พ่อสมศักดิ์ ตะกร้าสานไม้ไผ่ : สื่อศิลป์SE
จากชาวบ้านสู่...นักปราชญ์ คุณพ่อสมศักดิ์ ชาวบ้านธรรมดาที่มีโอกาสได้เรียนการสานไม้ไผ่จาก อบต.ม่อนปิ่น แล้วนำมาต่อจนกลายเป็นนักปราชญ์ ด้านการสานไม้ไผ่ ไม่ว่าจะเป็น ตะกร้า แจกัน กระปุกออมสินและอื่นๆที่เกิดมาจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็น สื่อศิลป์SE ของม่อนปิ่นที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนม่อนปิ่นต่อไปในอนาคต
New Heart New World 3 : พ่อผาย สร้อยสระกลาง
พ่อผาย สร้อยสระกลาง ผู้ใหญ่บ้าน กับมุมมองการ ”ตื่นรู้” ที่ได้จากห้องเรียนในธรรมชาติและจากการดำเนินชีวิตตามรอย..พ่อ ด้วยการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งความพอเพียงนี้ ได้ทำให้พ่อผายค้นพบปรัชญาในการดำเนินชีวิต เห็นคุณค่าของธรรมชาติรอบตัวและค้นพบศักยภาพในตัวตน โดยพ่อผายได้นำคุณค่าและศักยภาพเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดมูลค่าสูงสุด "ต้องมีสติสัมปชัญญะ สติคือมองอนาคตแล้วก็มองไปทางหลัง อดีตที่ผ่านมาทำอะไรบ้าง อนาตจะทำอะไรบ้าง" "พ่อบอกว่า ลูกท่องให้ได้นะ กินอิ่ม นอนอุ่น อยู่ดี หนี้หมด เท่านี้เอง วิชาเศรษฐี พ่อคือใคร พ่อคือในหลวงนี่แหละ พ่อของกระหม่อม แค่นี้เอง เดินตามรอยพ่อ" พ่อผาย สร้อยสระกลาง ผู้ใหญ่บ้าน
คู่มือพ่อแม่ พัฒนาลูกน้อยด้วยหนังสือ ลูกรักกับหนังสือเล่มแรก
“หนังสือ” สิ่งมหัศจรรย์ที่ลึกซึ้ง พ่อแม่สามารถส่งมอบให้ลูกได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ การเลือกสรรหนังสือเล่มแรกเพื่ออ่านให้ลูกฟังเมื่ออยู่ในท้อง จะสร้างสายสัมพันธ์อันดีสุดแสนอบอุ่น และเมื่อลูกคลอดลืมตาดูโลก เสียงที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังจะเสริมและพัฒนาการการเรียนรู้ของลูกได้อย่างวิเศษ เมื่อลูกเติบโตการที่พ่อแม่อ่านหนังสือพร้อมกับลูกจะเป็นการบ่มเพาะการเรียนรู้ที่ดี ช่วยเสริมสุขภาวะทางปัญญา ทางสมองได้เป็นอย่างดี
วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
คุณอรทัย ชะฟู จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ
วิชาชีวิต Live 6 เตรียมลาจาก โดยอรทัย ชะฟู vs พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
เผชิญหน้ากับการลาจากอย่างเข้าใจ ดูแลทั้งความรู้สึกผู้จากไปและผู้ดูแล ให้เราทุกคนพร้อมรับมือกับช่วงเวลายากลำบากอย่างไม่ยากเย็นจนเกินไป “คนป่วยที่มีความสุข คือคนที่มีครอบครัวแข็งแรง ทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แบ่งหน้าที่กันทำ มีจุดศูนย์รวมเดียวกันคือผู้ป่วย” พ่อตุลย์ เพจ แม่นุ่น
รู้ทันอารมณ์คนเป็นพ่อแม่ คำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ถึงแปดขวบ
ลูกคือกระจกสะท้อนพ่อแม่ คู่มือรู้เท่าทันอารมณ์ตนเองของคนเป็นพ่อแม่ เพื่อการเลี้ยงดูลูให้เติบโตขึ้นมามีพัฒนาการที่ดีทั้ง อารมณ์ ความรู้สึก และสติปัญญา หากอยู่ในครอบครัวที่มีสัมพันธภาพที่อบอุ่น
สูบบุหรี่ในบ้าน ผลร้ายสู่คนใกล้ชิด
เผยผลสำรวจที่ผ่านมา พบ 82 % ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ในบ้าน ทำให้วัยรุ่นมีแนวโน้มติดบุหรี่มากกว่าบ้านที่ปลอดบุหรี่ถึง 3 เท่า เพราะฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงลูกติดบุหรี่ ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ เรามาเริ่มต้นทำให้บ้านเป็นที่ปลอดบุหรี่
กิจกรรมวันปิดเทอม
เมื่อถึงช่วงปิดเทอม พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี ซึ่งเป็นวัยแห่งการแสวงหาความรู้ และท้าทายความแปลกใหม่ ควรจะลองหากิจกรรมทำร่วมกับลูก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพากันไปออกกำลังกาย ไปท่องเที่ยว เข้าค่าย และให้ลูกลองไปสร้างเสริมประสบการณ์การทำงานพาร์ตไทม์ หรือกิจกรรมจิตอาสาก็จะเป็นผลดีต่อพัฒนาการทางจิตใจ
เข้าใจวัคซีนผิดๆ ทำเด็กป่วย
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกังวลเรื่องการฉัดวัคซีนให้ลูก เรามาทำความเข้าใจเรื่องวัคซีนกันเถอะ วัคซีนแม้จะทำจากไวรัสและแบคทีเรีย แต่ก็ไม่ได้เป็นพิษ กลับเป็นสารกระตุ้นให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีนไม่ได้ก่อให้เกิดโรคออทิสติก หรือทำให้เป็นหมัน มีบุตรยาก เพียงคุณพ่อคุณแม่นำลูกไปรับวัคซีนตามวัย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ได้
ฝึกลูกน้อยกินผัก
มาสร้างความคุ้นเคยให้เด็กชอบกินผักกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็ก อายุ 6 เดือน เลือกผักรสกลาง ๆ ปรุงให้เปื่อย และย่อยง่าย อายุ 10 – 12 เดือน เลือกผักมีกากใยที่เคี้ยวได้ อย่างกระหล่ำปลี พออายุ 2 – 3 ขวบ กินได้ทั้งผัดสดและผักดิบ นำมาผสมในเมนูโปรดของลูก สำหรับเด็กโต นำผักมาดัดแปลงทั้งรูปร่างและสีสันให้น่ากินมากยิ่งขึ้น
เทคนิคจูงใจให้เด็กเริ่มอ่าน
เมื่อการอ่านคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เราจึงควรส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็ก ๆ ตั้งแต่ยังเป็นเจ้าตัวน้อย วิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ เริ่มเปิดหนังสือเพื่อ 'อ่าน' ด้วยความสุขและความรักนั้นจะต้องทำอย่างไร ดูเทคนิคจากอินโฟกราฟิกนี้ได้เลย