นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ - กระบวนการตายตามธรรมชาตินั้นสั้นและเจ็บปวดน้อยกว่า
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
หนูจ๋าสิไปไส
“หนูจ๋าสิไปไส” โดย ระพีพรรณ พัฒนาเวช นิทานภาพที่ชักชวนให้เยาวชนทำกิจกรรมสร้างความสุขโดยการสัมผัสธรรมชาติรอบตัว เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะและพลังในการเรียนรู้ โดยได้บอกเล่าเรื่องราวความผูกพันระหว่างเด็กกับผู้คนแวดล้อมและวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ
เสม็ด Let s fun โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวที่เสม็ดมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ ช่วยกันรักษาความสะอาด เพื่อให้ทะเลยังคงสวยงาม
น้ำกำลังจะตาย โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ น้ำกำลังตาย ” เพราะคนมองไม่เห็นคุณค่า และใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะไม่คิดว่าน้ำจะหมด , เหมือนมองน้ำเป็นของตาย ซึ่งของตายนั้นสามารถตายได้จริงด้วยน้ำมือของเรา , ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ เดือนนี้คุณฆ่าน้ำไปเท่าไหร่ ” ( ค่าน้ำ = สิ่งที่ใช้ไป = ฆ่าน้ำอย่างอ้อมๆ )
เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
คุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย (ปีที่ 2) นำเสนอประเด็นสำคัญที่น่าห่วงใยและทางออกในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ภายใต้ข้อมูลฐานงานวิจัยและวิชาการของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นบทบาทของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็ก โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก ความปลอดภัยและป้องกันการการบาดเจ็บและสารพิษในเด็ก โรคติดเชื้อในศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาการบริโภคสื่อของเด็ก รวมทั้งสิทธิและความเสมอภาคของเด็กในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
วิธีย้อมผ้าด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติ โรงเรียนบ้านโทะ จังหวัดศรีสะเกษ
เรียนรู้วิธีการย้อมผ้าสีธรรมชาติ ภูมิปัญญาแท้ ๆ เอกลักษณ์ของชุมชนบ้านโทะ จ.ศรีสะเกษ ไปพร้อม ๆ กับน้อง ๆ เยาวชนโรงเรียนบ้านโทะ จากเส้นไหมธรรมดา ๆ นำมาต้มกับครั่ง แช่น้ำสารส้ม แล้วนำไปล้าง ตากแดด นอกจากได้ไหมสีสวย ยังเรียนรู้ถึงคุณค่าและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างงดงามให้กับคนรุ่นใหม่
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (3)
ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (2)
ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง” ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน
สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (1)
ด้วยความรักในธรรมชาติ และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน เทคนิคการย้อมให้สีติดทน อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า
ตูมตูม บานบาน
“ตูมตูม บานบาน” นิทานที่จะแนะนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักดอกไม้จากรูปร่างที่มีทั้งตูมและบาน โดยสอดแทรกเรื่องของสีสัน จำนวน ให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนทั้งการนับจำนวนเลข พร้อมทั้งเรียนรู้เรื่องสีสันต่างๆ ไปพร้อมกันอย่างเพลิดเพลิน