Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ดิจิตอล" พบ 10 ข้อมูล

ผลสำรวจข้อมูล ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม

“ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม: Why Cofact Matters” อินโฟกราฟิก สรุปผลการสำรวจ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวลวงและข้อมูลปลอม ปัญหาที่สร้างความสับสนและความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสื่อสังคมออนไลน์ภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสรุปผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 670 คน ที่เคยตรวจสอบข่าวลวงและข้อมูลปลอมผ่านโคแฟค พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุต้นตอของข่าวลือ สาเหตุของการเผยแพร่ข่าวลวงซ้ำ สิ่งที่น่ากังวลและข้อมูลปลอมที่พบเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์มากที่สุด รวมถึงเสนอทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงให้กับสังคมในระยะยาว

ตายแล้วโปรไฟล์เฟซบุ๊กไปไหน จัดการมรดกดิจิตอลของเราก่อนวันที่บัญชีต่างๆ จะออฟไลน์ไปตลอดกาล

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson   จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมลของเราเมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป รูปที่โพสต์จะยังอยู่ไหม เพื่อนของเราจะกลับเข้ามาอ่านข้อความเก่าที่เคยคุยกับเราได้หรือเปล่า

การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557

   หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย    งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่  

เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดช่องและรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง หนึ่งในกลยุทธ์ที่รายการนำมาใช้คือการสอดแทรกเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ หยาบโลน เพื่อเป็นจุดขายให้รายการกลายเป็นที่นิยม มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษาประเด็น "เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินขึ้น" เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเนื้อหาเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ในเนื้อหาทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา โดยศึกษาเชื่อมโยงกับความคิดเห็นของสังคมในโลกออนไลน์ทาง Facebook, Youtube, Pantip ทั้งนี้เพื่อสะท้อนผลกระทบทั้งในแง่ทัศนคติและค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม

การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD

รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

อ่านสร้างสุข 21 การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ สุขชีวิต

อ่านสร้างสุข ๒๑ การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ – สุขชีวิต  รวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาที่สำคัญจากหลายเทศถึงประโยชน์ของการอ่านที่ส่งผลต่อสุขภาพเชิงคุณภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจทั้งยังช่วยป้องกันโรคและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกว่า การอ่านหนังสือเล่ม และการอ่านบนเครื่องมือสื่อสารให้ผลต่อร่างกายและจิตใจแตกต่างกันหรือไม่ เหตุใดยังการอ่านหนังสือเล่มจึงยังได้รับความนิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน 

Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น

สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)

"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้"   เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School  

ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล

การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.