สื่อศิลป์ SE -เพ็ญจมาส ศิริกิจวัฒนา : กับ SE ย่านบ่านซ้าน ภูเก็ต
วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต แม้จะเป็นน้องใหม่ในการก้าวสู่การทำงานร่วมกับ สสส. และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ แต่การเริ่มต้นจาก “ทุนวัฒนธรรม” ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.ภูเก็ต นับเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนได้ไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตและความเชื่อของคนภูเก็ตที่มีความหลากหลาย ทั้งการกินของคนภูเก็ตที่กิน วันละ 7 มื้อ เทศกาลถือศีลกินผัก , การเดินที่มีเสน่ห์ด้วย “รถโพถ้อง” สองแถวนำเที่ยว สัมผัสย่านการค้าเก่าที่สำคัญ ของ จ.ภูเก็ต หรือ “อังมอเหลา” คฤหาสน์เก่าของนายเหมือง จ.ภูเก็ต ทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ จึงเป็นพลังให้วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม ย่านบ่านซ้าน จ.ภูเก็ต ถูกบอกต่อ และส่งพลังไปสู่วงกว้างได้ในอนาคตอันใกล้นี้ กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jPZudJKye-/
The Reading อ่านสร้างสุข โดย อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ EP.2
พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูผู้สอนควรประดับประดาตัวเองด้วยนิทาน ด้วยการสร้างความเคยชินและศึกษาเรื่องราวในนิทานเรื่องนั้นๆ ก่อนที่จะนำมาเล่าให้เด็กๆ ฟัง เพราะการอ่านนิทานให้สนุกมีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มนั้นจะเป็นเครื่องมือช่วยปลูกฝังทั้งความดีงาม การรักการอ่านและความผูกพันในเรื่องราวของหนังสือให้กับเด็กๆ ได้ The reading อ่านสร้างสุข กับ อาจารย์เกริก ยุ้นพันธ์ ตอนที่2 อาจารย์เกริก จะมาแนะนำเทคนิควิธีการอ่านนิทานที่จะช่วยเพิ่มอรรถรสและดึงความสนใจจากเด็กๆ ให้มีส่วนร่วมในการฟังนิทานให้สนุกมากขึ้น ด้วยนิทานเรื่องมาร์สแมนกับยายเช้า ตอน ปราบปีศาจบุหรี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานของอาจารย์เกริก
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ทวีวรรณ กมลบุตร
บทความ เส้นทางสู่การตื่นรู้ “ลมหายใจเพื่อส่งต่อปีติสุข” โดย คุณ ทวีวรรณ กมลบุตร โค้ช วิทยากร ที่ทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ กับมุมมอง ‘วิชาชีวิต’ และเส้นทางสู่ ‘การตื่นรู้’ ที่ได้จากการสะสมการเรียนรู้ทักษะ ทั้งความรู้ในการพัฒนาตนเองในมิติต่าง ๆ รวมถึงจุดเปลี่ยนในชีวิต ที่ได้กลายเป็นบทเรียนที่สร้างการเติบโตภายในและนำไปสู่การ “ตื่นรู้” ซึ่งทำให้ค้นพบความสุขที่แท้จริง ที่อยู่ในความว่างของความคิด เราจะพบกับความสุขได้ เมื่อใจสงบ เมื่อเรารู้ใจของเราเอง เมื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจความจริงแท้ของชีวิต
เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี
เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่ และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่ เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19 การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน
ปีใหม่นี้ มาเลิกหลงทางกันเถอะ รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาชีวิต เพื่อนร่วมทาง ผู้นำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในขัดเกลาตัวเองให้สงบสุขจากภายใน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในชีวิตรอบด้าน เป็นเหตุที่ผลักดันให้เธอเข้าสู่เส้นทางการเดินทางภายใน จนเกิดการตระหนักรู้ กลายเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้ง นำไปสู่การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานทางสายจิตวิญญาณ ที่เธอนำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในของเธอเอง ซึ่งเธอนิยามตัวเองว่าเป็น "เพื่อนร่วมทาง"
เปิดหัวใจผู้ดูแล: ภาริอร วัชรศิริ กับ 11 ปีของการดูแลแม่ป่วยอัมพฤกษ์
“ความเศร้าอยู่กับเราแค่ชั่วคราว แต่ความเสียใจจะอยู่กับเราตลอดไป” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ “นครสวรรค์” ที่พาย หรือ ภาริอร วัชรศิริ ชื่นชอบ พายให้ความหมายกับความเศร้าว่าคือห้วงอารมณ์ที่คิดถึงเมื่อไหร่ก็เศร้า และจะหายไปในวันหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไป แต่ความเสียใจจากการทำหรือไม่ทำอะไร เมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันจะยังคงอยู่เป็นประสบการณ์หนึ่งในชีวิตที่ไม่เคยลืม สำหรับพายเธอได้ทำหน้าที่ในการดูแลแม่ที่เป็นอัมพฤกษ์ จากเส้นเลือดในสมองแตก มาเป็นเวลากว่า 11 ปี แม้วันนี้แม่ได้จากไปแล้ว พายยังคิดถึงแม่อยู่เสมอ และเธอได้ทำหน้าที่ดูแลแม่อย่างดีที่สุดแล้ว แม่เป็นคนป่วยที่มีความสุขที่สุดในโลก “เราไม่ได้ดูแลคนป่วยเพื่อคนป่วยอย่างเดียว แต่เราดูแลคนป่วยเพื่อดูแลเราเองด้วยเช่นกัน”
เสพ มี สติ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คุณจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าข่าวสารข้อมูลที่คุณติดตามในช่องทาง Social Media คือเรื่องจริง เสพสื่ออย่างมีสติ จะได้ไม่หลงเป็นเหยื่อข่าวลวง
check ก่อน Share โดย สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การโพสต์ภาพในวัยเด็กทาง Social Media คุณว่าเหมาะสมหรือไม่ ? พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้ใหญ่ควรคิดก่อนโพสต์และแชร์ เพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน
คิด Young โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ความสนุกบนโลกออนไลน์ สร้างความทุกข์ให้ผู้อื่นหรือไม่ ? การสื่อสารและโพสต์ แชร์ เรื่องราว และรูปภาพต่าง ๆ ควรเคารพสิทธิของผู้อื่น มิใช่นำ Social Media มาเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งผู้อื่น
ชุมชนรับน้ำ จังหวัดอุทัยธานี โดย จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชุมชนรับน้ำ (เกาะเทโพ) จังหวัดอุทัยธานี เป็นชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี แต่คนทั่วไปในสังคมกลับไม่รับรู้ถึงปัญหาของชุมชนดังกล่าว กลุ่มจึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสะท้อนปัญหาดังกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้