การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการเด็ก
ผลการศึกษาเรื่อง โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ช่องฟรีทีวี (ช่อง 3,5,7,9) โดยมีเดียมอนิเตอร์ ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ พบมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กถึงร้อยละ 94 ล้วนแต่เป็นการโน้มน้าวให้บริโภคเกินจริง บริโภคทดแทนอาหารมื้อหลัก หากไม่บริโภคจะด้อยกว่าคนอื่นๆ
เหล้า กับ ความเป็นจริง
คลิปวิดีโอในโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' กระตุกแนวคิดความเชื่อผิด ๆ กับความจริงของการดื่มเหล้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เปรียบเทียบความเชื่อหลงผิดและความจริงจากการดื่มเหล้าอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
Jockey Whiskey "อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา"
คลิปวิดีโอจากโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' เรื่องราวสะท้อน ล้อเลียน กระตุกต่อมคิดให้หันมามองโฆษณาเหล้าเมื่อเทียบกับความจริงของเหล้าที่มีต่อผู้ดื่ม นำเสนอภาพเชิงเปรียบเทียบให้เห็นโฆษณาชวนเชื่อซึ่งขัดกับความจริงอย่างตรงกันข้าม ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
นิทานภาพ กระต่ายน้อยไม่ตื่นตูม
'กระต่ายไม่ตื่นตูม' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญของครอบครัวในการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมทักษะรู้ทันสื่อให้กับเด็ก นำเสนอผ่านเรื่องราวของครอบครัวกระต่าย เมื่อคุณแม่กระต่ายเปิดนิทานออนไลน์ให้ลูกดู แล้วต้องเจอโฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ ทำให้ลูกกระต่ายน้อยเกือบหลงเชื่อ แต่โชคดีที่คุณแม่และคุณพ่อกระต่ายสอนให้ลูกรู้เท่าทันสื่อ ลูกกระต่ายจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของโฆษณา
ใจดีสู้สื่อ โฆษณาคอลลาเจน 23Mar13
ใจดีสู้สื่อ ตอน โฆษณาคอลลาเจน เนื้อเรื่องตอนนี้ไปรู้จักกลลวงของโฆษณาขายสินค้าออนไลน์ ที่ผู้ขายสินค้าวางกลยุทธ์หลอกล่อผู้ซื้อไว้มากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าความงาม การโฆษณาชวนเชื่อเรื่องคอลลาเจนที่จะทำให้สวย หล่อ กลายเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วเป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้ล่อลวงผู้บริโภคให้ตกเป็นเหยื่อเท่านั้น
ใจดีสู้สื่อ ข่าว เท็จจริงแค่ไหน 10Nov12
ใจดีสู้สื่อ ตอน ข่าว เท็จจริงแค่ไหน ตีแผ่สื่อข่าวยุคใหม่ที่ปัจจุบันมีรูปแบบวิธีนำเสนอหลากหลาย ผลประโยชน์ทับซ้อน บางครั้งก็อาศัยรูปแบบข่าวมานำเสนอเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ผู้รับสารต้องฝึกตั้งคำถามว่าข่าวที่กำลังรับอยู่นั้นแท้จริงแล้วน่าเชื่อถือแค่ไหน พร้อมรับฟังเคล็ดลับข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารว่าจะรับฟังรับชมข่าวอย่างไร ไม่ให้หลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง
ใจดีสู้สื่อ เอ็นไซม์ ละลายทรัพย์ 5Apr13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เอ็นไซม์ละลายทรัพย์ ชวนคนดูรู้เท่าทันเรื่องของเอนไซม์ในอาหารเสริม ที่มักมีการโฆษณาชวนเชื่อว่ามีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ รวมถึงบางครั้งยังอวดอ้างว่ารักษาโรคได้หลากหลาย สร้างความเข้าใจผิด หลงเชื่อผิด ๆ ในกลุ่มผู้บริโภค นอกจากต้องเสียเงินแพง ๆ ไปซื้อหามากินกันโดยใช่เหตุแล้ว บางครั้งยังทำให้คนป่วยเสียโอกาสในการรักษาและส่งผลร้ายต่อสุขภาพด้วย
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน โฆษณาแฝง
ในรายการเกมโชว์ หรือรายการต่าง ๆ ที่มีสปอนเซอร์หรือผู้สนับสนุนรายการ มักจะมีการสอดแทรกเนื้อหาการโฆษณาสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เข้ามาในรายการ ทำให้ผู้ชมหลงเชื่อ ถูกชักจูงให้ซื้อสินค้านั้นโดยไม่รู้ตัว ทั้งหมดคือการโฆษณาแฝง ซึ่งบางครั้งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็ไม่ได้ดีจริงอย่างที่นำเสนอเลย
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน จริงหรือหลอก
เด็กไทยทันสื่อ ICT ว่าด้วยการเรื่องของข้อมูลในโลกออนไลน์ ที่มีการเผยแพร่โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ จึงมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลหลอกลวง ทั้งแค่หลอกเล่น ๆ ไปจนถึงหลอกให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อต้องเสียเงินซื้อของหรือบริการ เด็ก ๆ จึงจำเป็นต้องไตร่ตรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับในโลกออนไลน์ก่อนตัดสินใจจะเชื่อทุกครั้ง
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน ผิวขาว หน้าใส หุ่นดี
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอนนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในโลกออนไลน์ ที่มักจะมาหลอกให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ด้วยการปรับเปลี่ยนดัดแปลงรูปร่างของพรีเซ็นเตอร์หรือดาราให้ผิวขาว หน้าใส หุ่นดี จนผู้บริโภคหลงเชื่อและเสียเงินซื้อของออนไลน์เพราะไม่รู้เท่าทัน
มีจริงแต่ไม่มีตัวตน
สปอตรณรงค์ให้สังคมช่วยกันเพิ่มพื้นที่เล่น พื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ด้อยโอกาส ให้ได้มีพื้นที่ ได้เข้าถึงโอกาสในการเรียนรู้ รวมถึงโอกาสที่จะได้มีพัฒนาการตามวัยที่เท่าเทียมเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ ในสังคม