Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ปลอดภัย" พบ 30 ข้อมูล

หลักสูตรวัยเพชร รู้ทันสื่อ

วัยเพชร คือ วัยที่เปรียบได้ดั่ง ”เพชร”ที่ผ่านการเจียระไนด้วยประสบการณ์ แต่ด้วยความถดถอยทางร่างกายจึงทำให้วัยเพชร หรือผู้สูงอายุมีความรอบในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบันน้อยลง "หลักสูตรวัยเพชรรู้เท่าทันสื่อ" เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติในโครงการสูงวัยไม่เสพสื่ออย่างสุ่มเสี่ยงที่มีเนื้อหาสาระเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านกิจกรรม เนื้อหาและวิธีการสอนในแต่ละบทมีลักษณะสั้นกระชับเข้าใจง่าย เพื่อให้ง่ายต่อการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อและภูมิคุ้มกันในการบริโภคสื่อให้กับผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากการเสพข้อมูลข่าวสารในแต่ละวัน

คู่มือ มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ

ในช่วงที่โลกของเรากำลังประสบภาวะวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่และมีมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาระยะห่างระหว่างกัน “มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” คู่มือที่รวบรวมสาระความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันสื่อและรับมือรูปแบบสื่อ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมไปถึงกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อวางแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม

รายงานสรุปการถอดบทเรียนเวที International Conference on Fake News

E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก 

ผัก ระยะปลอดภัย

เพราะผักตามท้องตลาดทั่วไปที่เราไม่รู้ที่มา อาจเป็นผักที่ปลูกด้วยการใช้สารเคมี โดยไม่มีการตรวจสอบควบคุม ส่วนผักที่มีตรารับรองก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัยแบบ 100% จึงเป็นเหตุผลที่ผู้บริโภคอย่างเราต้องรู้จักเลือกและแยกแยะผักให้เป็น 

ความปลอดภัยทางน้ำ

นิทาน “ความปลอดภัยทางน้ำ”  เล่าถึงวิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัยทางน้ำ โดยเด็กทุกคนจำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการว่ายน้ำให้แข็งแรง รู้ถึงวิธีการลอยตัวในน้ำเพื่อรอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่  รวมทั้งเมื่อพบเพื่อนจมน้ำ ไม่ควรกระโดดลงน้ำไปช่วยเอง  ควร” ตะโกน- ขอความช่วยเหลือ , โยน – วัสดุหรือสิ่งของที่ลอยน้ำได้ให้คนจมน้ำเกาะลอยตัว, ยื่น – ยื่นวัสดุที่ยาวลงน้ำให้จับเพื่อดึงคนจมน้ำเข้าหาฝั่งอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังนำเสนอการดูแลตนเองและทรัพย์สินเมื่อเกิกดเหตุน้ำท่วมหรืออุทกภัยอีกด้วย

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)

โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย

วิจารณญาณ โดย คณะมีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

สร้างสรรค์สื่อภาพเคลื่อนไหว ในประเด็นเนื้อหาเรื่องของการเสพสื่อและการใช้สื่อบนความหลากหลายของคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นวัยใดเพศใด ทุกคนมีโอกาส และสามารถเป็นผู้รับตัวกลาง และผู้ส่งต่อสื่อได้ทั้งสิ้น “หากทุกคนคือสื่อ แล้วสื่อแบบไหนคือความจริง หากต้องใช้หรือเสพสื่ออย่างมีวิจารณญาณ?” จึงเป็นประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์ของกลุ่มของเรา

10 เทคนิคเดินทางด้วยรถตู้อย่างปลอดภัย

รถตู้โดยสาร เป็นอีกทางเลือกของการเดินทางที่สะดวกในปัจจุบัน  เทคนิคการเดินทางรถตู้อย่างปลอดภัยคือ ต้องเลือกโดยสารรถตู้ทะเบียนสีเหลืองที่มีป้ายบอกระยะทางวิ่งที่ชัดเจน พนักงานขับรถสุภาพ ไม่ขับเร็วเกินไป ไม่ควรโดยสารรถตู้ที่เกินระยะทาง 300 กิโลเมตรขึ้นไป เพราะพนักงานขับรถอาจมีอาการอ่อนเพลีย ทำให้เกิดอันตรายบนท้องถนนได้ และที่สำคัญผู้โดยสารต้องขึ้น – ลง รถตู้ที่ป้ายจอด  หรือจุดจอดเท่านั้น รวมถึงคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง

สปอตโปรโมท ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่

สปอตโปรโมทขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ชวนไปดูเด็ก ๆ จาก 7 พื้นที่ที่ลุกขึ้นมาสืบค้นอาหารท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำมาเรียนรู้วัฒนธรรม เข้าใจความต่าง ๆ สื่อสารความมั่นคงของอาหารที่สอดคล้องไปกับทั้งเรื่องเท่าทันสื่อและสิทธิมนุษยชน ดังนั้น สำหรับเด็ก ๆ แล้ว เรื่องกินไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป

ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน แกงส้มดอกแคปลาดุก จังหวัด แม่ฮ่องสอน

เมนู 'แกงส้มดอกแคปลาดุก' แสนอร่อย ฝีมือน้อง ๆ เยาวชนที่โรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กและเยาวชนที่นั่นเรียนรู้ต่อยอดโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมอาหารปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังเกิดการสืบค้นเมนูท้องถิ่น เรียนรู้วิธีการทำอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีชีวิตพอเพียง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.