Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "นคร" พบ 35 ข้อมูล

นิทาน สวนผักของตา

โอโห้! ผักสวนครัวของคุณตามีเยอะจัง! แถมผักพวกนี้ยังมีประโยชน์มากมายและไร้ยาฆ่าแมลงอีกด้วย เหมียวเหมียวแมวส้มบ้านคุณตาก็มาช่วยคุณตาเก็บและปลูกผักกันอย่างสนุกสนาน สวนผักของตา นิทานภาพสีสันสวยงาม โดย คุณระพีพรรณ พัฒนาเวชและวาดภาพโดย คุณอุษา บรรจงจัด จัดทำขึ้นเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเยาวชนและครอบครัวที่มาพร้อมกับความรู้ใกล้ตัวเรื่องพืชผักสวนครัว ที่ผู้ใหญ่อ่านได้ เด็กๆ ได้อ่านยิ่งดี

ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้

“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว

สารคดี The Heart Explorer เดินทางใจ ตอนที่ 5 พิช วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล พบ ป้ามล ทิชา ณ นคร

พิช วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล นักแสดงชื่อดังจากหนังรักแห่งสยาม ได้มาเรียนรู้บทเรียนสำคัญที่ “บ้านกาญจนาภิเษก” ภายใต้การดูแลของ ป้ามล ทิชา ณ นคร พิชค่อยๆ พาตัวเองไปเรียนรู้ ไปสัมผัส หัวใจของป้ามล และหัวใจของเยาวชนทุกคนในที่นั่น ซึ่งทำให้หัวใจของเขาเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย

New Heart New World 2 ทิชา ณ นคร

แม้ว่าคนเราจะเลือกเกิดไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับชีวิตและสังคมไม่ได้ ในสังคมที่มีผู้กระทำความผิด นอกจากการใช้กฎหมายเป็นบทลงโทษและรับมือกับผู้กระทำความผิดแล้ว ความเมตตาและโอกาสก็เป็นอีกหนทางที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและชีวิตของคนเหล่านี้ได้ เพราะคงไม่มีใครที่อยากจะทำผิดไปตลอดชีวิต New Heart New World 2 คลิปวิดีโอสัมภาษณ์ คุณ ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กับความเมตตา ความเข้าใจและโอกาสที่สังคมของเราต้องการ รวมไปถึงความดีในภาคปฏิบัติจริงที่จะเป็นตัวสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม  

New Heart New World 2 นคร ลิมปคุปตถาวร

นคร ลิมปคุปตถาวร เจ้าของโครงการสวนผักคนเมือง ผู้ใช้ธรรมชาติจาการทำการเกษตรยั่งยืนสู่การตื่นรู้เพื่อตนเองและผู้อื่น จากคนที่ชอบอยู่กับตนเอง ไม่ชอบการมีปฏิสัมพันธ์กับใคร ๆ เริ่มเปลี่ยนมุมมองในการชีวิต  จากเรื่องง่าย ๆ ของการปลูกผักเพื่อกินเอง สู่ประโยชน์และความสุขที่ได้รับนอกเหนือจากผักที่ปลูก คือ การมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากได้กินผักปลอดสารเคมีที่ใส่ใจดูแล , การปล่อยวาง รู้ทันความคิดของตนเอง เมื่อได้ทำเกษตรในสวน  และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ว่าเราต้องอยู่อย่างพึ่งพาตนเอง พึ่งพาผู้อื่นได้ พึ่งพากันและกัน นั่นคือ ทักษะของชีวิตในความเป็นจริง

ปลูกผักสวนครัว ปลูกความรัก

สื่อภาพอินโฟกราฟิกแสดงให้เห็นประโยชน์ของการปลูกพืชผักสวนครัว ที่ได้ประโยชน์ในสุขภาวะทุกมิติทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แนะนำสำหรับครอบครัว โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ทุกครอบครัวต้องกักตัวอยู่ในบ้าน 

เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Retreat ใส่ปุ๋ยความรักในผักสวนครัว

ฝึกให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้และเชื่อมโยงกับธรรมชาติผ่านการปลูกพืชผักสวนครัวง่ายๆ ภายในบ้าน ของเรา หรือพื้นที่เล็ก ๆ ที่พอจะทำได้ นอกจากเราจะได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ยังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ ร่างกายอีกด้วย

The Learner Vol.4 : ป้ามล ทิชา ณ นคร

ป้ามล ทิชา ณ นคร ผู้หญิงที่เป็นทั้งครู นักสิทธิเด็ก เยาวชน และสตรี และ ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หน่วยงานราชการในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ผู้บุกเบิกแนวทางดูแลเยาวชนที่ก้าวพลาดและต้องคดีด้วยวิธีคิดใหม่ ไม่คุมขัง แต่สร้างความเข้าใจปลุกจิตสำนึกด้านดีของพวกเขาให้กลับมามีพลังเพื่อคืนคนดีกลับสู่สังคม 

Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า

หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้

The Last Life Lesson ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย’ โดย นอ.นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์เรียนรู้วิธีการจัดการความเจ็บปวดอย่างถูกวิธี ลดความเจ็บปวดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการให้มอร์ฟีน การหยุดยา อดน้ำอดอาหาร ที่ช่วยในการบรรเทาความปวดที่เกิดขึ้น    

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.