สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน
“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (3)
ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (2)
ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง” ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (1)
ด้วยความรักในธรรมชาติ และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน เทคนิคการย้อมให้สีติดทน อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า
หนังสือเสียง นิทานกระต่ายน้อยเจ้าปัญญา
กระต่ายน้อยเจ้าปัญญา 2 พี่น้อง เจี๊ยบและจิ๊บ เป็นกระต่ายขยันและกตัญญู เมื่อแม่กระต่ายไม่สบายก็รีบมาดูแล เมื่อสุนัขจิ้งจอกจะมาทำร้ายแม่ สองพี่น้องก็ใช้พลังความรักใคร่และสามัคคีกัน ช่วยกันวางแผนกำจัดสุนัขจิ้งจอกจนพ้นภัยร้ายได้สำเร็จ
ครัวหลังเขา-ต้มไก่สมุนไพร(ม้ง)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชนเผ่าม้ง (ม้งขาว) ที่บ้านม้งแปดหลัง จ.เชียงราย พร้อมเมนูสาธิต "ต้มไก่สมุนไพร" ที่ใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่อยู่คู่ทุกหลังคาเรือนของชนเผ่าม้งที่ปลูกไว้ทั้งใช้ทำอาหารและใช้เป็นยารักษาโรค นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุง โดยนำสมุนไพรใส่เข้าไปใส่ในไก่ดำ แล้วนำไปต้มเป็นเมนูอาหารใช้ดูแลสุขภาพ ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวม้งในการใช้อาหารดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน
4 ขั้นตอนพาลูกเรียนรู้ จากพื้นที่ชุมชน
พื้นที่ชุมชนเป็นอีก 1 พื้นที่ดีและพื้นที่สร้างสรรค์ที่น่าสนใจ ลองพาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้จากชุมชน ด้วยเทคนิควิธีการ 4 ข้อนี้ ได้ทั้งความสนุก ความคิดและความรู้ไปพร้อม ๆ กัน