สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี
ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"
วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู
“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย
Leadership for Transcendence ภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น
หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงมาจากการสรุปสาระสำคัญจากการอบรมเชิงปฏิบัติการภาวะการนำเพื่อการข้ามพ้น (Leadership for Transcendence) ซึ่งออกแบบหลักสูตรโดย คุณวิกรัม ภัฏฏ์ ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเครือข่าย Leadership that Works ในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ มุ่งเน้นการให้ผู้นำกลับมาเชื่อมโยงกับปัญญาภายใน เท่าทันเสียงตัดสิน ฝึกฝนการเปิดรับญาณทัศนะ รับฟังเสียงภายในที่นำทางไปสู่เป้าประสงค์แห่งชีวิต ร่วมค้นหาเส้นทางการเรียนรู้และเติบโตใน “ขอบ” หรือพื้นที่ระหว่างความรู้ และไม่รู้
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 - 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 5
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 5 "ข้าพเจ้าเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใฝ่ฝันจะขยายจิตวิญญาณของมนุษย์ ในบ้านของเรา เราแสวงหาเสรีภาพในอำนาจที่จะใช้ภาษาของเรา เสรีภาพที่จะจินตนาการในวรรณกรรมของเรา เสรีภาพของจิตวิญาณในความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพของความคิดในสภาพแวดล้อมทางสังคม โอกาสเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอำนาจการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต และเป็นสิ่งเดียวที่จะให้เสรีภาพที่แท้จริงแก่เรา เสรีภาพสูงสุดของมนุษย์ นั่นคือ เสรีภาพของการยึดถือหลักธรรมร่วมกันในโลกมนุษย์" จากเรื่อง อุดมคติของการศึกษา โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1929