คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์
วิจารณญาณ โดย คณะมีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สร้างสรรค์สื่อภาพเคลื่อนไหว ในประเด็นเนื้อหาเรื่องของการเสพสื่อและการใช้สื่อบนความหลากหลายของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นวัยใดเพศใด ทุกคนมีโอกาส และสามารถเป็นผู้รับตัวกลาง และผู้ส่งต่อสื่อได้ทั้งสิ้น “หากทุกคนคือสื่อ แล้วสื่อแบบไหนคือความจริง หากต้องใช้หรือเสพสื่ออย่างมีวิจารณญาณ?” จึงเป็นประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์ของกลุ่มของเรา
น้ำมันทอดซ้ำ อร่อยมัน อันตราย
ภัยเงียบจากน้ำมันทอดซ้ำ เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารให้เราทานในแต่ละวัน จะเป็นต้นเหตุทำให้เราเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง เกิดภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้ ดังนั้นเลือกกินอย่างฉลาดและปลอดภัย หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทอดในน้ำมันทอดซ้ำเพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย
10 เทคนิคเดินทางด้วยรถตู้อย่างปลอดภัย
รถตู้โดยสาร เป็นอีกทางเลือกของการเดินทางที่สะดวกในปัจจุบัน เทคนิคการเดินทางรถตู้อย่างปลอดภัยคือ ต้องเลือกโดยสารรถตู้ทะเบียนสีเหลืองที่มีป้ายบอกระยะทางวิ่งที่ชัดเจน พนักงานขับรถสุภาพ ไม่ขับเร็วเกินไป ไม่ควรโดยสารรถตู้ที่เกินระยะทาง 300 กิโลเมตรขึ้นไป เพราะพนักงานขับรถอาจมีอาการอ่อนเพลีย ทำให้เกิดอันตรายบนท้องถนนได้ และที่สำคัญผู้โดยสารต้องขึ้น – ลง รถตู้ที่ป้ายจอด หรือจุดจอดเท่านั้น รวมถึงคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
ภัยอันตรายจากน้ำดื่ม
ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน บางครั้งเวลากระหายน้ำ เราจึงมักหาซื้อน้ำหวานมาดื่ม เพราะสะดวกและดับกระหาย โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่าคนเราไม่ควรบบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา แต่น้ำหวานที่เราดื่มกัน มีน้ำตาลมากกว่า 10 ช้อนชาขึ้นไปแล้ว จึงเป็นปัญหาระดับชาติว่า น้ำหวานทำให้คนไทยเป็นโรคอ้วนกว่า 44 % และมีภาวะเสี่ยงเกิดเป็นโรคเบาหวานและหัวใจตามมา
สปอตโปรโมท ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่
สปอตโปรโมทขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ชวนไปดูเด็ก ๆ จาก 7 พื้นที่ที่ลุกขึ้นมาสืบค้นอาหารท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำมาเรียนรู้วัฒนธรรม เข้าใจความต่าง ๆ สื่อสารความมั่นคงของอาหารที่สอดคล้องไปกับทั้งเรื่องเท่าทันสื่อและสิทธิมนุษยชน ดังนั้น สำหรับเด็ก ๆ แล้ว เรื่องกินไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน แกงส้มดอกแคปลาดุก จังหวัด แม่ฮ่องสอน
เมนู 'แกงส้มดอกแคปลาดุก' แสนอร่อย ฝีมือน้อง ๆ เยาวชนที่โรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กและเยาวชนที่นั่นเรียนรู้ต่อยอดโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมอาหารปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังเกิดการสืบค้นเมนูท้องถิ่น เรียนรู้วิธีการทำอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีชีวิตพอเพียง
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รักษ์นที
ผลงานสารคดี จากผักหวานทีม โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม พาไปหมู่บ้านผาสามยอด พูดคุยกับคุณเกษม สมชาย เจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กับวิถีอนุรักษ์น้ำ ดิน อากาศ นำสู่การปลูกผักอินทรีย์ ไร้สารพิษ พึ่งพาธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง ส่งต่อแนวคิดให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะอันงดงาม