้วอยากแก้ พี่เป็นโรคจิตอยู่อย่างเห็นปัญหาไม่ได้ จะโดดใส่ทันที เดินไปหาปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้จะตาย ไม่เสียใจ" "ถ้าย้อนกลับไป พี่จะทำเหมือนเดิมทุกอย่างที่พี่ทำมา เพราะพี่มั่นใจแล้วว่าสิ่งที่พี่ทำอยู่ พี่พอใจกับมันแล้ว" วีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก

10 ประเภทของ Fake News

ในยุคการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล ข่าวสารมีอยู่มากมายการไล่ทะลักของข่าวจำนวนมาก ย่อมแฝงมาด้วยข่าวลวง  (Fake news) โดยเราพอจะจำแนกข่าวลวงได้ 10 ประเภท คือ ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก, โฆษณาชวนเชื่อ, ข่าวแฝงการโฆษณา จะมีการ Tie In โฆษณาในเนื้อข่าว, ข่าวล้อเลียนและเสียดสี, ข่าวที่ผิดพลาด, ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง, ทฤษฎีสมคบคิด, ข่าววิทยาศาสตร์ลวงโลก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ, ข่าวลือ และสุดท้ายข่าวหลอกลวง เป็นการแอบอ้างหรือปลอมเป็นแหล่งข่าวนั้นเสียเอง

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน  เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ

สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม

การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม  สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่

5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 6 พรุ่งนี้ที่ดีกว่า กับการเท่าทันข่าว

ในสื่อออนไลน์ที่มีการสื่อสารอย่างรวดเร็วการนำเสนอข่าวปลอมข่าวลวงจึงเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ  เพื่อเรียกยอด Link และยอด Share จากผู้ชมเมื่อคลิกเข้าไปดู การรู้เท่าทันข่าวปลอม ด้วยการค้นคว้าของเท็จจริงของเนื้อหาและแหล่งข่าวก่อนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จำไว้เสมอว่า “ชัวร์ก่อรแชร์”

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 5 กลุ่มแชท แหล่งเพาะพันธุ์ข่าวปลอม

การแพร่ระบาดของข่าวปลอมบางครั้งมีความรวดเร็วและกระจายไปในวงกว้างมากกว่าข่าวจริงเสียอีก  โดยเฉพาะในกลุ่มการสื่อสารแบบปิด หรือ กลุ่มแชททางสื่อออนไลน์ อย่าง Line Group  ที่พอคนหนึ่งแชร์เข้ามา ทุกคนก็จะเชื่อว่าเป็นความจริงเป็นทุนเดิม  เพราะเป็นกลุ่มญาติ และเพื่อนกัน จึงเกิดการแชร์ต่อ  หรือบางครั้งหลงเชื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อได้รับข่าวข้อมูลใด ๆ ควรเช็คดูข้อเท็จจริงจากแหล่งอ้างอิงก่อน และดูว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 4 ตามติดชีวิตนักข่าว การสื่อข่าวที่แท้จริงคืออะไร

การนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน ไม่ด่วนสรุป  มีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข่าวต้นทาง ซึ่งบางครั้งได้จากการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริง และค้นคว้าจากแหล่งข่าวอ้างอิงที่เชื่อได้  จะช่วยทำให้ข่าวที่เรานำเสนอมีความน่าเชื่อถือ และมีประโยชน์ให้กับสังคม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.