วิชาชีวิต บทที่ 13 การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
เมื่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียงจนถึงผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งที่ต้องเตรียมมีทั้งมิติทางของทางร่างกายและจิตใจ ทั้งของผู้ป่วยและผู้ดูแลผสมผสานกันในแบบเฉพาะของครอบครัวนั้นๆ เช่น การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นที่บ้าน การติดต่อประสานเรื่องอาการกับบุคลากรการแพทย์ ผู้ป่วยไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาการหนักที่บ้านทำอย่างไร ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านทำอย่างไร
วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา
วิชาชีวิต บทที่ 11 การรักษาใจผู้ป่วยและผู้ดูแล - พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน และ อรทัย ชะฟู
เมื่อเจ็บป่วย นอกจากสภาพร่างกายจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงแล้วสภาพจิตใจย่อมส่งผลกระทบตามไปด้วย การดูแลจิตใจของผู้ป่วยจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย หน้าที่ดูแลทั้งกายและใจนี้นอกจากบุคคลากรทางการแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาแล้ว บทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือผู้ดูแลที่เป็นผู้บริบาล คอยสังเกตและดูแลทั้งกายและใจของผู้ป่วย แม้จะดูแลด้วยความรัก ด้วยจิตใจที่เป็นมิตรต่อกัน แต่การดูแลต่อเนื่องยาวนานอย่างใกล้ชิดย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ ความเหนื่อยล้าและขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นได้ การทำความเข้าใจในสภาวะโรค สภาพจิตใจ ของผู้ป่วย และการดูแลตนเอง ดูแลใจ ของผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
วิชาชีวิต บทที่ 8 palliative care การดูแลแบบประคับประคอง - รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล
ผู้ป่วยบางรายจะเกิดภาวะโรคที่ไม่ตอบสนองการรักษาให้หายขาด หรือมีการรักษาที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความทุกข์ทรมานแต่ไม่เกิดความผลรักษาตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยระยะท้าย การดูแลแบบประคับประคอง(Palliative care) จึงเป็นทางเลือกการดูแลที่ให้ผู้ป่วย ที่ดูแลทั้งทางกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ด้วยทีมวิชาชีพสหสาขา เมื่อไรควรเริ่มการดูแลแบบ Palliative care ใครที่ต้องการการดูแลแบบ Palliative care Advance care plan Living will
คู่มือดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเจ้าตัวเล็ก ฟ ฟัน สนุกจัง
รู้หรือไม่ ? เด็กที่มีฟันผุ จะมีพัฒนาการและการเติบโตที่ช้ากว่าเด็กที่มีสุขภาพฟันที่ดี คู่มือการดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเล่มนี้ เป็นแนวทางการดูแลฟันให้กับเจ้าตัวน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ จนกระทั่งมีฟันแท้ที่สมบูรณ์
คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง
4 โรคภูมิแพ้ที่คนไทยเป็นมากที่สุด คือ แพ้ผิวหนัง แพ้ยา แพ้อาหาร และแพ้อากาศ สิ่งที่คนเป็นภูมิแพ้ควรรู้เพื่อดูแลตนเอง คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ตัวเองแพ้ หันมาใช้สิ่งของหรือสินค้าออร์แกนิก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ งดเครียด และอย่านอนดึก
อย่ามองตาได้ไหม ถ้าเธอ..ไม่แคร์
เมื่อเราหลีกเลี่ยงการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ ก็ควรจัดหาที่วางอุปกรณ์ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ เว้นระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสม สวมแว่นตากรองแสง หรือหาอุปกรณ์ช่วยลดแสงสะท้อนจากจอภาพ ขยายตัวหนังสือให้ใหญ่เพื่อมองสะดวก หากตาแห้งกระพริบตาถี่ ๆ หรือหยอดน้ำตาเทียมช่วย เป็นการช่วยดูแลและถนอมดวงตาของเราให้มีสุขภาพดีไปนาน ๆ
เราเลิกกันเถอะ บอกเลิกพฤติกรรมเคยชินเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ชวนกันมาบอกเลิกพฤติกรรมที่ส่งผลเสียกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น เลิกกินไปเล่นมือถือไป เลิกนั่งไขว้ห้างจะทำให้กระดูกสันหลังคด เลิกเขี่ยผักทิ้ง เลิกดิ่มเหล้าพ่นบุหรี่ เลิกกินแล้วนอน เลิกเครียด เลิกโกรธ เลิกเศร้า เลิกพฤติกรรมเหล่านั้น แล้วหันมาเริ่มต้นรักการออกกำลังกายกันเถอะ
ไข้เลือดออก รู้ทันรับมือได้
ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อเราถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสนี้กัด เราก็จะติดเชื้อเป็นไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออกจะมีไข้ขึ้นสูง 2-3 วัน เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีจุดแดงๆ ขึ้นตามตัว การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นให้กินยาลดไข้ ดื่มน้ำมาก ๆ ทดแทนการอาเจียน และเฝ้าดูอาการไม่ให้เกิดภาวะช็อก หากถ้าอาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
Primary Care ดูแลหัวใจใกล้ชิดต่อเนื่อง
Primary Care คือ หมอประจำตัว หมอประจำครอบครัว และหมอประจำชุมชน มีรูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวม ทั้งกาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการผสมผสานดูแลสุขภาพทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู Primary Care เป็นการบริการที่ดูแลต่อเนื่องใกล้ชิด ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงคนชรา โดยมีทีมแพทย์สหวิชาคอยดูแล ทั้งแพทย์ เภลัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักกายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา
รูปแบบการบริการของ ทีมหมอครอบครัว
ทีมหมอครอบครัว เป็นรูปแบบของการดูแลสุขภาพที่ครบทุกมิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บริการของทีมหมอครอบครัวครอบคลุมทั้งที่บ้าน ศูนย์อนามัย รพ.สต. หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยทีมหมอครอบครัวจะเน้นการให้บริการด้านสุขภาพที่ผสมผสาน ตั้งแต่การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูในทุกเพศทุกวัย ทุกปัญหาสุขภาพ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระยะเรื้อรัง ไปจนถึงระยะสุดท้าย สนใจใช้บริการติดต่อ รพ.สต.ใกล้บ้าน
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน